วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life&Health : นอนกรน..เสียงเตือนสัญญาณสุขภาพเริ่มเสื่อม

Life&Health : นอนกรน..เสียงเตือนสัญญาณสุขภาพเริ่มเสื่อม

วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag :
  •  

หลายคนอาจคิดว่า “การนอนกรน” เป็นเพียงปัญหากวนใจเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลร้ายแรง แต่ความจริงแล้ว เสียงกรนอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะ “หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น” (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ข้อมูลจาก แพทย์หญิงณัชชา อินทรกำแหง อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท ชำนาญการด้านการนอนหลับ โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า การนอนกรนสามารถเกิดได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ความเหนื่อยล้าสะสม การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน  น้ำหนักตัวเกิน ภาวะภูมิแพ้หรือคัดจมูก ทำให้หายใจลำบาก แม้อาการนอนกรนจะดูไม่รุนแรง แต่หากเกิดบ่อยและมีอาการร่วมอื่น ๆ อาจเป็นสัญญาณของ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งมักจะมีอาการหลับไม่สนิท ง่วงในเวลากลางวันทั้งๆที่ไม่ได้อดนอน ภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอวัยวะทางเดินหายใจ เช่น จมูก ช่องคอ ลิ้นหรือผนังคอหอย เกิดความผิดปกติ จนส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง ทำให้อากาศผ่านได้ลดลง หรือเกิดการอุดกั้น นำไปสู่การหยุดหายใจชั่วขณะ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก หากไม่รักษาอาจนำไปสู่การเป็นโรคทางหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้ โดยอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ คือ

  • นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
  • สะดุ้งตื่นกลางดึกเหมือนหายใจไม่ออก
  • ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกปากแห้ง เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  • สมาธิและประสิทธิภาพการทำงานลดลง

​

แพทย์หญิงณัชชา อินทรกำแหง 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อแยกว่าเป็นการนอนกรนประเภทใด และสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้ว่า มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากหรือไม่และตรวจการหายใจที่สัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจและสมองขณะหลับ โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้

  • การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ และการตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ ว่าหลับได้สนิทแค่ไหน ประสิทธิภาพการนอน คลื่นสมองผิดปกติเช่นลมชักขณะหลับ
  • การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ เพื่อดูว่าหัวใจมีการเต้นผิดจังหวะที่อาจมีอันตรายได้หรือไม่
  • การตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดแดงขณะหลับ เพื่อดูว่าร่างกายมีการขาดออกซิเจนหรือไม่ในขณะหลับ และหยุดหายใจหรือหายใจเบาหรือไม่
  • การตรวจวัดลมหายใจ ที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก และการตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใช้ในการหายใจ ดูว่ามีการหยุดหายใจหรือไม่ เป็นชนิดไหน ผิดปกติมากน้อยแค่ไหน
  • ตรวจเสียงกรน เพื่อดูว่ากรนจริงหรือไม่ กรนดังแค่ไหน กรนตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน
  • การตรวจท่านอน ในแต่ละท่านอนมีการกรน หรือการหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร

การทำ Sleep Test หรือการตรวจการนอนหลับชนิดมาตรฐาน (Standard PSG) ต้องทำในห้องปฏิบัติการนอนหลับ (Sleep laboratory) ควบคุมดูแลโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมาเฉพาะทาง เพราะการตรวจค่อนข้างซับซ้อน และมีการติดอุปกรณ์ตามร่างกายหลายอย่าง การตรวจชนิดนี้สามารถบอกได้ว่า คุณภาพในการนอนเป็นอย่างไร หลับได้ดีหรือสนิทหรือไม่ และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นขณะนอนหลับ ถ้าพบว่ามีการหยุดหายใจบ่อย อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) แล้วทำการปรับความดัน เพื่อให้ทราบค่าความดันที่เหมาะสมที่สุด ที่ใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติขณะนอนหลับ จะทำการวัดตลอดทั้งคืน อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับของคนทั่วไป ต้องมีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่มีความชำนาญในการอ่านคลื่นสมอง ตรวจเช็กผลซ้ำอีกครั้งด้วยจึงจะเชื่อถือได้

แนวทางการรักษาหลังเข้ารับการตรวจ Sleep Test แล้วพบว่ามีความผิดปกติของภาวะนอนกรน แนะนำจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ เช่น ลดน้ำหนัก เปลี่ยนพฤติกรรมการนอน หลีกเลี่ยงการนอนหงายเพราะจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่าย หลีกเลี่ยงยาและเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ เป็นต้น

สำหรับกรณีของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีวิธีการรักษาได้หลายวิธีได้แก่

1.การใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP ซึ่งเป็นวิธีการรักษามาตรฐานที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 90-99%

2.การรักษาทางเลือกด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยบางราย อาจช่วยแก้ไขการหยุดหายใจทำให้ไม่ต้องกลับไปใช้หรือลดการใช้เครื่อง CPAP ลงได้ ซึ่งการผ่าตัดปัจจุบันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโครงสร้างความผิดปกติของโครงหน้า จมูก และปากของแต่ละคน

3.การใส่อุปกรณ์ทันตกรรม (Oral appliance) ช่วยดึงลิ้นและกรามบางส่วนมาข้างหน้า เพื่อลดการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ

อย่างไรก็ตามการนอนกรนที่เกิดบ่อยและมีอาการร่วม อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงโดยไม่รู้ตัว หากสังเกตอาการตัวเองหรือคนรอบข้างว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม เพราะ การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน และฟื้นฟูคุณภาพการนอนให้กลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

ข้อมูลจาก ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง เลขาธิการ กองทุนโรคมะเร็งในเด็กในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมช่วยสนับสนุนผู้ป่วยมะเร็งเด็กที่ยากไร้ทั่วประเทศในโรงพยาบาลกว่า 20 แห่ง รูปแบบในการให้ความช่วยเหลือคือ ช่วยค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา รวมทั้งค่ายา ค่าเดินทางมาตรวจรักษา ค่าที่พัก เวชภัณฑ์ต่างๆ โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนโรคมะเร็งในเด็กในพระอุปถัมภ์ฯ” SCB สาขาอ่อนนุช เลขที่บัญชี 133-2-08742-3 โทร.02-7183800 ต่อ 123 ใบเสร็จนำไปลดหย่อนภาษีได้รายละเอียดที่ http://www.thaichildrencancerfund.org/

ผศ.(พิเศษ) ดร.เภสัชกร อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ป.ป.ส.ชวนวัยทีนปล่อยของ! ประกวดคลิป TikTok สุดสร้างสรรค์ \'BE SMART SAY NO TO DRUGS\' ปี 2 ป.ป.ส.ชวนวัยทีนปล่อยของ! ประกวดคลิป TikTok สุดสร้างสรรค์ 'BE SMART SAY NO TO DRUGS' ปี 2
  • TCMA - กพร.ยินดีความสำเร็จผู้รับทุนการศึกษา ต่อยอดความรู้ธรณีวิทยาแร่หายาก ร่วมตอบโจทย์พัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ควบคู่เป้าหมาย Net Zero 2050 TCMA - กพร.ยินดีความสำเร็จผู้รับทุนการศึกษา ต่อยอดความรู้ธรณีวิทยาแร่หายาก ร่วมตอบโจทย์พัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ควบคู่เป้าหมาย Net Zero 2050
  • ฉลองความสัมพันธ์ Seafood from Norway จับมือ การบินไทย   เปิดแคมเปญ ‘จากท้องทะเลสู่น่านฟ้า 120 ปีแห่งมิตรภาพไทย-นอร์เวย์’ ฉลองความสัมพันธ์ Seafood from Norway จับมือ การบินไทย เปิดแคมเปญ ‘จากท้องทะเลสู่น่านฟ้า 120 ปีแห่งมิตรภาพไทย-นอร์เวย์’
  • “คนคือพลังองค์กร” โฮปฟูลยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานสู่ความยั่งยืน “คนคือพลังองค์กร” โฮปฟูลยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานสู่ความยั่งยืน
  • ฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน  เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) มอบบ้านพระราชทานให้ชาวนราธิวาส ฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) มอบบ้านพระราชทานให้ชาวนราธิวาส
  • Capgras syndrome โรคที่ทำให้คนใกล้ชิดกลายเป็นคนแปลกหน้า Capgras syndrome โรคที่ทำให้คนใกล้ชิดกลายเป็นคนแปลกหน้า
  •  

Breaking News

‘สุขสมรวย’หวด‘ดีเอสไอ-กุสุมาลวตี’ เปิดเผยเส้นทางเงิน‘ไชยชนก’ส่อละเมิดสิทธิ

เตรียมจัดใหญ่! ย้อนรำลึก ‘แฝดอิน-จัน’ มหัศจรรย์แฝดสยามคู่แรกของโลก

รวบเจ้าหน้าที่ธนาคารดัง 3 ราย ร่วมแก๊งคอลฯ ปลอมเอกสารให้ชาวจีน เปิดบัญชี เพื่อหลอกเงินคนไทย

‘สว.’กาง 3 ข้อดาหน้าร้อง‘กกต.’ โยนทิ้งสำนวนดีเอสไอ สั่งกก.ชุดที่ 26 ยุติทำหน้าที่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved