วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ศาสตร์และศิลป์แห่งเจ้าฟ้า เพื่อประชาและแผ่นดิน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ศาสตร์และศิลป์แห่งเจ้าฟ้า เพื่อประชาและแผ่นดิน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี
  •  

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงสืบสานตามพระราชปณิธานใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการประกอบพระกรณียกิจนานัปการเพื่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนับตั้งแต่ที่ทรงตัดสินพระทัยเลือกศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมทุกมิติ


 

ขณะเดียวกันทรงใช้พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะและการดนตรี ที่ทรงได้รับการปลูกฝังความเป็นคีตศิลปินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จนก่อเกิดเป็นผลงานหลากหลายรูปแบบที่จะนำไปสู่คุณูปการ อันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศในพระกรณียกิจด้าน สาธารณกุศลต่างๆ ตลอดจนเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างมิตรประเทศที่มีอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นและสร้างมิตรใหม่ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศเป็นอย่างดียิ่ง

 

ด้วยพระปณิธานอันมุ่งมั่นในการนำความรู้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ กอปรกับการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและการดนตรีอย่างเกื้อกูลกัน จะเป็นพลังสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและประเทศชาติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้โดยเร็ว ดังพระดำรัสในโอกาสให้กระทรวงวัฒนธรรม (คณะกรรมการจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติฯสิริศิลปิน) เข้าเฝ้า เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ พระตำหนักจักรีบงกช ความตอนหนึ่งว่า...

 

“...วิทยาศาสตร์เป็นส่วนที่ประคับประคองประเทศ ในระหว่างที่ประเทศเดือดร้อน ศิลปะก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ผสมผสานกันสองสาขา เพื่อนำมาสู่การช่วยเหลือราษฎร ในยามที่ประชาชนลำบาก...”

นับตั้งแต่การก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงตั้งมั่นในพระปณิธานดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมชนกนาถ อย่างเป็นรูปธรรม และทรงน้อมนำแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาใช้เป็นหลักและแนวทางการทรงงาน พร้อมกับทรงวางพระนโยบายให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์กลางแห่งความร่วมมือการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการดำเนินงานวิจัยทั้งในระดับพื้นฐานและการประยุกต์ใช้โดยมุ่งเน้นงานวิจัยด้านเคมี ด้านชีวการแพทย์ ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของประเทศ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

ตลอดระยะเวลาการทรงงานกว่า 3 ทศวรรษ ที่ทรงอุทิศพระองค์ทุ่มเทกับการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนางานวิจัย วิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการศึกษาและงานวิจัยด้านต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขให้แก่ประเทศ โดยทรงมุ่งเน้นด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ ด้วยทรงถือเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศชาติ ซึ่งการดำเนินงานวิจัยของสถาบันฯ ตามพระนโยบาย จึงให้ความสำคัญแก่งานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ และการคิดค้นพัฒนาตัวยาใหม่จากสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทย รวมทั้งการศึกษาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งและกลไกการออกฤทธิ์ รวมทั้งการสังเคราะห์สารเคมีที่ได้จากสารสกัดในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติทางยา ซึ่งมีปริมาณน้อยให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาใช้ศึกษาและพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่อไปได้

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานวิจัยหลากหลายด้านที่ผ่านมา ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการนำไปสู่นโยบายของประเทศในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคมะเร็ง” จึงทรงแสวงหาความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ของโลกอยู่เสมอ สำหรับเป็นแนวทางแก่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นในระบบสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

 

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทรงนำนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประสบความสำเร็จในการวิจัย พัฒนา และผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง “ทราสทูซูแมบ” (trastuzumab) ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แบบมุ่งเป้า นับเป็นนวัตกรรมด้านยาชีววัตถุชนิดแรกของประเทศไทย โดยทีมนักวิจัยไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำโดยไม่พึ่งพาการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ปัจจุบันสามารถขยายการผลิตสู่ระดับการนำไปใช้ได้จริง ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงยารักษามะเร็งได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นยาที่ผลิตได้เองภายในประเทศ อันเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางยาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งยาชีววัตถุคล้ายคลึง “trastuzumab” ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ในชื่อพระราชทานว่า “HERDARA”

 

 

ตลอดจนเมื่อครั้งที่ทั่วโลกเกิดภัยคุกคามจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทรงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทรงเพียรพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค จึงทรงริเริ่มการวิจัยเพื่อสังเคราะห์ยาต้านไวรัสโควิด-19 อย่างเร่งด่วน และมีพระวินิจฉัยให้คณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ทำการวิจัยและพัฒนายาที่มีศักยภาพในการรักษาโรคโควิด-19  ด้วยทรงเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการการระบาดของโรค จำเป็นต้องใช้ทั้งการป้องกันด้วยวัคซีน และการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงควบคู่กัน โดยทรงประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์ตัวยา “Molnupiravir” (โมลนูพิลาเวียร์) และยาจากพืชสมุนไพรอย่าง สารสกัดและผงฟ้าทะลายโจร จากการพัฒนายาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งได้พระราชทานเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยานี้ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2564 สำหรับนำไปต่อยอดการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ด้วยพระนโยบายส่งเสริมการใช้สารสกัดธรรมชาติจากพืชและสมุนไพรไทย ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงยาที่มีคุณภาพ และราคาไม่แพง

 

ด้วยเหตุนี้ จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางยาทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพสูง  จึงมีพระปณิธานมุ่งมั่นในการวางรากฐานเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องผลิตบุคลากรด้านงานวิจัยที่มีศักยภาพอย่างเพียงพอ และเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการคิดค้นพัฒนายาประเภทต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมั่นคงทางด้านยาที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน  จึงพระราชทานพระนโยบายให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาชีววัตถุ” (Center for Biologics Research and Development : CBRD) ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนายาอย่างครบวงจร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาในระดับเซลล์ต้นแบบ ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการผลิตในปริมาณต่าง ๆ การควบคุมคุณภาพและกระบวนการผลิตยาที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาและผลิตยาชีววัตถุที่มีคุณภาพ และราคาที่เข้าถึงได้ให้แก่ประชาชนชาวไทย

 

องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มิเพียงพระปรีชาสามารถอันเป็นเลิศในศาสตร์แห่งการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ แต่พระองค์ยังมีพระอัจฉริยภาพอย่างสูงในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งด้านทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และวรรณศิลป์ ด้วยพระทัยรักในงานศิลปะและเสียงดนตรีมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ทรงจัดสรรเวลา ส่วนพระองค์เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะในหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะต่อยอดผลงานสู่การช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ภายใต้โครงการหารายได้สมทบทุนมูลนิธิในพระดำริฯ อยู่เสมอ นอกจากนี้ ทรงมุ่งมั่นศึกษางานศิลปะและฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดทางด้านศิลปะ เมื่อ พ.ศ. 2563 นับเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ของพระราชวงศ์ไทยที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยพระวิริยอุตสาหะอย่างแรงกล้าควบคู่ไปกับการทรงงานและการปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการ

 

อีกทั้ง พระองค์ยังมีพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะการดนตรี ที่ทรงได้รับการปลูกฝังความเป็นคีตศิลปินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงสนพระทัยและทรงเพียรพยายามในการศึกษาเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท แม้แต่เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของราชสำนักจีนโบราณอย่าง “กู่เจิง” ซึ่งการบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดนี้มิใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยพระวิริยอุตสาหะ และทรงใฝ่พระทัยในการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง จนพระองค์สามารถบรรเลงเพลงด้วย “กู่เจิง” ทั้งเพลงไทยและเพลงจีนได้อย่างไพเราะ ภายในระยะเวลาอันไม่นาน โดยทรงเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกของโลกที่สามารถทรง “กู่เจิง” เครื่องดนตรีโบราณในราชสำนักจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปีได้ ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่รัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก จึงได้ถวายสถานะ  “ทูตวัฒนธรรม” แด่องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ขณะเดียวกัน ทรงใช้พลังแห่งศิลปะการดนตรีมาเชื่อมความสัมพันธ์ผ่านมิติทางวัฒนธรรมระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นภายใต้รูปแบบการจัดงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรม “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” โดยทั้ง 2 ประเทศได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพจัดงานอย่างต่อเนื่องถึง 6 ครั้งแล้ว นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2544 เป็นต้นมา เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 มิตรประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน และทุกครั้งที่มีการจัดแสดง “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ในประเทศไทย พระองค์ยังทรงคำนึงถึงการช่วยเหลือประชาชนผู้ทุกข์ยากอยู่เสมอ โดยทรงจัดให้มีการหารายได้สมทบทุนแก่องค์การสาธารณกุศล และมูลนิธิในพระดำริฯ เพื่อดำเนินกิจกรรมการกุศลช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประเทศ ซึ่งพระอัจฉริยภาพในผลงานด้านศิลปะการดนตรีทั้งมวล ล้วนเพื่อสร้างประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ผลงานของพระองค์จึงเป็นที่ยอมรับและได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลด้านศิลปะและวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงและเกียรติยศให้แก่ประเทศเป็นอย่างดียิ่ง อาทิ รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ รางวัลสูงสุดทางวัฒนธรรมของรัฐบาลจีน เมื่อปี พ.ศ. 2545 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน รางวัลเหรียญทองเชิดชูเกียรติผู้สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นและเป็นประโยชน์แก่มวลชน (CISAC Gold Medal Award) โดยสมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักประพันธ์เพลงระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

 

พระเกียรติคุณในฐานะ “เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์” ที่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในหลากหลายด้านทั้งศาสตร์และศิลป์เหล่านี้ในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งมวลมีความผาสุกร่มเย็นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 68 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน สถิตเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าแก่ประชาชนชาว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงเปิดนิทรรศการ “อวกาศ”  โครงการประกวดจิตรกรรม“ทิพย์พิมานสืบสานสิริศิลป์” ครั้งที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงเปิดนิทรรศการ “อวกาศ” โครงการประกวดจิตรกรรม“ทิพย์พิมานสืบสานสิริศิลป์” ครั้งที่ 2
  • สมเด็จพระสังฆราชประทานเงิน 5,000,000 บาท สร้างโรงพยาบาลพระพุทธเจ้า ณ เมืองกุสินารา อินเดีย เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระสังฆราชประทานเงิน 5,000,000 บาท สร้างโรงพยาบาลพระพุทธเจ้า ณ เมืองกุสินารา อินเดีย เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ
  • พระปรีชาสามารถ ‘เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์’ ทรงนำนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตยาชีววัตถุรักษามะเร็ง ตำรับแรกของไทย พระปรีชาสามารถ ‘เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์’ ทรงนำนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตยาชีววัตถุรักษามะเร็ง ตำรับแรกของไทย
  • ๑๐๒ ปี วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชาวไทยรวมใจสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงพระกรณียกิจเพื่อความสุขแก่พสกนิกร ๑๐๒ ปี วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชาวไทยรวมใจสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงพระกรณียกิจเพื่อความสุขแก่พสกนิกร
  • ‘เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์’สู่การวางรากฐาน‘สุขภาพหนึ่งเดียว’เพื่อปวงประชา ‘เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์’สู่การวางรากฐาน‘สุขภาพหนึ่งเดียว’เพื่อปวงประชา
  •  

Breaking News

เปิดใจหลวงพ่อ! หลังรับ'พัดยศ'เดินเท้ากลับวัดจาก'นครปฐม-เพชรบุรี'138กม.

ทุบเปรี้ยง! แฉ 3 ข้อ‘ปชน.-พท.’ประสานเสียง‘วาระซ่อนเร้น’ ชนวนปชช.ฮือไล่‘ฝ่ายค้าน-รัฐบาล’ล่ม

อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'

คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved