โขนยกรบ
ด้วยเวียงกุมกาม ในอดีตนั้นเป็นเมืองหลวงของล้านนาที่พญามังรายได้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 1829โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้งสี่ด้าน แล้วไขน้ำแม่ปิงมาขังไว้ใช้ในเมือง ประมาณว่าเวียงกุมกามและใกล้เคียงนี้ เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้นก่อนที่จะมามีการสร้างเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ได้ทรงศึกษาสิ่งหลายๆ อย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นคือ เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงแห่งนี้มีน้ำท่วมอยู่ทุกปีจนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย คือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่ และเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา เวียงกุมกามได้ล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา เป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกาม ทั้งๆ ที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากผลการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมาสภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50-2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
ต่อมาเรื่องราวของเวียงกุมกามได้เป็นที่สนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง โดยขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ
และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามได้พัฒนาให้เป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาต่างๆ เป็นศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ เวียงกุมกามแห่งนี้มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน เวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ กม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูนด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง เมื่อวันที่1-2 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 -21.00 น. ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้ให้มีงาน “แอ่วกุมกามยามแลง” จ.เชียงใหม่ เพิ่มศักยภาพโบราณสถาน ต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม โดย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และ นายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน “แอ่วกุมกามยามแลง” ซึ่งมีการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด ทูษณ์-ขร-ตรีเศียร-ยกรบ ณ ลานกิจกรรมวัดอีก้าง-วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการขับเคลื่อนนโยบาย THAILAND CREATIVE CONTENT AGENCY (THACCA) และ ONE FAMILY ONE SOFT POWER (OFOS) ของรัฐบาล การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน เป็นการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์โบราณสถานเวียงกุมกาม ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญต้นทางของประวัติศาสตร์ล้านนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในฐานะทุนทางวัฒนธรรมที่พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กิจกรรมทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น โดยมีการแต่งกายชุดพื้นเมืองเข้าชมโบราณสถานยามค่ำคืน รวมถึงการนำเสนอเมนูอาหารพื้นถิ่นเลิศรสตามแบบฉบับของล้านนาเป็นการสร้างบรรยากาศและเปิดประสบการณ์ด้านสุนทรียะการชมโขนในเวียงกุมกาม เมืองโบราณขึ้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี