ภาพเก่าวัดขวิด
ในบรรยากาศการท่องเที่ยวชุมชนยลวีถีของกระทรวงวัฒนธรรมวันนี้ ทำให้เกิดชุมชนต้นแบบที่คัดเลือกกันทุกปี จนเห็นความใส่ใจที่ชุมชนแต่ละแห่งได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ของตนสู่สังคมภายนอก จนลืมไปว่าแต่ละแห่งนั้นมีรื่องราวมากมายจนไม่ใส่ใจเรื่อง จดหมายเหตุเมือง แม้จะมีบางแห่งให้ความสนใจก็น้อยแห่ง จาก พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ.๒๕๔๒ นั้นได้มีข้อความระบุว่ามาตรา ๒๕ ว่ารัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการเปิดกว้างให้ทุกคนสามารถจัดแหล่งการเรียนรู้ได้มากมาย โดยเฉพาะการจัดพิพิธภัณฑ์นั้นไม่จำกัดว่าต้องเป็น กรมศิลปากร เท่านั้นเป็นผู้จัดตามอำนาจหน้าที่อย่างแต่ก่อน ดังนั้น ก่อนมีการจัดแหล่งเรียนรู้นั้นต้องมีเอกสารข้อมูลสำหรับการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งเอกสารข้อมูลนั้นก็คือ จดหมายเหตุเมือง ที่ต้องเก็บรักษาและจัดเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ในอนาคตต่อไป
ภาพคักลอกจากภาพสลักหิน
โดยเฉพาะชุมชนหรือท้องถิ่นนั้น มีเรื่องราวเล่าขานทั้งเป็นประวัติศาสตร์ศาสตร์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งสังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง เป็นส่วนผสมของข้อเท็จจริง ความรู้สึก ซึ่งอาจสืบทอดผ่านเรื่องเล่า ตำนาน สถานที่ บันทึก เหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบแผนการปฏิบัติต่างๆ ของชุมชน การศึกษาประวัติชุมชน สุขภาพ ประวัติศาสตร์ชุมชนทำให้รู้ความเป็นมาและเข้าใจชุมชนได้ดีขึ้น รู้ว่าชุมชนนั้นได้ตั้งมาเมื่อไรและมีอายุยาวแค่ไหน มีบุคคลสำคัญที่สร้างให้ชุมชนเจริญขึ้น หรือมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นจนเป็นที่กล่าวขานในสังคมและท้องถิ่น เหตุการณ์นั้นส่งผลอย่างไรหรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับคน ชุมชน หรือพื้นที่ในชุมชนอย่างไร การศึกษาประวัติชุมชนนั้นถือเป็นการลดอคติหรือภาพลักษณ์ที่เหมารวมซึ่งอาจมีชุมชนอื่นคล้ายหรือเหมือนกัน และเป็นการให้สามารถเลือกวิธีการทำงานให้ชุมชนนั้นสอดคล้องกับการอนุรักษ์สืบสานและต่อยอดได้เหมาะสม สอดคล้องกับประสบการณ์ ความคาดหวัง ศักยภาพของชุมชนนั้นๆ แม้ว่าเรื่องราวของชุมชนจะมีส่วนผสมของความจริงความรู้สึก ความคิดเห็น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคมและวัฒนธรรม ประเพณี การเมือง เหตุการณ์สำคัญ ส่วนใหญ่มาจากการบอกเล่าต่อๆ กันมา แบบเขาเล่าว่า แต่ไม่ยืนยันตามข้อเท็จจริงที่มีจารึก เอกสารและการจดบันทึก ที่มีการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและวิถีวัฒนธรรมชุมชนดังนี้ ๑.ศึกษาเอกสารต่างๆ ที่ ๒.สัมภาษณ์หรือพูดคุยผู้รู้จริง ๓.รวบรวมข้อมูลให้เป็นประวัติศาสตร์ชุมชนและวิถีวัฒนธรรม ๔.การเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์และวิถี เป็นต้น ซึ่งทำให้จดหมายเหตุเมืองหรือชุมชนนั้นความสำคัญในการใช้เป็นต้นทุนของหลายเรื่อง ทำให้เกิดมีความภูมิใจในชุมชน ท้องถิ่นบ้านเกิด เกิดธุรกิจการท่องเที่ยว มีการแสดงพื้นบ้านงานท้องถิ่นจากกลุ่มชาติและสร้างเศรษฐกิจรายได้ของชุมชนและประเทศ ส่วนจดมายเหตุเมืองนั้นมีชุมชนหรือหน่วยงานบริหารท้องถิ่นหรือวัฒนธรรม-นักส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่ ให้ร่วมกันรับผิดชอบ...จึงขอใจช่วยกันเพื่อการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนในอนาคต
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี