วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แพทย์เตือนไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่าที่คิด  เสี่ยงปอดอักเสบ หัวใจวาย อันตรายถึงชีวิต

แพทย์เตือนไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่าที่คิด เสี่ยงปอดอักเสบ หัวใจวาย อันตรายถึงชีวิต

วันอาทิตย์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ไข้หวัดใหญ่ หวัดใหญ่ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  •  

 

“ไข้หวัดใหญ่” ไม่ใช่แค่ “ไข้ธรรมดา”อย่าชะล่าใจเมื่อมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช็คให้ชัวร์ สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบรับมือก่อนจะสายเกินไป อย่าปล่อยให้ความคิดว่า “แค่ไข้” ทำให้คุณเสี่ยงกับอันตรายร้ายแรง เพราะอาการลุกลามเกิดภาวะปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หัวใจล้มเหลว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้


พญ.มัณฑนา สันดุษฎี อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี โดยไข้หวัดใหญ่มี 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ A, B และ C แต่มีเพียงสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดทั่วไป

“ไข้หวัดใหญ่” ไม่ใช่แค่ “ไข้ธรรมดา” อย่างที่หลายคนเข้าใจ เนื่องจากเชื้อไวรัสทั้งสองชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมาก ไข้หวัดธรรมดาเกิดจากไวรัสหลายสายพันธุ์ เช่น ไรโนไวรัส(Rhinovirus) โคโรนาไวรัส (Coronavirus)แต่ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา(Influenza Virus) ซึ่งทำให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยอาการของไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อปวดศีรษะรุนแรง เจ็บคอ ไอแห้ง หรือมีเสมหะ อ่อนเพลียมาก บางครั้งอาจมีอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย

สำหรับคนไข้บางรายเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการไม่รุนแรง แต่ในบางรายอาการอาจหนักมากและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ(Pneumonia) เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้เกิดปอดอักเสบและติดเชื้อที่ปอดส่งผลให้หายใจลำบากและอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากอาการรุนแรง ภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว (RespiratoryFailure) การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือ ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) หัวใจวาย (Heart Failure)ไข้หวัดใหญ่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติจนถึงขั้นหัวใจวาย ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) ในบางกรณีที่รุนแรง ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอาจทำให้ปวดศีรษะรุนแรง ชัก หรือหมดสติ ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis)ในบางกรณีรุนแรง อาจทำให้กล้ามเนื้อสลายซึ่งเสี่ยงต่อภาวะไตวายเฉียบพลัน

พญ.มัณฑนา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพดี ก็ยังเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อาการป่วยมักอยู่ระหว่าง 3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียยาวนานได้หลายสัปดาห์ การรักษาแม้โรคไข้หวัดใหญ่ในคนที่อาการไม่มากสามารถหายเองได้ แต่การพบแพทย์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด การได้รับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) จะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ปัจจุบันการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งช่วยลดความรุนแรงของอาการ และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ปอดอักเสบและหัวใจวายโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง ได้แก่ เด็กอายุ 6 เดือน-2 ขวบ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคอ้วนและหญิงตั้งครรภ์

พญ.มัณฑนา กล่าวปิดท้ายว่า “วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีการอัปเดตทุกปีโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้ครอบคลุมเชื้อไวรัสที่มีความเสี่ยงระบาดสูง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 หรือ 4 สายพันธุ์ที่ฉีดป้องกันไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A 2 สายพันธุ์ และ B อีก 1 หรือ 2 สายพันธุ์ย่อย ซึ่งการฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของอาการ ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการติดเชื้อและลดโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ฉีดควบคู่กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือวัคซีนนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Vaccine) วัคซีนชนิดนี้จะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อตัวนี้ โดยวัคซีนนี้ปัจจุบันฉีดเพียง 1 เข็ม (PCV20) และป้องกันได้ตลอดชีวิต

สำหรับการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่ เราทุกคนสามารถป้องกันตัวเองจากไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, พักผ่อนให้เพียงพอ, ล้างมือบ่อยๆ และที่สำคัญต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

การเตรียมตัวและการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ คือกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยให้โรคนี้มาคุกคามสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก เตรียมตัวให้พร้อมในทุกฤดูกาลด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัยและสุขภาพดีในระยะยาว

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'นายกฯอุ๊งอิ๊งค์'ให้กำลังใจคนทำงาน คุมเพลิงโดยรอบได้แล้วไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์

‘สจ.กอล์ฟ’พร้อมพ่อ‘สส.สมยศ’ โผล่พบตร.สงขลา หลังโดนหมายจับสั่งทำร้ายตำรวจ

เซ็กซี่ขยี้ใจ! 'มิ้นต์ ชาลิดา'อวดบิกินีแซ่บท้าลมร้อน

'ในหลวง-พระราชินี' ทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิยาลงกรณ์ ณ พื้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved