วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไมเกรน ปวดหัวแบบไหนคือไมเกรน

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไมเกรน ปวดหัวแบบไหนคือไมเกรน

วันจันทร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

ปวดศีรษะ ปวดหัวเป็นอาการที่พบบ่อยในคนทั่วไปดังนั้นยาแก้ปวดจึงถูกใช้บ่อยมากสำหรับคนที่มีอาการปวดหัว (และอาจจะปวดบริเวณอื่นด้วย) เมื่อคนทั่วไปปวดหัว ก็มักจะใช้ยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอล แต่หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ถ้าอาการปวดศีรษะเพียงข้างใดข้างหนึ่ง หรือพูดภาษาชาวบ้านคือปวดหัวข้างเดียว นั่นไม่ใช่อาการปวดศีรษะธรรมดาที่แก้ได้ด้วยยาพาราเซตามอล แต่มันคือปวดศีรษะไมเกรน ต้องใช้ยาที่แรงกว่าพาราเซตามอลเพื่อจัดการลดอาการปวด

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ปวดศีรษะไมเกรนเป็นอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่จริงและพบได้บ่อย แต่การปวดศีรษะข้างเดียวเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาจม่ใช่การปวดศีรษะไมเกรนก็ได้ ดังนั้น เราต้องพิจารณาว่าหากครั้งหน้าเราปวดศีรษะข้างเดียวจะเรียกว่าไมเกรนได้ไหม 


เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ปวดศีรษะไมเกรนมีอาการอย่างไร รักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยอย่างไร ยังคงใช้ยาพาราเซตามอลได้หรือไม่ หรือต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วย

ไมเกรน (Migraine) หมายถึงอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยไมเกรนมักเป็นๆ หายๆ อาการปวดที่เกิดขึ้นมักรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจปวดศีรษะทั้งสองข้างหรือปวดเพียงข้างเดียวก็ได้ อาจจะปวดตุ๊บๆ เป็นจังหวะ เมื่อเริ่มปวดมักปวดไม่มาก แต่จะปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ไหว ขณะปวดศีรษะผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อเกิดอาการไมเกรนขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดนานหลายชั่วโมง บางครั้งอาจนานเป็นวันแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายเอง หากผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาบรรเทาปวดจะช่วยทำให้หายจากไมเกรนเร็วขึ้น

นอกจากอาการอื่นที่เกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะไมเกรน ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยไมเกรนจะมีอาการนำก่อนปวดศีรษะ เรียกว่า ออรา (Aura) เช่น เห็นแสงวูบวาบ ตาพร่า หรือมีความรู้สึกว่าประสาทสัมผัสไวกว่าปกติ เช่น รู้สึกหนวกหูมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่เสียงดัง จมูกไวต่อกลิ่นต่างๆ จนผิดปกติ

ไมเกรนพบได้บ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตามอาการนี้อาจพบได้ในทุกเพศทุกวัย สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองร่วมด้วย และส่วนมากผู้ป่วยไมเกรนจะมีปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยกระตุ้นที่สังเกตได้ชัดเจนก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อยู่ในที่แสงจ้านานๆ หรืออยู่ในที่เสียงดังมากๆ และเกิดจากการรับประทานอาหารบางชนิด หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนของสตรี สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการไมเกรนได้บ่อยกว่าปกติ ผู้เป็นไมเกรนต้องสังเกตปัจจัยกระตุ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปวดศีรษะไมเกรน

การรักษาหลัก คือใช้ยาบรรเทาปวด ในบางรายก็ใช้ยาพาราเซตามอลแล้วได้ผลดี แต่ส่วนใหญ่มักต้องการยาที่ออกฤทธิ์บรรเทาปวดรุนแรงกว่า ยาที่ผู้ป่วยนิยมหาจากร้านยาเพื่อบรรเทาปวดไมเกรน คือ cafergot เป็นชื่อทางการค้าของยาสูตรผสมระหว่างยา ergotamine และ caffeine ซึ่งค่อนข้างให้ผลดีในการบรรเทาอาการไมเกรน แต่ก็มีวิธีใช้เฉพาะและมีข้อควรระวังที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในผู้ไวต่อ caffeine เช่น ผู้ที่ดื่มกาแฟแล้วใจสั่นมากจนทนไม่ได้ อาจไม่สามารถใช้ยานี้ได้ และแม้จะไม่ได้เป็นคนที่ทนกาแฟไม่ได้ หากใช้ยานี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟเพราะในยามี caffeine อยู่ ส่วนวิธีการใช้ยาก็แตกต่างจากยาพาราเซตามอล คือ กินครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวดและกินซ้ำได้ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 30 นาทีหากอาการยังไม่ดีขึ้น แต่ที่สำคัญคือห้ามกินเกินวันละ 6 เม็ด และในหนึ่งสัปดาห์ไม่ควรกินเกิน 10 เม็ด

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาคือ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก ปลายมือปลายเท้าเย็น เป็นต้น ที่สำคัญคือ ยานี้อาจตีกับยาอื่นได้ หากผู้ป่วยมีโรคเรื้อรังหรือกำลังใช้ยาอื่นอยู่ ต้องแจ้งให้เภสัชกรตรวจสอบก่อนว่าสามารถใช้ยานี้กับยาที่กำลังใช้อยู่ได้หรือไม่ เพราะหากผู้ป่วยใช้ยาบางอย่างที่ทำให้ระดับของยา carfergot  มากเกินไปจนทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายมือปลายเท้าหดเกร็งมากเกินไป อาจทำให้อวัยวะเหล่านั้นขาดเลือดจนเกิดเนื้อตาย ซึ่งหากแก้ไขไม่ทัน อาจทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต

สำหรับยาอื่นที่ใช้บรรเทาอาการไมเกรนได้ ได้แก่ ยาบรรเทาปวดกลุ่ม NSAIDs อาทิ ยา ibuprofen, naproxen, diclofenac เป็นต้นซึ่งยากลุ่มนี้ก็มีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันคือระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงควรกินยากลุ่มนี้หลังอาหารทันที แล้วดื่มน้ำมากๆ ตาม

นอกจากการใช้ยาดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน ได้แก่ การประคบเย็น การพักผ่อนในห้องที่มืดสงบเงียบ อาการเย็น เป็นต้น แต่ที่แนะนำคือผู้ป่วยต้องสังเกตและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการ เพื่อลดความถี่ของการปวดศีรษะ และหากมีอาการปวดเกิดขึ้นบ่อย เช่น ปวดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถือว่าเป็นการปวดไมเกรนที่มีความถี่มาก จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน 

ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Bravo BKK ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เชิดชูวัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา ในกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดอุทัยธาราม Bravo BKK ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เชิดชูวัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา ในกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดอุทัยธาราม
  • ไอซีเอส ผนึก SIRIRAJ H SOLUTIONS ฉลองครบรอบ 2 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ เปิด 2 คลินิกใหม่ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน ไอซีเอส ผนึก SIRIRAJ H SOLUTIONS ฉลองครบรอบ 2 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ เปิด 2 คลินิกใหม่ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน
  • ชลิต อินดัสทรี ถวายเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทยช่วงเข้าพรรษา ชลิต อินดัสทรี ถวายเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทยช่วงเข้าพรรษา
  • ไทยประกันชีวิต-แอทเลติโก้ มอบทุน 3 เยาวชนกอล์ฟหญิง โครงการ Thai Life Insurance Sports Showcase ครั้งที่ 14 ไทยประกันชีวิต-แอทเลติโก้ มอบทุน 3 เยาวชนกอล์ฟหญิง โครงการ Thai Life Insurance Sports Showcase ครั้งที่ 14
  • สร้างความรู้คู่ความสุข ส่งมอบ ‘ห้องหนังเพื่อการเรียนรู้’ เปิดโลกแห่งจินตนาการผ่านการชมภาพยนตร์ สร้างความรู้คู่ความสุข ส่งมอบ ‘ห้องหนังเพื่อการเรียนรู้’ เปิดโลกแห่งจินตนาการผ่านการชมภาพยนตร์
  • สกพอ. เปิดเวทีแข่งขัน ‘รังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา’ สร้างต้นแบบเมนูท้องถิ่นสู่สากล ชู Soft Power ด้านอาหาร เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ EEC สกพอ. เปิดเวทีแข่งขัน ‘รังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา’ สร้างต้นแบบเมนูท้องถิ่นสู่สากล ชู Soft Power ด้านอาหาร เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ EEC
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved