วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
นมัสการ‘พระธาตุท่าอุเทน’ ขอพร‘หลวงปู่สีทัตถ์’โสดาบันผู้สร้าง3พระธาตุ

นมัสการ‘พระธาตุท่าอุเทน’ ขอพร‘หลวงปู่สีทัตถ์’โสดาบันผู้สร้าง3พระธาตุ

วันเสาร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 15.35 น.
Tag : Like สาระ นครพนม พระธาตุท่าอุเทน หลวงปู่สีทัตถ์ โสดาบัน
  •  

นมัสการ‘พระธาตุท่าอุเทน’ ขอพร‘หลวงปู่สีทัตถ์’โสดาบันผู้สร้าง 3 พระธาตุ

“พระธาตุท่าอุเทน”


เป็นพระพุทธสารีริกธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำโขง ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ 5 ถนนศรีเมือง เขตเทศบาลตำบลท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นพระธาตุประจำวันศุกร์  ก่อด้วยอิฐถือปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ฐานกว้างและยาวด้านละ 6 วา 3 ศอก สูง 33 วา(ประมาณ 66 เมตร)  เป็นศิลปกรรมและปูชนียวัตถุองค์หนึ่งที่จำลองแบบมาจากองค์พระธาตุพนมในยุดต้น แต่มีสัดส่วนเล็กกว่า ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่ง “พระอาจารย์สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ”  อัญเชิญมาจากย่างกุ้ง ประเทศพม่า(เมียนมา) สมัยท่านถือธุดงค์กรรมฐานจาริกไปในสถานที่ต่างๆ

พระธาตุท่าอุเทนก่อสร้างเมื่อพ.ศ.2453 (ต้นรัชกาลที่ 6) พระอาจารย์สีทัตถ์เป็นหัวหน้าชักชวนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประกอบด้วย ชาวจังหวัดหนองคาย สกลนคร นครพนม และพี่น้องจากประเทศลาว(สปป.ลาว) ร่วมกันสร้างพระบรมธาตุ เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา ลงมือเบิกฤกษ์วันพุธ เดือน 3 แรม 9 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2454 ด้วยการขุดและก่ออูบมุง(อุโมงค์) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมกับนำแก้ว แหวน เงิน ทอง ของมีค่า ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาครวมอยู่ด้วย เสร็จสมบูรณ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม 2458 ต่อจากนั้นได้ก่ออิฐถือปูน และก่อกำแพงแก้วล้อมรอบองค์พระธาตุ 3 ชั้น ใช้เวลาอีก 1 ปี รวมทั้งสิ้น 6 ปี จึงเสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ ในปีมะโรง(2459)

มีการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า "หลวงปู่สีทัตถ์" สร้างพระธาตุท่าอุเทน โดยขุดหลุมแล้วใส่ “หินแก้วนางเรียง” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “หินแก้วนางฝาน” เสมือนเสาเข็มเป็นฐานรองรับองค์พระธาตุเท่านั้น ปัจจุบันแม้พระธาตุท่าอุเทนจะผ่านร้อนผ่านหนาว มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ฐานยังไม่ทรุดแต่ประการใด

จึงนับเป็น “สิ่งมหัศจรรย์” มิใช่น้อย เพราะการนำเอาหินแก้วนางฝานหรือหินแก้วนางเรียง อันเป็นธาตุกายสิทธิ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อแรกเห็นตัวหินจะอ่อนนุ่มจนสามารถตัดให้ขาด จึงเรียกกันว่า “แก้วนางฝาน” เล่ากันว่าอานุภาพของแก้วนางฝานมีอำนาจทางชุ่มเย็นและเป็นสิริมงคลล้างอาถรรพณ์ทั้งหลายทั้งปวงได้

“แก้วนางฝาน” หรือ “แก้วนางเรียง” ก็คือ “หินเขี้ยวหนุมาน” ชนิดหนึ่ง คนโบราณเล่าว่ามีอำนาจทางคงกระพัน ป้องกันอัคคีภัย ในสมัยก่อนการหาแก้วนางฝานหรือแก้วนางเรียงนั้นยาก เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ การพบแล้วนำแก้วนางฝานมารองรับองค์พระธาตุได้นี้ นับว่าเป็นบุญบารมีอภินิหารอันแก่กล้าของหลวงปู่สีทัตถ์

ส่วนงานสมโภชนมัสการพระธาตุท่าอุเทน จะมีขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ (หลังงานนมัสการพระธาตุพนม) ชาวอำเภอท่าอุเทนถือว่างานนมัสการองค์พระธาตุฯสำคัญมาก ส่วนมหรสพนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เล่าลือกันว่าถ้าผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนใจ และมีเหตุการณ์คับขัน อธิษฐานขอให้องค์พระธาตุท่าอุเทนช่วย มักจะประสบผลสำเร็จทุกครั้ง

งานนมัสการพระธาตุท่าอุเทนปีนี้(2561) ตรงกับวันที่ 24 ก.พ.-2 มี.ค. รวม 7 วัน 7 คืน เอกลักษณ์ที่โดดเด่นในงานที่ไม่เหมือนที่ใด คือชาวบ้านทุกตำบลในเขตอำเภอท่าอุเทน จะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างตูบ(กระต๊อบ,กระท่อม) จำลองวิถีชีวิตคนพื้นเมืองโบราณ มีการหุงหาอาหารเหมือนจริง พร้อมการแสดงวัฒนธรรมชนเผ่าไทญ้อ(ย้อ) ซึ่งอำเภอท่าอุเทนเป็นแหล่งกำเนิดชาวไทญ้อ(ย้อ)กลุ่มใหญ่ในไทย ที่อพยพมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรี สปป.ลาว หรือสมัยหนึ่งเป็นอดีตจังหวัดล้านช้างของไทย ประวัติเล่าว่ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองไชยบุรี(ใช้ชื่อแขวงเดิมมาตั้งเป็นชื่อเมือง) บริเวณปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ปัจจุบันคือ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ กลุ่มไทยญ้อ(ย้อ)เมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปตั้งเมืองอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ณ เมืองปุงลิง แขวงคำม่วน ประเทศลาว  กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2373 ย้อนกลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกครั้ง ตั้งเป็นเมืองท่าอุเทน คือ บริเวณ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ในปัจจุบัน ซึ่งชาวไทย้อชอบตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำ

ดังนั้นชื่อเมืองชาวไทย้อมักมีคำว่า “ท่า” ขึ้นก่อน เช่น เมืองท่าขอนยาง เมืองท่าอุเทน เป็นต้น ส่วนลักษณะบ้านเรือนของชาว ไทย้อ คล้ายกับบ้านเรือนของชาวไทยลาวทั่วไป คือตัวเรือนเป็นใต้ถุนสูง มีชายคาที่เรียกว่า “เซีย” มีชานติดกับครัว มีเล้าข้าวอยู่ทางด้านหลังบ้าน

สำหรับประวัติพระอาจารย์สีทัตถ์ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน  เกิดเมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา พ.ศ.2404(สมัยรัชกาลที่ 4) เป็นชาวท่าอุเทนโดยกำเนิด สกุลเดิม “สุวรรณมาโจ” อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เดินทางไปอุปสมบทที่วัดพระอินทร์แปลง เมืองศรีโคตรบอง สปป.ลาว มี หลวงพ่อสมเด็จลุน หรือ “สำเร็จลุน” เป็นพระอุปฌาย์ ละสังขารในวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง พ.ศ.2484 รวมสิริอายุ 80 ปี 54 พรรษา

พระอาจารย์สีทัตถ์เป็นพระที่มีบุญญาบารมีสูงยิ่ง สามารถก่อสร้างพระธาตุต่างๆสำเร็จมาแล้วถึง 3 แห่ง คือ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุพระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และมณฑปโพนสัน วัดพระบาทโพนสัน เมืองพระบาท แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

มีลูกศิษย์ซึ่งภายหลังโด่งดังเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศคือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย(พระเทพสิทธาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเทพฯ เขตเทศบาลเมืองนครพนม  หลวงปู่สนธ์ สุรชโย(พระครูสันธานพนมเขต) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน  หลวงปู่สนธ์ เขมิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญญานาโพธิ์ ต.โพนสว่าง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม  และหลวงปู่สุภา กันตสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดสีลสุภาราม จ.ภูเก็ต

ไหว้พระธาตุกราบขอพรหลวงปู่สีทัตถ์ ชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุขตลอดทั้งปี

พงศ์สุคนธ์ คุณธรรมมงคล/นครพนม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดวัฒนธรรมการดื่มชาชาวเวียดนามคนรินต้องดื่มก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เพื่อนร่วมวง เปิดวัฒนธรรมการดื่มชาชาวเวียดนามคนรินต้องดื่มก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เพื่อนร่วมวง
  •  

Breaking News

กรมประมง-เร่งเสริมศักยภาพ ‘การเพาะเลี้ยงม้าน้ำ’ สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง

สลด!ลุงตั้งใจกลับบ้านมาเลือกตั้ง ขับซาเล้งตกคันนาทับคอดับกลางทุ่ง

พยาบาลคนดังมาตอบแล้ว! ดราม่า'ณเดชน์'หอบหืด แต่วิ่งจนซิกแพคขึ้น

'น้าแพน'เชื่อมีคนยุยงเบื้องหลังพ่อ-น้องชายปมมรดก 4.8 ล้าน 'ทนายไพศาล'ลุยช่วยคดี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved