วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระธาตุดอยตุง’ภูมิพระมหาชินธาตุเจ้าแห่งโยนกนาคนคร

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระธาตุดอยตุง’ภูมิพระมหาชินธาตุเจ้าแห่งโยนกนาคนคร

วันอาทิตย์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : ชุมชนเก่าแก่ ประวัติศาสตร์ไทย ภูมิชุมชนวิถีไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสถาปัตย์ ศิลปกรรมไทย
  •  

วัดพระธาตุดอยตุง

ในโอกาสที่รัฐบาลได้ร่วมกับอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในพิพิธภัณฑ์ของอินเดียมาประดิษฐานให้ชาวไทยภาคเหนือได้ร่วมสักการะอย่างใกล้ชิดนั้น อาทิตย์นี้ขอตามรอยสยามไปสักการะพระธาตุองค์สำคัญที่ประดิษฐานมาก่อนแต่โบราณกาลไปที่ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า หรือที่เรารู้จักกันดีว่าพระธาตุดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อันเป็นภูมิสถานของชาวลัวะจักราชหรือชาวเขา ที่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ ๔๖ กม. เป็นพระธาตุที่อยู่บนยอดดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร ตามตำนานสิงหนติโยนกและตำนานพระธาตุดอยทุง เมืองเชียงแสนกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยดินแดง ประทับบนหินก้อนหนึ่งมีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีกและทำนายว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) และบอกพระอานนท์ว่า หลังพระองค์ปรินิพพาน ให้พระมหากัสสปะนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่นี่ เมื่อพ.ศ. ๑ สมัยพญาอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น องค์ที่ ๓นั้น พระมหากัสสปะได้อัญเชิญโกศแก้วปัทมราช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) มายังเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น แล้วแจ้งเหตุพระพุทธเจ้าได้ทำนายให้ทราบ

กัมมะโลฤๅษี ผู้อุปถากพระธาตุดอยตุง


ครั้งนั้นพญาอชุตราชยินดี ให้สร้างโกศเงิน โกศทองคำเข้าซ้อนโกศแก้วปัทมราช บูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยดินแดง พระมหากัสสปะตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินประมาณ ๘ ศอก พญาอชุตราชขอซื้อที่จากปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้า ๑,๐๐๐ (ทอง) คำ ด้านละ๓,๐๐๐ วา และถวายครัวมิลักขุ ๕๐๐ ครัว ดูแลพระธาตุ พระมหากัสสปะได้ให้ทำตุง (ทุงหรือธง)เสายาว ๘ พันวา ตุงยาว ๗ พันวา กว้าง ๕๐๐ วาปักบูชาพระธาตุองค์นี้ จึงเรียกว่า ดอยตุง (ดอยทุง)แต่นั้นมา ปัจจุบันยังปรากฏหลุมปักตุงอยู่ข้างพระธาตุ กัมมะโลฤๅษีได้มาอยู่อุปัฏฐากพระธาตุบริเวณดอยมุงเมือง ต่อมาแม่กวางตัวหนึ่งมาดื่มน้ำปัสสาวะพระฤๅษี ตั้งท้องเกิดลูกเป็นกุมารีน้อย กัมมะโลฤๅษีเก็บมาเลี้ยง ตั้งชื่อว่านางปทุมมาวติ เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี พญาอชุตราชได้มาสู่ขอนางไปเป็นมเหสีด้วยทองคำ ๔ แสนคำกัมมะโลฤๅษีให้นำทองคำนั้นไปหล่อเป็นรูปกวางสมมุติเป็นแม่ให้นางปทุมมาวติ ได้กราบไหว้ทุกวัน พ.ศ. ๑๐๐ สมัยพระองค์มังรายนราชกษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น องค์ที่ ๔ ตำนานสิงหนติโยนกว่า พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๑๕๐ องค์ ตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนว่า สุรเทโวฤๅษีได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์พระองค์มังรายนราชยินดี ให้ทำโกศเงิน โกศทองคำโกศแก้วเข้าซ้อนกัน แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยทุง (ดอยตุง) ตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยพญาอชุตราช แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหิน ประมาณ๗ ศอก พระองค์มังรายนราชให้ก่อเจดีย์ครอบหินสูง ๗ ศอก บุเงินจังโก ทองจังโก ประดับแก้ว๗ ประการ จัดฉลองพระธาตุ ๓ เดือน แล้วซื้อครัวมิลักขุ ๕๐๐ ครัว ที่พญาอชุตราชเคยถวายมาถวายพระธาตุอีกครั้ง ปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าได้อุปัฏฐากพระธาตุ ด้วยอานิสงส์นี้ผู้อุปการะจึงไปจุติเป็นเทวบุตร และเทวธิดาบนสวรรค์ภายหลัง พ.ศ. ๒๑๙ สมัยพระองค์เพิง กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ ๘ พระมหารักขิตเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมา ๙ องค์ พระองค์เพิงให้ทำโกศเงินโกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แบ่งเป็น ๓ ส่วนส่วนหนึ่งบรรจุที่ดอยโยนกปัพพตะ ส่วนหนึ่งบรรจุที่พระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) ส่วนหนึ่ง บรรจุที่พูกวาวหัวเวียงไชยนารายณ์เมืองมูลแต่ไม่สามารถประดิษฐานในหินที่เดียวกับที่เคยฝังพระบรมสารีริกธาตุแล้วได้ ด้วยมีการสร้างเจดีย์ทับแล้ว จึงสร้างเจดีย์อีกองค์ทางทิศตะวันออกของเจดีย์องค์เดิม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑ ฉลองพร้อมกันทุกแห่ง ทำให้พระธาตุดอยตุง มีเจดีย์ ๒ องค์ สมัยต่อมามีตำนานสร้างพระธาตุช้างมูบอีกและนำต้นนิโครธมาจากกุสินารา แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ค้นพบหลักฐานตามตำนานเก่าสมัยโยนกนครอ้างก็ยังปรากฏ พระธาตดอยตุง ๒ องค์ เดิมให้นับถือมาจนวันนี้

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา
นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา
แผ่นป้ายพิธีตัดลูกนิมิตพระอุโบสถ
แผ่นป้ายพิธีตัดลูกนิมิตพระอุโบสถ
ตุงจำลองแทนขนาดใหญ่ในอดีต
ตุงจำลองแทนขนาดใหญ่ในอดีต
พระธาตุดอยตุงสององค์
พระธาตุดอยตุงสององค์
พระมหากัสสปะ
พระมหากัสสปะ
พระอุโบสถวัดที่สร้างใหม่ภายหลัง
พระอุโบสถวัดที่สร้างใหม่ภายหลัง
วัดพระธาตุดอยตุงของโยนกนาคนคร
วัดพระธาตุดอยตุงของโยนกนาคนคร
หลุมหินปักตุงในอดีตกาล
หลุมหินปักตุงในอดีตกาล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : \'กรุงเทพ\' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'กรุงเทพ' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์ ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด
  •  

Breaking News

(คลิป) 2 คู่หู ชวนจับตา! '4ปราสาท-มวยไทย' เมื่อ'อุ๊งอิ๊งค์'นั่งคุม'ก.วัฒนธรรม'

(คลิป) 'ทักษิณ'นั่งรถกันกระสุน เปิดไทม์ไลน์วันอวสาน 'ตระกูลชิน'

‘อดีตรองอธิการบดี มธ.’ขยี้เงื่อนไข‘พรรคประชาชน’กลบเกลื่อนเหมือนช่วยผ่าทางตัน

กมธ.กิจการเด็กฯลงพื้นที่เชียงราย หวั่นกลุ่มเปราะบางรับผลกระทบหนักสุดสายน้ำปนเปื้อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved