วันเสาร์ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คุยกัน7วันหน : วิกฤตยูเครนดันให้ตะวันออกกลาง  ร่วมมือกันมากขึ้น-ไม่หวังพึ่งสหรัฐฯ

คุยกัน7วันหน : วิกฤตยูเครนดันให้ตะวันออกกลาง ร่วมมือกันมากขึ้น-ไม่หวังพึ่งสหรัฐฯ

วันอาทิตย์ ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.15 น.
Tag : รัสเซีย ยูเครน คุยกัน7วันหน ปูติน
  •  

เซาท์ไชนามอร์นิ่งโพสต์ สื่อออนไลน์ฮ่องกงรายงานว่า ในขณะที่สหรัฐฯ ละสายตาจากตะวันออกกลางเพื่อไปจัดการกับรัสเซียที่กำลังทำสงครามในยูเครนแบบอีรุงตุงนังอยู่ในขณะนี้ พันธมิตรของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางปฏิเสธที่จะตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับรัสเซีย สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน ในการป้องกันไม่ให้อิหร่านมีบทบาทในภูมิศาสตร์การเมือง หลังอิหร่านใกล้บรรลุข้อตกลงกับชาติตะวันตก ในการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งหลายชาติกังวลว่า อาจจะทำให้อิหร่านแข็งแกร่งขึ้น

มหาอำนาจตะวันตกเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของอิหร่าน ที่จะถอนกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ออกจากรายชื่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านในปี 2015 ขณะที่สหรัฐฯ ต้องการการยืนยันจากอิหร่านว่าจะลดกิจกรรมทางทหารในตะวันออกกลาง และไม่โจมตีชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นการประนีประนอมทางการทูตที่ทำให้อิสราเอลโกรธเคือง ความกังวลนี้กลายเป็นประเด็นหลัก ในการประชุมที่อิสราเอลเป็นเจ้าภาพเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศของบาห์เรน อียิปต์จอร์แดน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี รวมถึงแอนโทนี บลิงเคนรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าร่วมด้วย


ยูซุฟ เอริม นักวิเคราะห์การเมืองในตุรกี กล่าวว่ากระแสการปรองดองที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2020 ระหว่างอิสราเอล ตุรกี และรัฐอาหรับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคต นานาประเทศในภูมิภาคนี้เข้าใจดีว่าสหรัฐฯ อาจออกห่างจากชาติตะวันออกกลางในทศวรรษหน้าหรือสองปีข้างหน้า เนื่องจากสหรัฐฯ มุ่งความสนใจไปที่จีนและรัสเซีย ซึ่งทำให้ประเทศตะวันออกกลางจะต้องแก้ปัญหาในภูมิภาคด้วยตัวเอง

ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างความมั่นคงและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจแบบใหม่ในภูมิภาคนี้ ผ่านการเป็นพันธมิตรพหุภาคีที่มีสหรัฐฯ เป็นจุดศูนย์กลาง อย่างข้อตกลงอับราฮัม ซึ่งลงนามเมื่อเดือนตุลาคม 2020 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรของสหรัฐฯ อย่าง อิสราเอล และสี่ชาติอาหรับ ได้แก่ บาห์เรน โมร็อกโก ซูดาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กลับมาเป็นปกติเป็นครั้งแรก

สหรัฐฯ ยังสนับสนุนให้อิสราเอลและตุรกี ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตและความมั่นคงที่ครั้งหนึ่งเคยใกล้ชิดกันด้วย แม้มีความแตกต่างอย่างลึกซึ้งในประเด็นปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและตุรกีสนับสนุนฝ่ายเดียวกัน คือ อาเซอร์ไบจานในวิกฤตขัดแย้งกับอาร์เมเนีย ในปี 2020

แต่ความพยายามในการสร้างสายสัมพันธ์ทางการทูตไม่คืบหน้านัก จนกระทั่งรัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครน โดยไอแซค เฮอร์ซอก ประธานาธิบดีอิสราเอล เยือนตุรกี เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อพูดคุยกับทายยิป แอร์โดอัน ผู้นำตุรกี ซึ่งกลายเป็น “การเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่” ระหว่างสองประเทศ

แทนที่จะสนับสนุนชาติตะวันตก เพื่อยับยั้งประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ผู้นำตุรกีและอิสราเอล กลับนำความพยายามทางการทูตเป็นตัวกลางช่วยไกล่เกลี่ยวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ซาอุดีอาระเบียและยูเออี ปฏิเสธสหรัฐฯ และพันธมิตรที่เรียกร้องให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการคว่ำบาตรของต่อรัสเซียซึ่งทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น

จอร์จิโอ คาเฟียโร ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองในสหรัฐฯ กล่าวว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ เช่น ยูเออี ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ และอิสราเอล ต่างกระชับความสัมพันธ์กับรัสเซีย และไม่อยากตัดสัมพันธ์เพื่อเอาใจสหรัฐฯ ส่วน เอริม นักวิเคราะห์จากตุรกี กล่าวว่า “ผู้ขับเคลื่อน” ของมหาอำนาจตะวันออกกลางเปลี่ยนไปในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยหวนสู่ระบบการเมืองที่ยึดการกระทำมากกว่าอุดมการณ์ ซึ่งนำความสัมพันธ์ระหว่างอธิปไตยกับอธิปไตยกลับมาเป็นความสำคัญสูงสุดในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดลำดับความสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคของตะวันออกกลาง โดยภูมิภาคอ่าวอาหรับกำลังลงทุนอย่างมากในการกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ รอการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานหมุนเวียน

ขณะที่อียิปต์และตุรกี ไม่อาจต่อสู้กับสงครามสินค้าที่มีราคาแพงได้อีกต่อไป และกำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่น ข้าวสาลี และน้ำมันปรุงอาหารดอกทานตะวัน ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากรัสเซียและยูเครน

ด้านอิหร่านก็ต้องการให้นานาประเทศยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร เพื่อยกเครื่องอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่ล้าสมัย รวมถึงเพิ่มการใช้จ่ายสาธารณะเพื่อบรรเทาเสียงวิพากษ์ของประชาชน และยังต้องการรวมเศรษฐกิจของตนเข้ากับประเทศเพื่อนบ้านให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันเศรษฐกิจจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ในอนาคตเช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คุยกัน7วันหน : สปป.ลาวเตรียมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  หวังกู้วิกฤตเศรษฐกิจ?!? คุยกัน7วันหน : สปป.ลาวเตรียมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หวังกู้วิกฤตเศรษฐกิจ?!?
  • คุยกัน7วันหน : \'จรวดเจเวลิน\' สัญลักษณ์สหรัฐฯ ในยูเครน ที่ตอนนี้ใช้งานไม่ได้!?! คุยกัน7วันหน : 'จรวดเจเวลิน' สัญลักษณ์สหรัฐฯ ในยูเครน ที่ตอนนี้ใช้งานไม่ได้!?!
  • คุยกัน7วันหน : ปูตินสะท้อนรัสเซียยุคใหม่  กับ ‘พระเจ้าปีเตอร์มหาราช’ คุยกัน7วันหน : ปูตินสะท้อนรัสเซียยุคใหม่ กับ ‘พระเจ้าปีเตอร์มหาราช’
  • คุยกัน7วันหน : สหรัฐฯ ย้ำไม่คิดทำสงครามเย็นกับจีน แม้จีนรุกคืบหมู่เกาะแปซิฟิก คุยกัน7วันหน : สหรัฐฯ ย้ำไม่คิดทำสงครามเย็นกับจีน แม้จีนรุกคืบหมู่เกาะแปซิฟิก
  • คุยกัน7วันหน : สหรัฐฯ ย้ำไม่คิดทำสงครามเย็นกับจีน  แม้จีนรุกคืบหมู่เกาะแปซิฟิก คุยกัน7วันหน : สหรัฐฯ ย้ำไม่คิดทำสงครามเย็นกับจีน แม้จีนรุกคืบหมู่เกาะแปซิฟิก
  • คุยกัน7วันหน : รู้จักทฤษฎี‘การแทนที่ครั้งใหญ่’  ล้างสมองหนุ่มอเมริกันสังหารหมู่คนผิวดำ คุยกัน7วันหน : รู้จักทฤษฎี‘การแทนที่ครั้งใหญ่’ ล้างสมองหนุ่มอเมริกันสังหารหมู่คนผิวดำ
  •  

Breaking News

'อดีตบิ๊กศรภ.'เล่าความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ดึงสติพวกอยากให้ไทยรบกับพม่า

วอลเลย์บอลสาวไทยอันดับโลก ขยับขึ้นรั้งเบอร์ 13 ของโลก

เปิดอ่าววันแรก! เรือประมงกระบี่เฮ!วางอวนคืนเดียวจับปลากระมงได้ร่วม 10 ตัน

ซัดกันยับ! เปิดคลิปกล้องหน้ารถ นักเรียนขี่จยย.ยิง-ตีกันนัวกลางถนน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved