ผลการศึกษาชองมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮมในอังกฤษ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ และสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ หรือ พีเอฟเอ ระบุว่า อดีตนักฟุตบอลอาชีพมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าประชากรปกติเกือบ 3.5 เท่า และพบว่า ร้อยละ 2.8 ของนักฟุตบอลอาชีพที่เลิกเล่นแล้ว มีรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ว่ามีอาการสมองเสื่อมหรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาท เปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปที่จะมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 0.9
ชาร์ล็อต โควี หัวหน้างานด้านการแพทย์ของเอฟเอ กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ได้มาจากการวิจัยกลุ่มอดีตนักฟุตบอลอาชีพโดยเฉพาะที่เข้าร่วมในการศึกษาและสามารถตรวจสอบสุขภาพของสมองได้ ผลการศึกษาสนับสนุนผลการศึกษาเดิมที่ระบุว่า อดีตนักฟุตบอลอาชีพมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทมากกว่าบุคคลทั่วไป และคณะนักวิจัยจะดำเนินการศึกษาเรื่องนี้ต่อไปเพื่อช่วยหาความรู้ในด้านนี้ต่อไป
ที่ผ่านมา เอฟเอถูกวิพากษ์ตำหนิจากผู้เกี่ยวข้องว่า ไม่ดำเนินการมากพอในการช่วยเหลืออดีตนักฟุตบอลที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท แต่เอฟเอกล่าวว่า ได้ริเริ่มแนวทางปฏิบัติเรื่องการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยห้ามการเล่นฟุตบอลด้วยศีรษะ หรือ การโหม่งในระหว่างการฝึกซ้อมและห้ามจงใจโหม่งสำหรับนักฟุตบอลที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี