วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ

ปลดล็อคความเร็ว 120 แก้ปัญหาลดติด!!ชาวบ้านหวั่น..'อุบัติเหตุ'

วันพฤหัสบดี ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 21.43 น.
Tag : ชาวบ้านหวั่น ปลดล็อคความเร็ว รถติด อุบัติเหตุ
  •  

1 สิงหาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่เรื่องการการปลดลิมิตความเร็วจาก 80 กม.ต่อชั่วโมง เป็น 120 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหารถติด โดยคนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่าไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุซ้ำยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้น

น.ส.ศรัณยา ทองสิงห์ อายุ 30 ปี พนักงานบริษัทเอกชน บอกกับทีมข่าวเฉพาะกิจแนวหน้าออนไลน์ว่า ปัญหารถติดในกรุงเทพนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากปริมาณรถที่มากเกินกว่าถนนที่รองรับ เห็นได้จากบางครอบครัวมีกัน 4 คน ทุกคนมีรถยนต์ส่วนตัวกันหมด เพราะปัจจุบันการจะออกรถแต่ละคันนั้นช่างง่ายดาย ไม่ต้องมีเงินดาวน์ก็สามารถออกได้แล้ว เมื่อเทียบกับถนนในประเทศไทยที่ปรับปรุงแก้ไขไม่จบสิ้น ไหนจะเพิ่มเส้นทางอีกก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้ใช้รถใช้ถนน


“เราควรจะออกกฎหมายที่มันเข้มงวดและเพิ่มบทลงโทษให้หนักกว่านี้ และควรมีมาตรการจำกัดการใช้รถในแต่ละครัวเรือนโดยเอาองค์ประกอบต่างๆมาเป็นตัววัด เช่น รายได้ จำนวนคน เป็นต้น เพราะทุกวันนี้รถมันเยอะเกินทำให้พื้นที่ถนนไม่เพียงพอต่อการใช้ของคน และถนนในประเทศไทยไม่ได้อำนวยความสะดวกมากพอ คือไฟแดงมีทุกแยกทำให้มีรถติดสะสมเสียมากกว่า ฉะนั้นต่อให้มีมาตรการว่าห้ามขับต่ำกว่า 80 กม.ต่อชั่วโมง ถ้ารถมันติดอยู่อย่างนี้ยังไงก็ไปไม่ได้อยู่ดีนี่คือปัญหาจริงๆ ไม่ได้เกี่ยวว่าคนขับรถช้าหรือเร็ว

ส่วนเรื่องขับ 120 ที่ต่างจังหวัดนี่ก็อีกเรื่องนึง คือถนนเขาโล่งไม่เหมือนกับกรุงเทพสามารถเหยียบกันได้เต็มที่ แต่ก็ต้องดูเรื่องความเหมาะสมด้วยว่านั่นเขตชุมชนหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นบนทางด่วน,มอเตอร์เวย์ก็อีกเรื่องหนึ่งเพราะส่วนใหญ่ก็ขับกันเกิน 120 กันอยู่แล้ว ขณะที่เรื่องการใช้ความเร็วบนท้องถนนของเมืองนอกเขาก็ไม่ได้ขับรถเร็วแต่รถก็ไม่เห็นจะติด นั่นเพราะการวางผังเมืองในการสร้างถนนเค้ามีคุณภาพนี่ก็มีส่วนช่วยทำให้รถไม่ติดด้วยเช่นเดียวกัน” คุณศรัณยา ระบุ

น.ส.ศรัณยา กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องของรถสาธารณะก็เช่นเดียวกัน ถ้ารัฐบาลปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งด้านการบริการ และด้านวินัยของคนขับก็จะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถเมล์มากขึ้นก็จะช่วยแก้รถไม่ติดได้อีกทาง ขณะที่เรื่องของอุบัติเหตุ คุณศรัณยา บอกว่าถ้าปลดล็อคความเร็วเป็น 120 กม.จริงๆ แน่นอนว่าต้องมีปัญหาด้านอุบัติเหตุตามมา เพราะขนาดขับแค่ 80 กม.ยังมีคนตายเกลื่อนท้องถนน ฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่องขับ 120 กม. เลย เพราะต่อให้เราระวังแค่ไหนถ้าคนอื่นประมาทเราก็เกิดอุบัติเหตุอยู่ดี

เช่นเดียวกับ คุณภาวรรณ เพียรเวช อายุ 31 ปี พนักงานบริษัทเอกชน บอกว่า การปลดล็อคความเร็วเป็น 120 กม.นั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหารถติด ที่รถติดทุกวันนี้เพราะทุกบ้านมีรถกันแทบจะคนละคัน และทุกคนขับรถออกมาในช่วงเวลาเดียวกันคือ จันทร์-เสาร์ เวลา 6 โมง ก็ขับออกมาทุกบ้านสุดท้ายมาเจอกันบนถนนก็ติดกันอยู่ดีเพราะปริมาณรถมันเยอะเกินไป ดังนั้นถ้าจะปรับความเร็วจาก 80 มาเป็น 120 ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังเพิ่มอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยถ้าทุกคนพร้อมใจกันขับ 120 กันหมดเกิดเบรกกะทันหันก็ไม่สามารถบังคับรถได้เลย

“ยิ่งขับเร็วมากเท่าไร...ก็ยิ่งเกิดการสูญเสียมากขึ้นเท่านั้น”

“อุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความไม่ประมาทของคนขับขี่และสติในการขับรถ ส่วนตัวเป็นคนขับรถช้ามากไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง ขับให้ใจเย็นที่สุดอยู่เลนกลางถ้าไม่รีบเราก็ขับเรื่อยๆไม่แซงออกขวา เพราะเลนขวาสำหรับรถที่มาเร็วมากๆ และการที่จะปลดล็อคจาก 80 เป็น 120 นั้น ควรจำกัดช่วงเวลาและสถานที่ให้แน่นอนไม่ใช่ว่าจะขับถนนที่ไหนก็ได้ อย่างกำหนดมาเลยว่ามอเตอร์เวย์,โทลล์เวย์ หรือจะทางด่วนลิมิตคือ 120 ก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต่อให้ไม่กำหนดถนนดังกล่าวก็ขับกันเร็วอยู่แล้ว เช่นเดียวกับถนนต่างจังหวัดที่ถนนแสนโล่งก็สามารถขับ 120 ได้ไม่มีปัญหาแต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องคำนึงถึงอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย” คุณภาวรรณ กล่าว

ด้าน น.ส.อธิกา (ไม่เผยนามสกุล) อายุ 29 ปี นักศึกษาปริญญาโท กล่าวว่า นี่ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหารถติด เพราะรถติดไม่ได้เกิดจากการขับเร็วหรือขับช้า แต่เกิดจากสิ่งปลูกสร้างต่างๆแทบจะทุกบริเวณพื้นที่ของกรุงเทพและเกิดจากรถโดยสารที่ขับทับเลน

“รถโดยสารประจำทางที่ควรวิ่งเลนซ้ายเพื่อจอดรับผู้โดยสารในแต่ละป้าย แต่เท่าที่เห็นรถโดยสารมักวิ่งเลนกลางไม่ก็เลนขวาสุด พอถึงป้ายก็ปาดเข้ากะทันหันนี่ก็ก่อให้เกิดปัญหารถติดได้ ซึ่งเรื่องของการปรับใช้ความเร็วนั้นจะไม่ได้แก้ปัญหารถติดแล้วหนำซ้ำยังเกิดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดรถติดตามมาอีกด้วย และถ้ามอเตอร์ไซต์ที่ขับมาด้วยความเร็ว 120 ปะทะกับรถยนต์ที่ขับมา 120 เช่นเดียวกันไม่ต้องเดาเลยว่าเหตุการณ์นี้จะมีคนตายหรือเปล่า ดังนั้นการแก้ปัญหาจริงๆไม่ควรแก้ที่ความเร็วหรือการขับขี่ของคน แต่ควรจัดระเบียบเลนรถให้ชัดเจนเลยว่ารถอะไรควรวิ่งเลนไหน และออกกฎหมายอย่างจริงจังเด็ดขาด “จับ-ปรับ-ติดคุก” จริงเหมือนกับต่างประเทศ” คุณอธิกา ระบุ

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  เผยว่า ในส่วนของการเพิ่มลิมิตความเร็วที่เป็นข่าวออกมาว่ากระทรวงคมนาคมจะมีการเพิ่มลิมิตความเร็วจาก 90 กม.ต่อชั่วโมงเป็น 120 กม.ต่อชั่วโมง ในมุมนี้น่าสนใจตรงที่ว่า...ปัจจุบันรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนทางหลวงก็วิ่งเกินกว่า 90 กม.ต่อชั่วโมงอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่น่าสนใจคือ

1.การเพิ่มลิมิตความเร็วทางภาครัฐมองเห็นอะไรทำไมถึงต้องมีการเพิ่มลิมิตความเร็วของรถยนต์บนทางหลวง ต่อมาคือในส่วนของการที่ภาครัฐเริ่มมองว่าเรื่องของลิมิตความเร็วจะมีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องของอุบัติเหตุที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

2.ภาครัฐต้องมองว่าการที่จะเพิ่มลิมิตความเร็วจะเพิ่มในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถยนต์สี่ล้อหรือเปล่า และในส่วนของรถมอเตอร์ไซต์จะมีการเพิ่มลิมิตความเร็วด้วยไหม ในปัจจุบันปัญหาของอุบัติเหตุเกิดจากรถประเภทไหน

ซึ่งการแก้ปัญหาให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลงจะต้องเข้าไปดูในส่วนของการแก้ไขปัญหานี้ด้วย

ต่อมากระทรวงคมนาคมต้องมองในส่วนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของการบำรุงรักษาถนน ซึ่งตรงนี้เป็นจุดสำคัญมากว่าปัจจุบันถนนประเทศไทยเหมาะสมที่จะขับขี่ด้วยความเร็วระดับใด ปัญหาในการเกิดอุบัติเหตุปัจจุบันนั้นเกิดจากรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตรงนี้คือสิ่งที่ภาครัฐกำหนดลิมิตในส่วนของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์

“ขณะที่ในส่วนของถนน 4 เลนมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องของลิมิตความเร็วเป็น 120 กม.ต่อชั่วโมง ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะผู้ใช้รถใช้ถนนนั้นขับขี่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว และการที่จะเพิ่มความเร็วเป็น 120  กม.นั้นเหมาะสมหรือไม่นั้น จริงๆแล้วจะขึ้นเป็น 110 กม.ต่อชั่วโมงก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะวางถนนแต่ละเส้นให้เป็นจุดที่มีความเร็วได้มากกว่า ควรศึกษาให้ถนนเส้นต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตามเส้นทางของถนน อย่างหลากหลายพื้นที่ในถนนของต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าแต่ละจุดจะใช้ความเร็วไม่เท่ากัน ตรงนี้คือสิ่งที่ประเทศไทยเราควรมองและศึกษาพื้นที่ว่าตรงไหนควรใช้ความเร็วเท่าไร ก็อยากให้มีการศึกษาให้รอบคอบก่อนที่มีการประกาศใช้” นักวิชาการ รายนี้ระบุ

ขณะที่ นายศุภโชค การผล อายุ 52 ปี คนขับรถบรรทุก ได้พูดถึงเรื่องการจำกัดความเร็วและเรื่องกำหนดเวลาวิ่งของรถบรรทุก 00.00-04.00 น. แทนจากเดิมตามกฎหมายที่เคยอนุญาตให้สามารถวิ่งรถบนถนนหลวงได้ในช่วง 10.00-15.00 น. ว่า การขับรถตอนกลางคืนต่างจากกลางวันทั้งเรื่องทัศนวิสัยในการมอง และการเหนื่อยล้าจากสายตา-ร่างกาย ซึ่งใช้พลังในการขับขี่มากกว่า จะแก้รถติดได้จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ได้อยากให้รัฐศึกษาเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ เพราะมันกระทบหลายอย่าง

“แค่ทุกวันนี้ขับรถขึ้นเหนือล่องใต้ทุกวัน ไม่ได้เจอหน้าครอบครัวเป็นอาทิตย์ก็มี คือขับไปตามออเดอร์งานเรื่อยๆค่ำไหนนอนนั่น ใช้เวลาผ่านกรุงเทพไปอีกจังหวัดหนึ่งไม่ถึง 2 ชั่วโมง ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนบนถนนเหมือนกับพวกเด็กแว๊นหรือพวกรถเมล์ที่ขับปาดเข้าป้าย เรื่องนี้ทำไมถึงไม่มองแต่กลับมามองเรื่องรถบรรทุกวิ่งในเมือง  ควรไปอบรมวินัยคนขับรถสาธารณะและพัฒนาด้านขนส่งให้ดีกว่านี้มากกว่า ทั้งถนนหนนทาง ค่าทางด่วน และกำหนดควบคุมการใช้รถดีกว่า” คนขับรถบรรทุก ระบุ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘ถนนปลอดภัย’สำเร็จได้ด้วยสำนึก ร่วมสร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบ แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘ถนนปลอดภัย’สำเร็จได้ด้วยสำนึก ร่วมสร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบ
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • ‘เขาโทน’โซนอันตราย! ไขข้อข้องใจ..ทำไมจุดนี้เสี่ยงสูง-เกิดอุบัติเหตุบ่อย? ‘เขาโทน’โซนอันตราย! ไขข้อข้องใจ..ทำไมจุดนี้เสี่ยงสูง-เกิดอุบัติเหตุบ่อย?
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ภาคบังคับ’แต่มีประโยชน์ ‘พ.ร.บ.’สิทธิ์ใช้ยามอุบัติเหตุ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ภาคบังคับ’แต่มีประโยชน์ ‘พ.ร.บ.’สิทธิ์ใช้ยามอุบัติเหตุ
  • ชาวเน็ตร่วมส่งแรงใจทีมสุนัขกู้ภัย\'โคล่า-การ์มิน\'ภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตึกถล่ม ชาวเน็ตร่วมส่งแรงใจทีมสุนัขกู้ภัย'โคล่า-การ์มิน'ภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตึกถล่ม
  • พิษแผ่นดินไหว!! \'น้ำพุร้อน\'หยุดพุ่งจากใต้ดิน \'บ่อน้ำแร่ปาย\'ต้นน้ำสีขุ่นมัว ต้องสั่งปิดชั่วคราว พิษแผ่นดินไหว!! 'น้ำพุร้อน'หยุดพุ่งจากใต้ดิน 'บ่อน้ำแร่ปาย'ต้นน้ำสีขุ่นมัว ต้องสั่งปิดชั่วคราว
  •  

Breaking News

ด่วน! ไฟไหม้โรงงานในเมืองสมุทรสาคร จนท.ระดมรถดับเพลิงฉีดสกัดวุ่น

อัศวินนักฝัน!‘สมชัย’ชำแหละ 7 เงื่อนไข‘ปชน.’ ดูดี แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved