วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘นักล่า-สายลับแห่งพงไพร’…รู้จัก‘เสือดำ’สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ของโลก

‘นักล่า-สายลับแห่งพงไพร’…รู้จัก‘เสือดำ’สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ของโลก

วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 21.13 น.
Tag : จับบิ๊กอิตาเลียนไทย ซากเสือดำ ทนายคู่ใจ ทุ่งใหญ่นเรศวร บิ๊กอิตาเลียน เปรมชัย กรรณสูตร ล่าสัตว์ป่า Like สาระ
  •  

‘นักล่า-สายลับแห่งพงไพร’…รู้จัก‘เสือดำ’สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ของโลก

ข่าวการจับกุมนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กับพวกอีก 3 คน ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร พร้อมของกลางเป็นอาวุธปืน และซากสัตว์จำนวนมาก หนึ่งในนั้น คือ...


“ซากเสือดำ”!!!

ทำให้ชื่อของ “เสือดำ” กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจากเคยปรากฎเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วสังคมไทยเมื่อปี 2521 หลังถูกพบในย่านมักกะสัน กทม. จนชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว ได้ชื่อว่า “เสือดำมักกะสัน” จนถูกจับไปปล่อยในเขตป่าห้วยขาแข้ง

ผ่านมา 39 ปี ชื่อของ “เสือดำ” กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อเดือน มี.ค. 2560 หลังมีรายงานการพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก โดยเจ้าหน้าที่สามารถบันทึกภาพวิดีโอจากกล้องดักถ่ายภาพบริเวณถนนเส้นคลองลาน-อุ้มผาง หรือถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1117 เผยแพร่โดยช่อง @Thai PBS News แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของสัตว์ป่าที่กระจายตัวในแถบนี้ได้อย่างชัดเจน ล่าสุด “เสือดำ” ปรากฏต่อสาธารณชนอีกครั้ง

ทว่า...ครั้งนี้มันปรากฏเป็นเพียง “เศษซาก”!!!

ถูก “ล่า” และชำแหละปราศจากลมหายใจ  

สำหรับ “เสือดำ” มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิด การเกิดเป็นเสือดำนั้นเกิดจากความผิดปกติในเม็ดสี ที่เรียกว่าเมลานิซึม ส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่สังเกตเห็นได้ยาก เมื่อออกแดดจึงจะสามารถเห็นได้ชัดเจน โดย “เสือดำ” ที่ปรากฏเป็นข่าวล่าสุด เป็นครอบครัวเดียวกับ “เสือดาว”(Leopard)

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Panthera pardus ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่ รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris)

นอกจากสีที่โดดเด่นแล้ว “เสือดำ” ยังมีความดุร้ายมากกว่าเสือดาว เป็นสัตว์ที่ว่องไวและแข็งแรง นับเป็นอีกหนึ่ง “นักล่าแห่งพงไพร” ที่น่าเกรงขาม

ขณะเดียวกันด้วยพฤติกรรม ที่มีความปราดเปรียว “เสือดำ” ยังถูกยกให้เป็น “สายลับแห่งพงไพร” ไปพร้อมกันด้วย

อย่างไรก็ดี “เสือดำ” ถูกบรรจุเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยในปัจจุบัน จากการนิยมล่าสัตว์ทั้งยังมีการบุกรุกป่า ถูกขึ้นบัญชีแดงของ IUCN จัดให้เสือดาวและเสือดำ อยู่ในสถานะสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงขั้น “อันตรายต่อการสูญพันธุ์” (Vulnerable)

วันนี้ “แนวหน้าออนไลน์” จึงจะพามารู้จัก “นักล่า-สายลับแห่งพงไพร” ชนิดนี้ ผ่านข้อมูลของสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ได้โพสต์อินโฟกราฟฟิก ข้อมูลเกี่ยวกับเสือดำผ่านเพจ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Bureau, Thailand ดังนี้

+ ชื่อวิทยาศาสตร์ Leopard Pantherapardus เสือดาวกัเสือดำคือชนิดเดียวกัน

+ เสือดาวบางตัวเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้มีขนเป็นสีดำและมีลายดอกจาง ๆ จึงเรียกว่า “เสือดำ”

+ สถานภาพ

สถานภาพตามกฎหมาย : สัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

CITES: Appendix I

สถานภาพการอนุรักษ์ : IUCN Red List 2011: Near Threatened

Thailand Red Data 2005: Vulnerable

+ เสือดาว/เสือดำ ในเขตร้อนผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี หลังจากผสมพันธุ์กันแล้วตัวผู้และตัวเมียอาจยังอยู่ด้วยกันอีกระยะหนึ่งก่อนจะจากกันไป ตัวเมียตั้งท้องนาน 90-105 วัน ออกลูกคราวละ 1-4 ตัว แม่เสือดาวจะเลือกถ้ำ ซอกหิน หรือโพรงไม้เป็นรัง ลูกเสือดาวแรกเกิดหนัก 400-700 กรัม เริ่มเดินเมื่ออายุครบ 2 สัปดาห์ หย่านมเมื่ออายุ 4 เดือน และเมื่อมีอายุ 12-18 เดือน จะเริ่มออกหากินเอง อาจอยู่ร่วมกับพี่น้องครอกเดียวกันเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะแยกย้ายไปหากินตามลำพัง

+ อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนอากาศร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่ง

+ การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

พบกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 10 กลุ่มป่า ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แบ่งเป็นพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 13 แห่ง และอุทยานแห่งชาติ 16 แห่ง โดยพื้นที่ที่พบการกระจายขนาดใหญ่อยู่ในกลุ่มป่าตะวันตกและกลุ่มป่าแก่งกระจาน นอกนั้นพบกระจายตามพื้นที่อนุรักษ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในป่าขนาดเล็กและพื้นที่ป่าไม่ได้มีความต่อเนื่องกัน

ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Bureau, Thailand

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ดร.ดิเรกฤทธิ์’กระตุกฝ่ายค้านรักษามาตรฐานตรวจสอบรัฐบาล หยุดเล่นเกม

'ช่อ'ไม่เห็นด้วยศาลสั่ง'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่ แนะนายกฯ ยุบสภา-ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

(คลิป) 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved