วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
มองไม่ชัด ตาขุ่นมัว เสี่ยง ‘โรคต้อกระจก’  อายุเยอะเสี่ยงสูง รีบป้องกันก่อนสูญเสียการมองเห็น

มองไม่ชัด ตาขุ่นมัว เสี่ยง ‘โรคต้อกระจก’ อายุเยอะเสี่ยงสูง รีบป้องกันก่อนสูญเสียการมองเห็น

วันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : โรคต้อกระจก
  •  

ในกลุ่มโรคต้อที่เกิดกับดวงตาของเรา “โรคต้อกระจก” ถือว่าพบได้บ่อยที่สุด และจริงๆ แล้วโรคนี้ไม่ได้พบแค่ในผู้สูงอายุ เพราะคนอายุน้อยก็เป็นโรคนี้ได้จากปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัวที่เราอาจไม่รู้มาก่อน เช่น รังสี UV, การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางประเภท โดยต้อกระจกทำให้เลนส์ตาขุ่นมัว ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และหากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

พญ.จิรนันท์ ทรัพย์ทวีผลบุญ จักษุแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคต้อหิน ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลวิมุต ให้ข้อมูลว่า ต้อกระจก (Cataracts) คือโรคต้อตาชนิดหนึ่งที่เกิดจากความเสื่อมของเลนส์ดวงตา ทำให้เลนส์ตาที่ปกติมีความใสเกิดความขุ่นมัว ส่งผลให้ประสาทตารับแสงได้ไม่เต็มที่จนเกิดอาการมองไม่ชัดหรือตาพร่ามัว ทั้งนี้ ต้อกระจกเกิดได้กับทุกคน แต่จะเกิดความเสื่อมช้าเร็วไม่เท่ากัน โดยปกติต้อกระจกเกิดจากอายุที่มากขึ้น พบบ่อยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป และจะเริ่มรบกวนการมองเห็นมากขึ้นเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนคนที่อายุยังน้อยก็เป็นโรคนี้ได้จากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่จัด เคยผ่าตัดตา การใช้ยาสเตียรอยด์มีโรคประจำตัวที่กระทบสุขภาพดวงตา หรือการประสบอุบัติเหตุบริเวณดวงตา


อีกหนึ่งความเสี่ยงที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ คือการอยู่กลางแดดบ่อยๆ เพราะจริงๆ แล้วรังสี UV โดยเฉพาะรังสี UVA ส่งผลต่อการเสื่อมของเลนส์ตาโดยตรง เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระที่ทำให้โปรตีนในเลนส์ตาเสื่อมสภาพและจับตัวเป็นก้อน หรือที่เราเห็นเป็นความขุ่นในดวงตา ดังนั้น ใครที่อยู่กลางแดดเป็นประจำควรสวมแว่นกันแดดอยู่เสมอ และต้องเป็นแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐาน มีการฉาบสารป้องกันรังสี UV

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของสายตาจากต้อกระจก มักสังเกตได้ยากเนื่องจากอาการจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยอาการที่พบบ่อยคือ ตาพร่ามัว และค่าสายตาเปลี่ยนหลังจากที่คงที่มานาน โดยเฉพาะคนที่มีความขุ่นของตาเยอะประมาณหนึ่ง ถ้านำไฟฉายส่องจะพบเงาของม่านตาตกลงบนเลนส์แก้วตาที่อยู่กึ่งกลางตาดำ ส่วนคนที่มีสุขภาพเลนส์ตาปกติ แสงจะผ่านได้ดีและไม่ปรากฏเงาซึ่งคนที่มีแนวโน้มเป็นต้อกระจกให้รีบมาตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียด

ต้อกระจก ปัจจุบันผ่าตัดรักษาง่ายปลอดภัยสูง โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยโรคต้อกระจก ซึ่งวินิจฉัยได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติม ในอนาคตอาจมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ AI เข้ามาช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นจากภาพถ่ายดวงตา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับคนไข้ที่ไม่สะดวกมาโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีการนำ AI มาใช้ในการคำนวณค่าเลนส์แก้วตาเทียมที่จะใส่ให้ผู้ป่วย ช่วยเพิ่มความแม่นยำจากการคำนวณแบบดั้งเดิม และช่วยแจ้งเตือนจุดอันตราย (Danger Zone) ระหว่างการผ่าตัด

การรักษาโรคต้อกระจกจะพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ ถ้าเป็นน้อยและยังไม่รบกวนการมองเห็นสามารถติดตามอาการไปก่อนได้ แต่ถ้าเริ่มกระทบการมองเห็นก็มีวิธีรักษาหลายแบบ อย่างแรกคือ การใช้ยาหยอดตากลุ่มต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้หายขาดอีกวิธีคือการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะปัจจุบันมีเลนส์ระดับพรีเมียมที่ช่วยให้มองเห็นได้หลายระยะและลดแสงรบกวน แม้จะยังไม่สามารถทดแทนเลนส์ธรรมชาติได้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีการใช้เลเซอร์ช่วยผ่าตัด ซึ่งส่วนมากใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีถุงหุ้มเลนส์อ่อนแอ หรือผู้ที่เลนส์แก้วตาแข็งมากเกินกว่าจะสลายด้วยคลื่นความถี่สูงตามปกติได้

ส่วนการผ่าตัดต้อกระจก มีอัตราความสำเร็จสูงถึง 97-99% โดยแพทย์จะประเมินก่อนว่าคนไข้มีสุขภาพตาที่เหมาะกับการผ่าตัดหรือไม่ โดยผู้ที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดคือคนที่สูญเสียการมองเห็น จอตาเสียจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ต้อกระจก กระจกตาเสื่อม หรือดวงตาได้รับความเสียหายมาก เพราะอาจไม่เกิดประโยชน์หรือทำให้อาการแย่ลง หรือถ้าบางรายจำเป็นต้องผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนกระจกตาพร้อมกับรักษาต้อกระจกในการผ่าตัดครั้งเดียว

ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด คืออาการตาอักเสบและตาแห้ง ซึ่งมักหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ และในช่วงหนึ่งเดือนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าตา งดล้างหน้า และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการกระทบกระแทกดวงตา เพื่อให้แผลปิดสนิทและป้องกันการติดเชื้อ หากดวงตาติดเชื้อจะมีความยุ่งยากกว่าเดิม เพราะอาจต้องผ่าตัดนำเลนส์เทียมออก

โรคต้อกระจกเกิดได้กับทุกวัยดังนั้น ต้องเริ่มดูแลสุขภาพตาตั้งแต่วันนี้เริ่มจากการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกข้างนอกก็สวมแว่นกันแดดที่เคลือบสารกัน UV และไม่ซื้อยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์มาใช้เอง เพราะถ้าใช้นานๆ อาจทำให้เกิดต้อกระจกได้ ที่สำคัญคือต้องสังเกตการมองเห็นของตัวเองอยู่เสมอ ถ้ามีอาการผิดปกติ มองไม่ชัด ตาพร่ามัว ก็อยากให้เข้ามาพบแพทย์ทันที ดวงตาของเรามีคู่เดียว อยากให้ดูแลให้ดี จะได้มองเห็นชัดเจนไปนานๆ

ผู้ที่สนใจปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลวิมุต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ ศูนย์จักษุ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต เวลาทำการ 08.00- 20.00 น. โทร. 02-0790058 หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือใช้บริการปรึกษาหมอออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘เพศทางเลือก’เฮ! บอร์ดสปสช.ไฟเขียว‘บัตรทอง’ครอบคลุม‘ฮอร์โมน’ยืนยันเพศสภาพ

อดีตทหารพรานเดือด สาวหมัดใส่ทหารเขมรที่ตาเมือนธม ตร.ลุยสอบ เอาผิดทำร้ายร่างกาย!

ไล่ประเด็น‘ฮุน เซน’ทิ้งบอมบ์ 2-3 เรื่องใหญ่ที่‘ทักษิณ’นิ่งไม่ได้

แยกขยะ ’ไม่เทรวม‘ ได้จ่าย 20 เท่าเดิม นับถอยหลัง 80 วัน เก็บอัตราใหม่ต.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved