วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ไฟเขียว'หาบเร่แผงลอย'ถูกกฎหมาย ดราม่าร้อนๆในเมืองหลวงแดนอิเหนา

ไฟเขียว'หาบเร่แผงลอย'ถูกกฎหมาย ดราม่าร้อนๆในเมืองหลวงแดนอิเหนา

วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562, 20.13 น.
Tag : ดราม่า แดนอิเหนา ถูกกฎหมาย หาบเร่แผงลอย
  •  

“หาบเร่แผงลอย” ประเด็นที่เอ่ยทีไรก็เป็น “ดราม่า” หรือข้อขัดแย้งในสังคมเสมอ อย่างล่าสุดในประเทศไทย กรณี กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักเทศกิจ ออกมาเปิดเผยเมื่อ 10 ก.ย. 2562 ว่า กทม. จะยกเลิกจุดผ่อนผันให้ค้าขายได้ที่เหลืออีก 175 จุด ให้หมดภายในสิ้นปี 2562 จากที่ยกเลิกไปแล้ว 508 จุด หรือหมายถึง “ปีใหม่ 2563 กรุงเทพฯ จะปลอดหาบเร่แผงลอยอย่างสิ้นเชิง” เรื่องนี้ก็มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนโดยยกเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย และฝ่ายคัดค้านที่ยกเรื่องการทำมาหากินรวมถึงความสะดวกและประหยัดของผู้บริโภคที่เป็นคนระดับล่างในเมือง

แน่นอนวิวาทะเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย ล่าสุดที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อผู้ว่าการเมืองหลวงแดนอิเหนา อานิส บาสเวดัน (Anies Baswedan) ประกาศนโยบาย “ส่งเสริมให้ผู้ค้าขายแบบหาบเร่แผงลอย สามารถใช้พื้นที่ทางเท้าในกรุงจาการ์ตาค้าขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย” ก็นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้ง 2 ด้าน ไม่ต่างจากที่เกิดขึ้นในเพื่อนบ้านร่วมประชาคมอาเซียนอย่างประเทศไทย


สำนักข่าว Channel News Asia (CNA) ของสิงคโปร์ เสนอรายงานพิเศษ “Peddlers versus pedestrians? Jakarta governor's plan to legalise street vendors divides the city” เมื่อ 13 ก.ย. 2562 ระบุว่า “สำหรับอินโดนีเซียในปัจจุบัน หาบเร่แผงลอยยังเป็นอาชีพผิดกฎหมาย” ผู้ค้าต้องระมัดระวัง โดยมีเครือข่ายคอยแจ้งข่าวว่าเจ้าหน้าที่จะลงตรวจพื้นที่เมื่อใด โดยกรุงจาการ์ตาที่มีประชากรราว 9.6 ล้านคน มีเจ้าหน้าที่เทศกิจประจำการ 1,600 คน นิเวล เรย์ดา (Nivell Rayda) ผู้เสนอข่าวนี้ เล่าว่า บางวันจะไม่มีผู้ค้าปรากฏตัวให้เห็น แม้วันอื่นๆ จะมีเป็นจำนวนมากก็ตาม

หาบเร่แผงลอยที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย (ที่มา : Nivell Rayda , CNA)

กระทั่งการมาของ อานิส เขาได้ประกาศว่าจะหาช่องทางตามกฎหมายเพื่อรับรองการค้าขายบนทางเท้า โดยแม้ด้านหนึ่งจะมีกฎหมายห้ามพฤติกรรมใดๆ ที่กีดขวางทางเท้าและถนน แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีกฎหมายอื่น อาทิ กฎหมายว่าด้วยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมกับย้ำว่า “ทางเท้าใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเพียงการเอาไว้เดิน เราจะไม่บอกว่าทางเท้าต้องปลอดหาบเร่แผงลอยเพียงเพราะมันเป็นทางเท้าเท่านั้น” แต่แน่นอนว่าต้องอยู่ภายใต้การอนุญาตตามกฎหมายของกระทรวงกิจการสาธารณะ (Ministry of Public Works)

พ่อเมืองคนปัจจุบันของกรุงจาการ์ตา กล่าวต่อไปว่า “เมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ต่างก็ยอมรับการขายของบนทางเท้าเป็นอาชีพถูกกฎหมาย ภายใต้การออกระเบียบมาควบคุม” และในส่วนเมืองหลวงของอินโดนีเซียก็กำลังร่างกฎระเบียบนั้นอยู่เช่นกัน อาทิ กำหนดพื้นที่โดยหากทางเท้าจุดใดแคบมากๆ ก็จะไม่อนุญาตให้ขาย รวมถึงกำหนดขนาดของแผงหรือร้านที่ผู้ค้าสามารถตั้งได้ด้วย ไม่ใช่ว่าจะปล่อยเสรีให้ขายตรงไหนอย่างไรก็ได้ทั้งหมด

แต่แน่นอนว่าแนวคิดของ อานิส จุดกระแสให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสังคมอินโดนีเซีย ฝ่ายที่สนับสนุนหาบเร่แผงลอยมองว่านี่คือสวรรค์ แต่ฝ่ายคัดค้านบอกว่านั่นมันฝันร้ายชัดๆ รายงานของ CNA ยกตัวอย่างผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งที่สนับสนุนหาบเร่แผงลอย ให้เหตุผลว่า “หาบเร่แผงลอยถือเป็นทางเลือกที่ไม่แพงในการหาอาหารรับประทานของคนในเมือง” ผู้ค้าและผู้ใช้ทางเท้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ดังที่เห็นในประเทศอื่นๆ จึงสนับสนุนการจัดระเบียบมากกว่าการห้ามอย่างเด็ดขาด

ขณะเดียวกันก็ยกตัวอย่างผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกรายที่มองว่า “หากทางการอินโดนีเซียอนุญาตให้ใช้ทางเท้าเป็นพื้นที่ขายสินค้า ย่อมกระทบต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของคนเดินเท้า” พร้อมกับย้ำว่ารัฐบาลได้เงินภาษีเพื่อสร้างถนนและทางเท้า จึงมีหน้าที่ต้องดูแลด้วย โดยข้อมูลจากกระทรวงกิจการสาธารณะของอินโดนีเซีย ระบุว่า ในกรุงจาการ์ตามีพื้นที่ทางเท้า 500 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ถนนมีถึง 7,000 กิโลเมตร ซึ่งเดิมทีก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้วว่าก่อสร้างและบำรุงรักษาได้ไม่ดีนัก ดังนั้นเมื่อเพิ่มหาบเร่แผงลอยลงไปอีกย่อมสร้างความลำบากให้ผู้ใช้ทางเท้า

“Tanah Abang” หนึ่งในย่านที่หาบเร่แผงลอยหนาแน่นของกรุงจาการ์ตา  (ที่มา : Nivell Rayda , CNA)

อัลเฟรด ซิทอรัส (Alfred Sitorus) ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้ทางเท้าในอินโดนีเซีย (Indonesian Pedestrian Coalition) แสดงความกังวลว่า “ขนาดปัจจุบันผิดกฎหมายยังมีผู้ค้าจำนวนมาก ถ้าทำให้ถูกกฎหมายจำนวนผู้ค้าจะยิ่งเพิ่มทวีคูณราวกับกระแสน้ำที่ทะลักจากเขื่อนแตกหรือไม่” ทั้งนี้รายงานข่าวยังพาไปเยี่ยมชมย่าน Tanah Abang ที่ที่ผู้ค้าแผงลอยจะจับจองพื้นที่สองฝั่งของทางเท้า สำหรับขายสินค้าที่ส่วนใหญ่คือเสื้อผ้าและรองเท้าราคาถูก จนแทบไม่เหลือที่ให้เดิน หลายครั้งการสัญจรต้องหยุดนิ่งเมื่อผู้คนหยุดดูสินค้า

อัลเฟรด ซึ่งทำงานเคลื่อนไหวด้านสิทธิของคนเดินเท้า เสนอแนะว่า ผู้ว่าฯ กรุงจาการ์ตาควรเลือกใช้วิธีการอื่นๆ แทนการเรียกร้องให้ผู้ใช้ทางเท้าต้องเสียสละ เช่น จัดสรรพื้นที่ที่ริมถนนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาทำเป็นตลาด หรือแสวงหาความร่วมมือกับเจ้าของอาคารต่างๆ แม้กระทั่งกับเจ้าของห้างสรรพสินค้า เพื่ออุทิศสถานที่ให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยได้ย้ายไปขายสินค้า

ไม่เพียงแต่ผู้ใช้ทางเท้าเท่านั้น “ผู้ที่ขายของตามห้างสรรพสินค้า” ก็คัดค้านด้วยเช่นกัน อาทิ อัสไพเรซี มูดา (Aspiracy Muda) ผู้ขายเครื่องแต่งกายของชาวมุสลิม กล่าวว่า “ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าอย่างที่คนทำมาค้าขายในห้างต้องจ่าย ทำให้พวกเขาสามารถขายสินค้าได้ในราคาถูกกว่า และเป็นที่พบเห็นของลูกค้าก่อนผู้ค้าในห้างเสมอ” นอกจากนี้ เขายังเล่าอีกว่า บาซากิ จาฮาจา เปอร์นามา (Basuki Tjahaja Purnama) ผู้ว่าฯ จาการ์ตา คนก่อน เคยไล่ผู้ค้าแผงลอยให้ไปขายของในตลาด แต่ในยุคของ อานิส หาบเร่แผงลอยก็กลับมาอีกครั้ง

อาร์ฟินี (Arfini) หญิงวัย 54 ปี แม่ค้าขายเสื้อผ้าและผ้าคลุมศีรษะของหญิงมุสลิม เล่าว่า เธอใช้ร้านค้าในห้างใกล้ๆ เป็นที่เก็บสินค้าเท่านั้น ส่วนหน้าร้านที่ขายสินค้าคือบริเวณทางเท้า หากไม่ทำเช่นนี้ก็จะไม่มีลูกค้าเพราะบรรดาร้านค้าแผงลอยได้บดบังหน้าร้านของเธอไปแล้ว “กับเทศกิจมันก็เหมือนการเล่นเกมแมวจับหนู” เมื่อเจ้าหน้าที่บุกจู่โจม เธอก็จะกลับเข้าไปซ่อนที่ร้านในห้าง

Anies Baswedan (ขวา) ขณะหาเสียงช่วงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงจาการ์ตา ในปี 2560 (ที่มา : Reuters , CNA)

ย้อนกลับไปในปี 2560 ที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงจาการ์ตา อานิส ได้ให้ความเห็นว่า “ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่อ่อนแอเพราะถูกรังแกจากการขับไล่ คนเหล่านี้ต้องได้รับการช่วยเหลือและเสริมพลังให้เข้มแข็ง” และนั่นคือที่มาว่าเหตุใดหลังจากเขาคว้าชัยชนะได้ครองเก้าอี้ผู้ว่าฯ เมืองหลวงอินโดนีเซีย นายอานิส ได้พยายามผลักดันการใช้มาตรการอนุญาตหาบเร่แผงลอยให้ค้าขายแบบจัดระเบียบแทนการขับไล่กวาดล้าง

แต่เป้าหมายของนายอานิสก็ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากเสียงคัดค้านจากประชาชนกลุ่มหนึ่งแล้ว ยังมีเสียงจากนักวิชาการ อาทิ เนอร์โวโน โจกา (Nirwono Joga) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง มองว่า ผู้ว่าฯ จาการ์ตากำลังสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการจราจรและถนนเสียเองหากสนับสนุนหาบเร่แผงลอย ที่สำคัญคือ “หากจาการ์ตามีแผงลอยได้ ต่อไปเมืองอื่นๆ ทั่วอินโดนีเซียคงเอาอย่าง” ซึ่งคงไม่ต้องจินตนาการถึงความไร้ระเบียบ และยังย้ำด้วยว่าต่อให้มีกฎหมายจัดระเบียบ บรรดาผู้ค้าก็ไม่เคยทำตามกฎอยู่แล้ว

เช่นเดียวกับนักการเมืองฝ่ายค้าน อิมา มะห์ดิอะห์ (Ima Mahdiah) ที่ไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า “หากผู้ค้าหาบเร่แผงลอยได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมาย ย่อมไม่เป็นธรรมกับผู้ขายของในร้านค้าที่เสียภาษี” รวมถึงนักการเมืองพรรคร่วมฝ่ายบริหาร ซิตา อันจานี (Zita Anjani) ที่เตือนว่า “แม้ผู้ว่าฯ จะมีเจตนาดีที่เห็นความสำคัญด้านสวัสดิการของประชาชน แต่ก็ต้องตรวจสอบให้รอบคอบว่าแผนที่วางไว้ไม่ผิดกฎหมาย” และต้องรับรองว่าผู้ค้าจะไม่กีดขวางผู้ใช้ทางเท้า

รายงานของ CNA ปิดท้ายที่ อินา สุทิสนา (Ina Sutisna) แม่ค้าขายเครื่องดื่มในสวนสาธารณะ กล่าวสนับสนุนแผนการของผู้ว่าฯ จาการ์ตา โดยระบุว่า ผู้ค้าที่ขายเครื่องดื่มอย่างเดียวไม่คุ้มค่าหากจะไปเช่าตู้หรือพื้นที่ตั้งร้านค้า เพราะวันๆ หนึ่งก็ขายได้ไม่มากนัก “ขอให้มีพื้นที่ขายอย่างถูกกฎหมาย และต้องแน่ใจว่าพื้นที่นั้นจะมีผู้คนไปซื้อสินค้าด้วย” เพราะที่ผ่านมาก็เบื่อการมีปัญหากับเทศกิจเต็มทีแล้ว

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

ขอบคุณเรื่องและภาพจาก : https://www.channelnewsasia.com/news/asia/indonesia-jakarta-peddlers-pedestrians-governor-plan-legalise-11894728

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จัดการแผงลอยแบบ‘สิงคโปร์’ ทำอย่างไรทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ จัดการแผงลอยแบบ‘สิงคโปร์’ ทำอย่างไรทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้
  • อช.ภูสอยดาวแจงดราม่า \'น้ำตกสายทิพย์\' หลังนักท่องเที่ยวข้องใจทำไมมีกลิ่น อช.ภูสอยดาวแจงดราม่า 'น้ำตกสายทิพย์' หลังนักท่องเที่ยวข้องใจทำไมมีกลิ่น
  • รู้จัก \'Boxwall Flood Barrier\' น้ำท่วมน่านดูดีจนมีดราม่า ใช้แทน \'กระสอบทราย\' ดีกว่ายังไง? รู้จัก 'Boxwall Flood Barrier' น้ำท่วมน่านดูดีจนมีดราม่า ใช้แทน 'กระสอบทราย' ดีกว่ายังไง?
  • \'อ.เฉลิมชัย\' ลั่นไม่รู้หรอกพระพุทธรูปที่ลาวเก่าหรือใหม่ แต่ดูแล้วงดงาม-มีความสุข 'อ.เฉลิมชัย' ลั่นไม่รู้หรอกพระพุทธรูปที่ลาวเก่าหรือใหม่ แต่ดูแล้วงดงาม-มีความสุข
  • ‘กทม.’เปิดรับความเห็นถึง 31 ม.ค.นี้  ประกาศคุม‘หาบเร่แผงลอย’ฉบับใหม่ ‘กทม.’เปิดรับความเห็นถึง 31 ม.ค.นี้ ประกาศคุม‘หาบเร่แผงลอย’ฉบับใหม่
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved