วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คุยกัน7วันหน : ‘7 รัฐสมรภูมิ’ ตัวแปรแห่งชัยชนะ  ศึกใหญ่ชี้ชะตา ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’

คุยกัน7วันหน : ‘7 รัฐสมรภูมิ’ ตัวแปรแห่งชัยชนะ ศึกใหญ่ชี้ชะตา ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’

วันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 06.45 น.
Tag : แฮร์ริส คุยกัน7วันหน ทรัมป์
  •  

ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการการเลือกตั้งของมหาวิทยาลัยฟลอริดา ของสหรัฐฯ พบว่า มีชาวอเมริกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกือบ 25 ล้านคน ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ล่วงหน้าก่อนวันเลือกตั้งจริงในวันที่ 5 พฤศจิกายน ทั้งการเดินทางไปลงคะแนนเสียงด้วยตนเอง และลงคะแนนทางไปรษณีย์ หลายรัฐรวมถึงรัฐสมรภูมิ อย่างนอร์ทแคโรไลนา และจอร์เจีย สร้างสถิติใหม่ในวันแรกของการลงคะแนนเสียงล่วงหน้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์มากเป็นประวัติการณ์

มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 มีประมาณ 240 ล้านคน แต่มีแนวโน้มว่าจะมีประชากรส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า “ใครจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป” นักวิเคราะห์การเลือกตั้งสหรัฐฯ เชื่อว่ามีเพียงไม่กี่รัฐที่เรียกว่า “รัฐสมรภูมิ” หรือ Swing states” ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของชัยชนะระหว่างคามาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต และ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน


ระบบเลือกตั้งของสหรัฐฯ ประชาชนไม่ได้เข้าคูหาแล้วกาชื่อ แฮร์ริส หรือ ทรัมป์โดยตรง แต่ประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้กับคณะเลือกตั้ง หรือ Electoral College โดยที่รัฐแต่ละรัฐต้องส่งตัวแทนของแต่ละพรรคแข่งกัน ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดในรัฐนั้นๆ จะถือเป็นคะแนนเก็บให้กับผู้สมัครลงตำแหน่งประธานาธิบดี จำนวนคะแนนเสียงของแต่ละรัฐจะถูกกำหนดด้วยจำนวนประชากร โดยมีทั้งหมด 538 คะแนนที่รอการชิงชัย และผู้ชนะคือผู้สมัครที่ได้รับคะแนน 270 คะแนนขึ้นไป

รู้จัก ‘รัฐสมรภูมิ’

รัฐสมรภูมิ หรือ Swing states คือ รัฐที่คาดเดาได้ยากว่าประชากรในรัฐส่วนใหญ่จะเทคะแนนเสียงให้พรรคใด ทำให้รัฐเหล่านี้เป็นเวทีสำคัญของการรณรงค์หาเสียง ผู้สมัครทั้ง 2 พรรคใหญ่ มักจะทุ่มทรัพยากรอย่างหนักเพื่อเก็บคะแนนเสียงในรัฐเหล่านี้ โดยผลการเลือกตั้งในรัฐสมรภูมิ มักเป็นตัวชี้ขาดว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป

เพราะคะแนนเสียงที่ผันผวน ส่งผลให้การทำนายผลการเลือกตั้งเป็นเรื่องยาก เป็นข้อกังวลใจในทีมวางกลยุทธ์หาเสียงของแต่ละพรรค และการชนะในรัฐสมรภูมิเพียงไม่กี่รัฐ อาจส่งผลให้ผู้สมัครคนหนึ่งได้เป็นประธานาธิบดีเลยก็ได้

ในการเลือกตั้งปี 2020 มี 7 รัฐที่เป็นกุญแจสำคัญสู่เส้นทางทำเนียบขาวได้แก่ รัฐแอริโซนา จอร์เจีย มิชิแกน เนวาดา นอร์ทแคโรไลนา เพนซิลเวเนีย และ วิสคอนซิน รัฐที่ผู้ชนะได้คะแนนเสียงทิ้งห่างกันไม่ถึงร้อยละ 3 แต่ 7 รัฐที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ถูกตั้งให้เป็นรัฐสมรภูมิแต่แรกเริ่มอย่างใด การเลือกตั้งปี 2016 ไอโอวาและโอไฮโอ กลายเป็นรัฐสมรภูมิ ขณะที่การเลือกตั้งในปี 2012 ก็มีชื่อรัฐเล็กๆ อย่างนิวแฮมป์เชียร์ ที่ติดโผรายชื่อรัฐสมรภูมิได้

ปัจจัยหลักที่เป็นตัวกำหนดว่ารัฐใดจะเป็นรัฐสมรภูมิได้นั้น ขึ้นอยู่กับ จำนวนประชากรในรัฐที่มีแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกันแต่อยู่ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ทีมวางแผนของผู้ลงสมัครคาดเดาได้ยาก ว่าควรส่งผู้สมัครคนใดเข้าชิงตำแหน่ง ผลการเลือกตั้งในอดีตที่ผันผวน รวมถึงสถานการณ์สำคัญๆ ในช่วงเวลานั้นๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญเช่นกัน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรือการตอบสนองของรัฐบาลในนโยบายต่างประเทศ

1.แอริโซนา (Arizona)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน)ไปด้วยคะแนนเพียง 10,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 11 จาก 538 คะแนน

สิ่งที่น่าจับตาคือ แอริโซนา เป็นรัฐนี้ติดกับประเทศเม็กซิโก จึงกลายเป็นศูนย์กลางการถกเถียงเรื่องการย้ายถิ่นฐาน การข้ามพรมแดน ทรัมป์ยังให้คำมั่นที่จะดำเนินการ “การเนรเทศครั้งใหญ่ที่สุด” ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ หากเขาได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ขณะที่แฮร์ริสไม่เห็นด้วย และเธอเองก็ได้รับหน้าที่แก้ปัญหาวิกฤตชายแดนในรัฐบาลไบเดน แอริโซนายังเป็นศูนย์กลางของการโต้เถียงเรื่อง การห้ามทำแท้ง โดยพรรครีพับลิกันพยายามเสนอนโยบายยกเลิกการเข้าถึงการทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย

2.มิชิแกน (Michigan)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์(รีพับลิกัน) ไปด้วยคะแนนเพียง 150,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 15 จาก 538 คะแนน

แม้ว่าชาวมิชิแกนส่วนใหญ่จะสนับสนุนไบเดน แต่ขณะนี้ รัฐนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านการสนับสนุนอิสราเอลของประธานาธิบดีในช่วงสงครามตะวันออกกลาง ในการเลือกตั้งขั้นต้นของประเทศเมื่อต้นปี มีผู้ลงคะแนนกว่า 100,000 คะแนน เลือกตัวเลือก “ยังไม่ตัดสินใจ” ในบัตรลงคะแนน ส่วนหนึ่งมาจากแคมเปญที่นักเคลื่อนไหวออกมาต่อต้านการช่วยเหลือทางการทหารของรัฐบาลแก่อิสราเอล ที่สำคัญ มิชิแกนมีสัดส่วนของชาวอาหรับ-อเมริกันมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ไม่สนับสนุนเดโมแครต แต่แฮร์ริสก็มีท่าทีเรื่องอิสราเอลที่ตึงเครียดขึ้น ในขณะที่ทรัมป์ ให้ความสำคัญของรัฐนี้โดยเรียกร้องให้อิสราเอลดำเนินการกับฮามาสให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

3.เนวาดา (Nevada)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน)ไปด้วยคะแนนเพียง 34,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 6 จาก 538 คะแนน

รัฐเนวาดาลงคะแนนให้พรรคเดโมแครตในหลายการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่มีสัญญาณว่าปีนี้รีพับลิกันอาจพลิกเกมชนะได้ ผลสำรวจล่าสุดระบุว่าทรัมป์เคยมีคะแนนนำไบเดนอยู่มาก แต่ความได้เปรียบดังกล่าวลดลงตั้งแต่แฮร์ริส ขึ้นเป็นผู้สมัครเดโมแครต เป้าหมายทั้ง 2 ฝ่ายพยายามรวบรวมคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวละติน-อเมริกัน

4.จอร์เจีย (Georgia)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน)ไปด้วยคะแนนเพียง 13,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 16 จาก 538 คะแนน

ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 เมืองฟูลตันในจอร์เจีย เกิดคดีความที่ทรัมป์และพรรครีพับลิกัน ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานแทรกแซงการเลือกตั้ง ทรัมป์ปฏิเสธการกระทำผิด แต่เขาก็ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงไปแล้ว 1 คดี ส่วนที่เหลือยังอยู่ในกระบวนการ 1 ใน 3 ของประชากรในจอร์เจียเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งเป็นสัดส่วนของชาวผิวสีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเชื่อกันว่ากลุ่มประชากรนี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ไบเดนคว้าคะแนนจากรัฐนี้ในปี 2020 แต่มีรายงานว่าในปีนี้กลุ่มคะแนนเสียงหลักกลับผิดหวังในตัวไบเดน ต้องจับตาว่าการรณรงค์หาเสียงของแฮร์ริสจะกระตุ้นชาวแอฟริกัน-อเมริกันกลุ่มนี้ให้กลับมาเทคะแนนให้อีกได้หรือไม่

5.นอร์ทแคโรไลนา (North Carolina)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน) ชนะ โจ ไบเดน(เดโมแครต) ไปด้วยคะแนนเพียง 74,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 16 จาก 538 คะแนน

นอร์ทแคโรไลนา เป็นรัฐแรกที่ทรัมป์เลือกลงพื้นที่หาเสียงหลังเหตุการณ์ลอบยิงเขาเมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา หลังผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า คะแนนนิยมในตัวทรัมป์และแฮร์ริสนั้นสูสีกัน ทรัมป์มักกล่าวว่า รัฐนี้ถือเป็นรัฐที่เขาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และเชื่อว่าจะคว้าชัยชนะจากรัฐนี้ได้สำเร็จ ในการเลือกตั้งครั้งก่อน ทรัมป์คว้าชัยด้วยคะแนนนำที่ไม่ห่างสักเท่าไหร่ ทำให้มีผู้เรียกรัฐนี้ว่า เป็นรัฐสีม่วง(สีแดงและสีน้ำเงินผสมกัน)

รัฐนอร์ทแคโรไลนาติดกับรัฐจอร์เจีย และมีประเด็นการเลือกตั้งสำคัญๆ หลายอย่าง เช่นเดียวกับแอริโซนา ซึ่งเป็น 1 ในรัฐซันเบลต์ (Sun Belt States) คือชื่อ
เรียกกลุ่มรัฐทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ที่มีภูมิอากาศร้อนหรืออบอุ่นตลอดปี รวมถึงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและประชากรสูงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐในกลุ่มนี้มีความสำคัญทางการเมือง เพราะมีประชากรจำนวนมากและเพิ่มขึ้นตลอดทั้งปี ส่งผลให้มีจำนวนคะแนนเสียงในคณะเลือกตั้ง (Electoral College) มากขึ้น

6.เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน) ไปด้วยคะแนนเพียง 82,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 19 จาก 538 คะแนน

ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันต่างพยายามรณรงค์หาเสียงอย่างหนักในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่ซึ่งทรัมป์รอดพ้นจากความพยายามลอบสังหารครั้งแรก เพนซิลเวเนียมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งปี 2020 โดยสนับสนุนไบเดน บ่อยครั้งที่เขามักพูดถึงความเชื่อมโยงของเขากับเมือง Scranton ซึ่งเป็นเมืองชนชั้นแรงงานที่เขาเติบโตขึ้นมา

สภาพเศรษฐกิจถือเป็นปัญหาสำคัญของรัฐนี้ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงทั่วประเทศภายใต้การบริหารของไบเดน ชาวเพนซิลเวเนียไม่ใช่อเมริกันกลุ่มเดียวที่รู้สึกกดดันเรื่องค่าครองชีพอันเป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อแม้กระทั่งราคาอาหารตามร้านสะดวกซื้อในรัฐเพนซิลเวเนียก็พุ่งสูงเร็วกว่าในรัฐอื่นๆ ตามข้อมูลของ Datasembly ผู้ให้บริการข้อมูลการตลาด

7.วิสคอนซิน (Wisconsin)

ในการเลือกตั้งปี 2020 โจ ไบเดน (เดโมแครต) ชนะ โดนัลด์ ทรัมป์ (รีพับลิกัน)ไปด้วยคะแนนเพียง 21,000 คะแนน โดยคณะผู้เลือกตั้งได้คะแนน 10 จาก 538 คะแนน

ในการเลือกตั้งปี 2020 และ 2016 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีชนะด้วยคะแนนห่างกันเพียง 20,000 กว่าคะแนนเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า คะแนนเสียงจากรัฐชายขอบถูกเฉลี่ยมากขึ้น เพราะประชาชนไม่ได้เทคะแนนส่วนใหญ่ไปที่ทั้ง2 พรรคใหญ่ บางครั้งผู้สมัครจากพรรคอื่นก็ได้คะแนนสนับสนุนไปเช่นกัน

ผลสำรวจในปีนี้ระบุว่า คะแนนนิยมในตัวผู้สมัครอิสระอย่าง “โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดีจูเนียร์” อาจส่งผลเสียต่อคะแนนเสียงของแฮร์ริสหรือทรัมป์ และทว่า เคนเนดี ได้ยุติการรณรงค์หาเสียงของเขาไปในช่วงปลายเดือนสิงหาคมและเลือกสนับสนุนทรัมป์

โดย ดาโน โทนาลี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น
  • คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่ คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่
  • คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์ คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์
  • คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก
  • คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย  ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’ คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’
  • คุยกัน7วันหน : 5 เรื่องควรรู้  แชทหลุดสะเทือนทำเนียบขาว คุยกัน7วันหน : 5 เรื่องควรรู้ แชทหลุดสะเทือนทำเนียบขาว
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved