วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เปิดแล้ว ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  มาตรฐานการรักษาระดับพรีเมียมที่ทุกคนเข้าถึงได้ตลอด 24 ชม.

เปิดแล้ว ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มาตรฐานการรักษาระดับพรีเมียมที่ทุกคนเข้าถึงได้ตลอด 24 ชม.

วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag :
  •  

ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภา ประธานพิธีเปิดอาคารศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล อธิการบดี, รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อดีตอธิการบดี, รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผอ.ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์, ภาสกร บุญญลักษม์ ผวจ.ปทุมธานี, ชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคมธรรมศาสตร์ฯ, อาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีต รมว.คลัง, บุญชู ตรีทอง อดีต รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย, ศ.พิเศษ หิรัญ รดีศรี, รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม อดีต ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์ฯ, ผศ.ประภัสสร เลียวไพโรจน์,รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มธ.

ในโอกาสวันครบรอบการสถาปนา 90 ปี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำโดย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ จัดพิธีเปิด (Soft Opening) “ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ หรือ THAMC (Thammasat Advanced Medical Center)” โดยได้รับเกียรติจาก ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดป้าย โดยมีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะแพทย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้มีอุปการคุณร่วมพิธี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี


กว่าจะมาเป็น “ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์” ในวันนี้นั้น คงต้องย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กำลังจะดำเนินงานมาถึง 1 ศตวรรษ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ 4 ยุค ยุคละ 25 ปี ได้แก่ ยุคเริ่มต้นแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2477 มีชื่อเริ่มแรกสถาปนาว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ธรรมศาสตร์ในยุคนี้เป็นยุคแห่งการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสรับการศึกษาในชั้นสูงโดยไม่เลือกชนชั้นถัดมาใน ยุคที่ 2 หรือ 25 ปีถัดมาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ธรรมศาสตร์ในยุคนี้จึงทำหน้าที่ผลิตผู้คนออกมาเพื่อขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของประเทศ จึงไม่แปลกที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวง ทบวง กรม หรือผู้บริหารประเทศจะเป็นผลผลิตของธรรมศาสตร์ที่มาจากช่วงยุคที่ 2 ของธรรมศาสตร์ ซึ่งในช่วงเวลามีบุคคล 2 ท่านที่มีความสำคัญอย่างสูงนั่นคือ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ และ ศ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยุคที่ 3 เป็นยุคแห่งการทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ ที่ไม่เพียงเปิดคณะใหม่ๆ ทางด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทย์ แต่ธรรมศาสตร์ยังขยายพื้นที่ของตนเองให้เพียงพอต่อการจัดการการเรียนการสอน มีทุกสิ่งทุกอย่างอย่างสมบูรณ์แบบในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ซึ่งในยุคนี้บุคคลที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของธรรมศาสตร์ ได้แก่ ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี, ศ.เกียรติคุณ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, ศ.พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร รวมถึงในยุครัฐบาลของ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และมี บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองนายกรัฐมนตรี มีส่วนผลักดันให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ได้รับเลือกให้มีส่วนร่วมในการเป็นสนามการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 วันที่ 6-20 ธันวาคม 2541 มีการก่อสร้างสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับโลกบ้านพักนักกีฬา ที่ปัจจุบันนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ใช้ประโยชน์

ในยุคที่ 3 นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังรวมขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ซึ่งได้รับมอบที่ดินจากผู้มีอุปการคุณอย่าง บุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ขึ้น ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 และได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2541 คือ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และขยายการเรียนการสอนสู่คณะสาขาวิชาอื่นๆ และระดับปริญญาโท ปัจจุบันมีคณะที่เปิดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ทั้งหมด 6 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในมาตรฐานที่ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

จากยุคที่ 3 มาสู่ยุคที่ 4 ซึ่งนับว่ามีปรากฏการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นกับธรรมศาสตร์มากมายที่ส่งผลให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย โดยมี 2 เรื่องที่สำคัญหนึ่งคือ การไปสู่ความเป็นนานาชาติของธรรมศาสตร์ มีหลักสูตรปริญญาตรีภาคภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติที่มากที่สุดและอย่างมีคุณภาพ สองคือจุดเน้น 2 คือ ธรรมศาสตร์ในวันนี้ไม่ได้ให้โอกาสทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ธรรมศาสตร์ได้ให้โอกาสผู้คนได้รับบริการทางสาธารณสุขอย่างกว้างขวางทั่วถึง และมีคุณภาพในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในเรื่องนี้ได้แก่ ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตอธิการบดี และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

เดิมที โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นสถานพยาบาลสำหรับดูแลนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาล ทรงมีรับสั่งกับผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ว่า ต่อไปโรงพยาบาลที่จะเป็นที่พึ่งของผู้คนไม่เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้คนที่อยู่ไกลก็จะได้พึ่ง จากวันนั้นถึงวันนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพิ่งมีอายุเพียง 36 ปี เป็นโรงพยาบาลที่มีอายุน้อยมากเมื่อเทียบกับโรงเรียนแพทย์อื่นๆ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขนาด 850 เตียงซึ่งรับดูแลผู้คนโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ จึงทำให้โรงพยาบาลต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีศักยภาพในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลในแต่ละปีกว่า 40-50 ล้านบาท ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นเหตุผลประการสำคัญในการเปิดศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ เพราะต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาสนับสนุนการให้บริการของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ความภาคภูมิใจของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน การเปิดศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์จะเป็นการประกาศให้ทุกคนรู้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์มาตั้งแต่ต้น เมื่อเปลี่ยนมาทำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเราก็ทำได้สำเร็จ เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หันมาทำวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ที่มีคุณภาพสูง เมื่อหันมาให้บริการทางการแพทย์ก็ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ทัดเทียมกับโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ของประเทศไทย

ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ หรือ THAMC ก่อตั้งขึ้นเนื่องด้วยปัจจุบันโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2,500-3,000 คนต่อเดือน แต่รองรับผู้ป่วยในได้ 574 เตียง จึงทำให้พื้นที่ใช้สอยในการรับบริการไม่เพียงพอ ต่อความต้องการบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพื้นที่บริการและยกระดับการรักษาพยาบาลสู่การเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิชั้นสูง (Super Tertiary) มุ่งสู่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก พร้อมสร้างผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และงานวิจัยเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยอย่างยั่งยืน โดยสามารถรองรับ 4 พันธกิจหลักได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการวิจัย และ ด้านการเรียนการสอนจึงก่อให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติขึ้น เพื่อยกระดับการรักษาพยาบาลที่คำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยจะเป็นสถานที่ที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1,000-1,500 คนและรองรับผู้ป่วยในได้เพิ่มขึ้น 100-150 เตียง เป็นทางเลือกสำหรับผู้รับบริการที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับสูงของโรงเรียนแพทย์

ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการทางการแพทย์แบบครบวงจร (One-stop-service) พร้อมบริการคุณภาพและมีมาตรฐานในระดับสูง ซึ่งจะยกระดับศักยภาพการบริการด้านสุขภาพให้กับประชาชนทั้งกรุงเทพฯ เขตปริมณฑล และภาคกลาง ซึ่งครอบคลุมการให้บริการทั้งผู้ป่วยนอก อาทิ คลินิกกระดูกและข้อ คลินิกผิวหนัง คลินิกอายุรกรรมคลินิกหัวใจและหลอดเลือด คลินิกศัลยกรรม คลินิกจักษุ คลินิกทันตกรรม คลินิกสุขภาพ ศูนย์เลสิก ศูนย์ส่องกล้อง ศูนย์รังสีวินิจฉัย และผู้ป่วยใน ให้บริการโดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงานสหสาขาวิชาชีพ ที่พร้อมให้บริการทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและบริการระดับพรีเมียมตามมาตรฐานวิชาชีพ 24 ชั่วโมง เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ให้ความคุ้มค่าทั้งเรื่องของคุณภาพและเวลา รองรับบริการแบบดิจิทัล สะดวก รวดเร็ว สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ผ่านระบบ ด้วยห้องพักพิเศษเดี่ยวจำนวน 8 หอผู้ป่วย และ Sleep Lab รวม 161 ห้อง

ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ “ส่งมอบบริการการรักษาโดยอาจารย์แพทย์ ด้วยบริการระดับพรีเมียมที่เข้าถึงได้” รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการ ติดต่อได้ที่ โทร. 02-0780000 หรือ เว็บไซต์ www.tham-c.com ติดตามข่าวสารและกิจกรรมของ ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์ ช่องทางออนไลน์ได้ที่ Facebook | Instagram | YouTube | LINE OA : @thamc.official

ประธานในพิธี ชวน หลีกภัย กล่าวเปิดงาน
ประธานในพิธี ชวน หลีกภัย กล่าวเปิดงาน
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภา มธ. กล่าวถึงความเป็นมาของศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภา มธ. กล่าวถึงความเป็นมาของศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์
รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผอ.ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์
รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผอ.ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภา พร้อมด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กดปุ่มเปิดป้ายศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภา พร้อมด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กดปุ่มเปิดป้ายศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แพทย์เตือนระวัง ‘โรควุ้นตาเสื่อม’ ภัยเงียบวัย 50+ เสี่ยงจอตาฉีกขาดหลุดลอก แพทย์เตือนระวัง ‘โรควุ้นตาเสื่อม’ ภัยเงียบวัย 50+ เสี่ยงจอตาฉีกขาดหลุดลอก
  • คุณแหน: 13 พฤษภาคม 2568 คุณแหน: 13 พฤษภาคม 2568
  • ไอคอนคราฟต์ ชวนช็อปงานคราฟต์จากหัวใจ สนับสนุนผลงานของกลุ่มคนพิเศษ ไอคอนคราฟต์ ชวนช็อปงานคราฟต์จากหัวใจ สนับสนุนผลงานของกลุ่มคนพิเศษ
  • ‘คุณอร – ไอศิกา’ บุตรสาว ม.ล.ปุญยนุช เปิดตัวแบรนด์บูติก Haus of Trixxie แฟชั่นของวัยสาวสุดเก๋ ‘คุณอร – ไอศิกา’ บุตรสาว ม.ล.ปุญยนุช เปิดตัวแบรนด์บูติก Haus of Trixxie แฟชั่นของวัยสาวสุดเก๋
  • ‘ชาย–ชาตโยดม’ ร่วมงาน ‘บ้านหมอละออง’ เปิดตัวยาดมสมุนไพรสูตรพรีเมียม ‘ชาย–ชาตโยดม’ ร่วมงาน ‘บ้านหมอละออง’ เปิดตัวยาดมสมุนไพรสูตรพรีเมียม
  • เริ่มแล้ว ‘คัดไทย ไทยแลนด์ 2025’ ช้อป ชิม สนับสนุนสินค้าไทย ในบรรยากาศ ‘ไทยป๊อป’ พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อมกับ ‘โครงการไม่เทรวม’ เริ่มแล้ว ‘คัดไทย ไทยแลนด์ 2025’ ช้อป ชิม สนับสนุนสินค้าไทย ในบรรยากาศ ‘ไทยป๊อป’ พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อมกับ ‘โครงการไม่เทรวม’
  •  

Breaking News

‘เด็กซิ่ง..เสี่ยงตาย’ต่ำกว่า15ปีกับอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ วิกฤติความปลอดภัยถนนเมืองไทย

เดือดพลั่กกลางสภาฯ! ‘กฤษฎิ์’เปิดใจแยกทาง‘ปชน.’ เจอ‘ด้อมส้ม’บุกสาปแช่ง-ปะทะคารมหนัก

'วราวุธ'เผย'พม.'หนุนจ้างงานคนพิการเพิ่ม เอื้อสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 2-3 เท่า

ฝีมือครบเครื่อง!‘โฆษกกล้าธรรม’ยก 5 ปัจจัย ชู‘ธรรมนัส’เป็นผู้จัดการรัฐบาลตัวจริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved