วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : เบาๆ ความหวาน จะได้ไม่เบาหวาน

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : เบาๆ ความหวาน จะได้ไม่เบาหวาน

วันจันทร์ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566, 06.45 น.
Tag : เบาหวาน รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงคนไข้เบาหวานกับการระวังผลไม้หวานรสหวานจัดที่ออกมามากมายในช่วงฤดูร้อน 

วันนี้ขอขยายความลงรายละเอียดโรคเบาหวานเพิ่มเติมอีกสักหน่อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะเบาหวานจัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก การควบคุมโรคเบาหวานที่ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาหลายอย่าง เช่น ไตวายเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนทางตา เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และทำให้เสียชีวิต หรือพิการตามมา


คำว่าเบาหวาน มีความหมายตรงตัวคือปัสสาวะมีความหวาน ซึ่งกว่าปัสสาวะจะมีความหวานได้ นั่นแปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงมาก และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการกินอาหารประเภทน้ำตาล หรือกลุ่มที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้มากเกินไป นอกจากการกินหวาน แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้อีก เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น กรรมพันธุ์ สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

โดยทั่วไปโรคเบาหวานมักไม่มีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามในบางรายที่เป็นเบาหวานระยะแรกๆอาจมีอาการหิวบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด ปัสสาวะมากผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน อ่อนเพลีย แต่คนไข้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้น การตรวจพบโรคเบาหวานจึงมักเกิดขึ้นเมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปี แล้วพบระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเกินค่ามาตรฐาน เพราะฉะนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อายุมากขึ้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ค้นพบโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ก่อนจะสายเกินไป 

การรักษาโรคเบาหวานมีองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่างที่ต้องทำควบคู่กัน คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการใช้ยา พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนในผู้ป่วยเบาหวานหลักๆ มีสองอย่าง คือเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของวัยและสุขภาพ

แต่ส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้ป่วย มักต้องใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดร่วมด้วย สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำ ความเข้าใจอันดับแรก คือถึงแม้ว่าจะใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ก็ยังคงต้องควบคุมอาหาร ไม่ได้แปลว่าจะกินหวานอย่างไรก็ได้ เพราะใช้ยาแล้ว

สำหรับยาที่ใช้รักษาเบาหวานหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีหลายกลุ่ม หลายกลไกการออกฤทธิ์ เช่น กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลจากจุดต่างๆ ส่วนในรายที่โรครุนแรงมากๆ หรือผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับไตไม่ดี แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาฉีดอินซูลิน 

นอกจากยาควบคุมน้ำตาลในเลือดแล้ว คนไข้เบาหวานยังจำเป็นต้องได้รับยาอื่นๆ เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค เช่น ชะลอการเสื่อมของไต ป้องกันหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น 

การเลือกใช้ยาในคนไข้เบาหวานแต่ละรายจึงค่อนข้างซับซ้อน ยาบางชนิดต้องกินก่อนอาหาร ยาบางชนิดกินหลังอาหาร ยาบางอย่างกินเฉพาะมื้อเช้า ยาบางอย่างอาจจำเป็นต้องกินเฉพาะมื้อเย็น คนไข้บางคนต้องยากินและต้องได้รับยาฉีดด้วย จึงต้องทำความเข้าใจรายละเอียดของการใช้ยา และต้องปฏิบัติตามคำสั่งการใช้ยาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้รักษาโรคได้ดีที่สุด

อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในคนไข้ที่ใช้ยาเบาหวาน คือ ภาวะน้ำตาลต่ำ หรือ hypoglycemia ซึ่งเกิดจากยาฉีดอินซูลิน หรือยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือดชนิดกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้จะเกิดเมื่อใช้ยาตามสั่ง แต่กินอาหารไม่เพียงพอ อีกสาเหตุที่เป็นไปได้คือได้รับยาสูงเกินไป เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเกินไป จะมีอาการหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อแตกคล้ายจะเป็นลม กรณีที่อาการรุนแรง อาจช็อคหมดสติได้ 

ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพกลูกอมชนิดที่มีน้ำตาลติดตัวไว้เสมอ เมื่อเริ่มมีอาการจะได้อมเพื่อบรรเทาอาการ แต่กรณีที่เกิดอาการที่บ้านสามารถดื่มน้ำหวาน หรือนมเพื่อบรรเทาอาการได้

เป้าหมายหลักของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน ดังนั้นการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ควบคุมอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกาย และหมั่นดูแลความสะอาดของแผลที่เกิดขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม และ ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ
  •  

Breaking News

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

สำนักข่าวอิศราเปิดชื่อ 3 หมอโดนแพทยสภาสั่งลงโทษคดี 'ทักษิณ' ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved