วันอังคาร ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
นั่งนาน ขยับน้อย เสี่ยงหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น

นั่งนาน ขยับน้อย เสี่ยงหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น

วันอังคาร ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : กระดูกสันหลังปลิ้น สุขภาพ
  •  

หลายคนอาจคิดว่า "แค่ปวดหลังเล็กน้อย เดี๋ยวก็หาย" แต่รู้หรือไม่ว่า อาการปวดหลังหรือปวดคอเรื้อรัง ที่หลายคนมองข้ามนั้น อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรค "หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น" หากปล่อยไว้นานเกินไป อาการจะรุนแรงขึ้นจนยากจะรักษาให้กลับมาเหมือนเดิม

นายแพทย์กิติเดช บุญชัย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ชำนาญการด้านโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น (Herniated Disc) คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและช่วยให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่น เกิดการฉีกขาดหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ จนไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวดและชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลัง คอ สะโพก หรือขา


นายแพทย์กิติเดช บุญชัย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ชำนาญการด้านโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี 

 

หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ปลิ้นและความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท เช่น ปวดหลังหรือคอเรื้อรัง โดยเฉพาะเวลาขยับตัวหรือยกของหนัก ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท เช่น ปวดร้าวลงขา กรณีปลิ้นบริเวณเอว หรือปวดร้าวลงแขน กรณีปลิ้นบริเวณคอ อาการชาหรืออ่อนแรง บริเวณขา แขน หรือมือ

รู้สึกเสียวหรือปวดแปล๊บเหมือนไฟฟ้าช็อต เมื่อมีการขยับหรืออยู่ในท่าบางอย่าง กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวลำบาก

หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ปวดร้าว ชามากขึ้น หรือ มีปัญหาเรื่องการควบคุมปัสสาวะ-อุจจาระ

สาเหตุของหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น มักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30-50 ปีขึ้นไป, การใช้งานกระดูกสันหลังผิดท่า เช่น การยกของหนัก การนั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้อง, อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, น้ำหนักตัวเกิน (โรคอ้วน) เพิ่มแรงกดที่กระดูกสันหลัง, และขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรงพอในการพยุงกระดูกสันหลัง

การตรวจวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท แพทย์จะวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเช่น การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังที่ต้นเหตุได้

 

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน6 เดือน หรือ มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นมากขึ้นจนรบกวนชีวิต ประจำวัน เช่น ปวดร้าวลงขามาก นอนพักไม่ได้ เดินได้น้อย หรือ มีปัญหาเรื่องการควบคุมปัสสาวะ อุจจาระ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโดยปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ ส่งผลให้ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อยลง ใช้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น

แม้ว่าเราไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นที่เกิดจากความเสื่อมตามวัยได้ แต่เราสามารถชะลอการเกิดและลดความรุนแรงของอาการได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ทั้งการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นั่ง ยืน ก้ม เงยและยกของหนักในท่าที่ถูกต้อง เปลี่ยนอิริยาบถขณะนั่งทำงานบ่อย ๆ  รวมทั้งระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Health News : ผลวิจัยพบการเล่นมือถือบนที่นอนเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ Health News : ผลวิจัยพบการเล่นมือถือบนที่นอนเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ
  • Health News : จีนเริ่มทดลอง ‘วัคซีนป้องกันวัณโรค’ พัฒนาเองตัวใหม่ Health News : จีนเริ่มทดลอง ‘วัคซีนป้องกันวัณโรค’ พัฒนาเองตัวใหม่
  • Health News : อายุเฉลี่ยประชากรจีน แตะ 79 ปี Health News : อายุเฉลี่ยประชากรจีน แตะ 79 ปี
  • Health News : คนไข้ปลูกถ่ายหัวใจจาก ‘ไทเทเนียม’ Health News : คนไข้ปลูกถ่ายหัวใจจาก ‘ไทเทเนียม’
  • Health News : บริษัทจีนพัฒนา ‘ยา’ รักษามะเร็งตัวใหม่ Health News : บริษัทจีนพัฒนา ‘ยา’ รักษามะเร็งตัวใหม่
  • Health News : ‘แผลเป็นในหัวใจ’ แบ่งเป็นแบบเย็น-ร้อน Health News : ‘แผลเป็นในหัวใจ’ แบ่งเป็นแบบเย็น-ร้อน
  •  

Breaking News

กลุ่ม'ฮิปปี้ ขะแมร์' วัยรุ่นแก๊งน้ำไม่อาบทรงผมปิดตา นัดบุกไทยรวมตัวปราสาทตาเมือนธม 27 ก.ค.นี้

สถิติฟ้องชัด! 'ผู้พันเบิร์ด'เปิดปมในใจกัมพูชา แพ้ไทยมาตลอด

‘นิพนธ์’รับมีคุยย้ายข้ามขั้ว ‘อนุทิน’ส่งตัวแทนมอบกระเช้าอวยพรวันเกิด

‘ทักษิณ’แจมดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล ทักสื่อบอก‘มาการเมืองต้องพูดการเมือง’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved