วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินยาหลายขนาน ระวังยาตีกัน

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินยาหลายขนาน ระวังยาตีกัน

วันจันทร์ ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565, 07.10 น.
Tag : ยารักษาโรค รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ กินยา
  •  

คงไม่มีใครไม่เคยเจ็บป่วย หลายครั้งเมื่อเจ็บป่วย เราต้องหายามารับประทาน โดยอาจได้ยาจากโรงพยาบาลหลังจากไปพบแพทย์ หรือบางรายอาจจะไปหาซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป แต่ขอแนะนำร้านขายยาที่มีเภสัชกรเท่านั้นนะครับ หรือบางครั้งก็ใช้ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ แต่ไม่ว่าจะได้ยาจากที่ใด ผู้ใช้ยาก็หวังว่าจะหายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วทำให้กลับไปมีชีวิตตามปรกติเหมือนเดิม

สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ก็จำเป็นต้องระมัดระวังการใช้ยาตัวใหม่ที่อาจจะเกิดปัญหายาตีกันกับยาตัวเดิม เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมียาประจำตัวสำหรับรับประทานเป็นประจำ แล้วถ้ายิ่งบางรายมีหลายโรคพร้อมๆ กัน ยาที่รับประทานก็จะมีจำนวนมากมายตามไปด้วย


เมื่อต้องรับประทานยาตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป อาจมีโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา หรือที่เราเรียกกันว่า “ยาตีกัน” นอกจากนี้ ยาที่รับประทานยังมีโอกาสที่จะไปตีกับอาหาร เครื่องดื่มสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งบุหรี่ แล้วทำให้ฤทธิ์ของยาที่รับประทานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ยาถูกดูดซึมได้น้อยลง ยาถูกกำจัดออกได้ลดลง หรืออาจจะกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาน้อยลง หรือรักษาไม่ได้ผล หรืออาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิด เช่น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคครั้งละหลายโรคในเวลาเดียวกัน บางคนอาจมีโรคความดัน ไขมันสูงบวกเบาหวาน หรือบางคนยังมีโรคทางกระดูกอีก ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์หลายคน (เนื่องจากมีหลายโรค) แพทย์เฉพาะทางที่ไปพบอาจอยู่กันคนละโรงพยาบาล คนละคลินิก หากผู้ป่วยไม่ได้แจ้งกับแพทย์ว่ากำลังรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง เวลาแพทย์ให้การรักษาหรือให้ยา แพทย์จะไม่ทราบว่าแพทย์รายอื่นๆ ให้ยาอะไรในการรักษาบ้างก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ ทั้งปัญหายาตีกัน กับปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อน โอกาสจะเกิดพิษของยาก็มากขึ้น 

นอกจากนี้ผู้ที่ต้องใช้ยาในการรักษาโรคประจำตัวอยู่เป็นประจำ เมื่อมีความเจ็บป่วยอื่นเพิ่มขึ้นมา และมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเพิ่มเติม และจำเป็นที่ต้องได้รับยาเพิ่มเพื่อรักษาความเจ็บป่วยครั้งใหม่ช่วงสั้นๆ ยาที่ได้รับมาก็มีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานอยู่เดิมได้เช่น ผู้ป่วยรับประทานยาซิมวาสแตติน (simvastatin) เพื่อลดคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง มีอาการป่วยทำให้ต้องได้รับยาฆ่าเชื้อคลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) ซึ่งยาฆ่าเชื้อนี้มีโอกาสไปทำให้ปริมาณยาซิมวาสแตตินเพิ่มขึ้นในเลือด จนอาจเกิดพิษต่อกล้ามเนื้อได้ เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ผู้รักษาเสมอว่าปัจจุบันได้ใช้ยาอะไรอยู่เป็นประจำ หรือนำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวไปให้แพทย์ดูด้วย 

กรณีของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด บางทีเรารับประทานจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมาเป็นเวลานานสิ่งเหล่านี้ต่างมีผลต่อยาที่เรารับประทานทั้งสิ้น หลายท่านอาจคิดว่าสมุนไพรที่มาจากธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอดภัยต่อร่างกาย แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้อาจไปตีกับยาที่เรารับประทาน ยกตัวอย่างเช่น ฟ้าทะลายโจรมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน (warfarin) ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดเลือดไหลไม่หยุด เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและขจัดออกของยาวาร์ฟาริน หรือในกรณีของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) มีโอกาสทำให้ผลการรักษาจากยาวาร์ฟารินลดลง เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดมีโอกาสเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานได้เช่นกัน ทำให้เกิดผลเสียต่อการรักษาได้ เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลิน และกลุ่มควิโนโลน เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน (Norfloxacin) ไซโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin)ลีโวฟล็อกซาซิน (levofloxacin) ยากลุ่มนี้มีโอกาสที่จะไปจับกับแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม อะลูมิเนียม ไปผลต่อการดูดซึมของยาเหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง แร่ธาตุเหล่านี้อาจพบได้ในยา เช่น ยาลดกรดที่มีแร่ธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบ รวมถึงวิตามิน เกลือแร่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออาหารหลายชนิด เช่น นม ชีส โยเกิร์ต เป็นต้น ดังนั้น ยาเหล่านี้จึงมีข้อความบนฉลากเพื่อเตือนว่า “ห้ามรับประทานยานี้พร้อมนมและยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม อะลูมิเนียม” หากท่านต้องการรับประทาน ท่านควรเว้นระยะห่างระหว่างยากับแร่ธาตุเหล่านี้สองชั่วโมง หรือกระทั่งในกรณีของน้ำผลไม้บางชนิด อาจทำให้เกิดผลเสียเมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด เช่น เกรปฟรุ้ต (grapefruit) กับยาวาร์ฟาริน น้ำทับทิมกับยาลดความดันบางประเภท เป็นต้น

แล้วเราจะทำอย่างไรดีไม่ให้ยาตีกัน สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เลยคือเมื่อเราพบแพทย์หรือเภสัชกร คุณต้องแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบว่าปัจจุบันกำลังใช้ยาอะไรอยู่ หรือนำยาทุกชนิดที่ใช้ไปให้แพทย์ดู รวมถึงวิตามิน สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ หรือการใช้สมุดบันทึกยา โดยมีรายละเอียดว่า ชื่อยาอะไร ขนาดความแรงเท่าไหร่ วิธีรับประทาน วิธีใช้ใช้อย่างไร เพื่อรักษาอาการอะไร และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำได้ คือการไม่ซื้อยา ไม่ซื้อสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เท่านี้ท่านก็จะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดยาตีกันได้

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ : ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ : ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน
  •  

Breaking News

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'กูพูดไม่ได้' ย้อนอดีตเพื่อนรัก สุรนันทน์ ถึง บุญทรง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved