วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘วาระแห่งชาติ’ สู่หลักประกัน ‘สังคมสูงวัย’

‘วาระแห่งชาติ’ สู่หลักประกัน ‘สังคมสูงวัย’

วันพุธ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ผู้สูงอายุ วาระแห่งชาติ สังคมสูงวัย
  •  

ในปี 2574 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุแตะที่ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด หรือเรียกว่า “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society)” ซึ่งนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่สังคมไทยต้องร่วมกันหยิบยก พูดคุยเพื่อเตรียมการ รับมือกับสถานการณ์ในวันข้างหน้าที่กำลังไล่หลังเรามาติดๆ ทั้งการดูแลประชากรไม่ว่าวัยไหนๆ ไม่ให้เจ็บป่วยจนกลายเป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว

“การดูแลระยะกลาง (Intermediate Care)” คือการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการผ่านพ้นวิกฤติและมีอาการคงที่แล้วแต่ยังมีความบกพร่องทางร่างกายบางส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยบุคลากรทางสุขภาพเช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด หรือพยาบาล ในช่วงแรกหลังออกจากโรงพยาบาล (เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน) เพื่อลดภาวะทุพพลภาพ (พิการ) ตลอดชีวิตหรือการถูกผลักให้เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงลง


นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี ในฐานะโรงพยาบาลต้นแบบด้านการดูระยะกลางกล่าวว่า จากการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาหลายราย ทางโรงพยาบาลได้พัฒนาระบบโดยร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งกระบวนการกายภาพต้องเข้ามาช่วย ปัญหาที่สำคัญคือการจัดระบบการดูแลระยะกลางไม่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งทำแบบรวมๆ ในการดูแลระยะกลางและระยะยาว

“เราค้นพบว่า เมื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลต่างกัน การออกแบบการดูแลก็เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งประสบการณ์ที่ทำงานมาสามารถระบุ ได้ว่า ระบบการดูแลแบบ Intermediate Care สามารถทำได้โดยมีการจัดระบบระดับจังหวัด ทุกพื้นที่สามารถทำได้หมดเพราะมีทรัพยากรใกล้เคียงกันหมด เพียงแต่ต้องมีทีมงาน และต้องจัดระบบการดูแลแบบ Intermediate Care โดยอยู่บนความจำเป็น และความต้องการของประชาชน” นพ.สันติ กล่าว

ขณะที่ นพ.ขวัญประชา เชียงไชย สกุลไทย นักวิชาการสำนักวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) มูลนิธิสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่ามีความสับสนในเรื่องการให้บริการของระบบการดูแลระยะกลางและระยะยาว เช่น เมื่อเจ็บป่วยเป็นอัมพาตหากไม่หายปกติจะมีผู้ป่วยที่ส่งผลทุพพลภาพมากน้อยต่างกัน ซึ่งจากการศึกษาในจำนวนนี้พบว่าเพศชายเสี่ยงกว่าโดยสูงถึงร้อยละ 60 ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ร้อยละ 39 และหากแบ่งตามวัย พบว่าผู้สูงอายุเสี่ยงที่ร้อยละ 54% และผู้ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุเสี่ยงร้อยละ 46

“หลังออกจากโรงพยาบาลคนไข้อัมพาตมีเวลาทองอยู่ที่ 6 เดือนหากได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพก็จะสามารถฟื้นได้ จากนั่งรถเข็นสู่การเดินได้ นี้คือระบบการดูแลระยะกลาง แต่ปัญหาที่พบคือคนไข้หลุดจากระบบกลับไปบ้านโดยไม่ได้รับบริการอะไรนี้คือปัญหาสำคัญ คือการหลุดออกจากระบบบริการ แล้วกลายเป็นติดบ้านติดเตียงในอนาคตจนต้องการดูแลระยะยาว” นพ.ขวัญประชา ระบุ

นพ.ขวัญประชากล่าวต่อไปว่า สำหรับในกรณีการดูแลระยะกลางของ โรงพยาบาลบางกล่ำ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นอีกต้นแบบที่ดีมากแต่พบน้อย เพราะมีคนเชื่อมต่อระบบ คือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ช่วยเป็นผู้นำของระบบในการประสานกับโรงพยาบาลอำเภอให้มีการทำกายภาพบำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวกลับจากโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ทำให้เกิดการดูแลระยะกลางที่มีคุณภาพ ดังนั้น “การดูแลระยะกลางต้องการวิชาชีพในการดูแล เพราะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือน” ไม่อาจลองผิดลองถูก

โดยต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์เพื่อวางแผนระบบการบริการในการให้บริการระยะกลางนอกจากผู้ประสานงานในระดับโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปแล้ว ในระดับอำเภอ นักวิชาชีพที่เป็นกำลังสำคัญในการให้บริการกับผู้ป่วยประกอบด้วย1.นักกายภาพบำบัด 2.นักกิจกรรมบำบัด 3.นักอรรถบำบัด (นักแก้ไขการพูด)4.พยาบาล “การจัดบริการ IntermediateCare ที่มีการดำเนินการทั่วไปนั้นครอบคลุม 4 โรคสำคัญ” คือ 1.โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 2.การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง 3.สมองบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ 4.กระดูกสะโพกหัก

“บริการดูแลระยะกลางถือว่าคุ้มค่า เพราะโรคไม่ได้เป็นแค่คนสูงอายุอย่างเดียว มันรวมถึงวัยหนุ่มสาวซึ่งหากไม่พิการแล้วหลายคนก็กลับมาทำงานได้ เช่น กรณีคุณพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง จะกลับมากำกับละครได้แล้ว เขาเข้าถึงบริการ มีนักกายภาพดูแลที่บ้าน ถ้าทำให้คนหนึ่งคนจากการเป็นอัมพาต กลับมาทำงานได้สังคมควรลงทุน ควรอย่างที่สุด แพงเท่าไหรก็ควรจะซื้อ เพราะถ้ารอให้เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงแล้วจะมีภาระวันละเท่าไหร่ ดังนั้นเพื่อซื้อคุณภาพชีวิตจ่ายแพงขึ้น แต่ชาวบ้านได้มีเวลามากขึ้นเขาจ่ายน้อยลง เขาไปทำงานได้” นพ.ขวัญประชา กล่าว

ด้าน นพ.ภานุวิชญ์ แก้วกำจรชัย อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า การออกแบบระบบการดูแลจะต้องมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ เช่นใน จ.สมุทรปราการ สำหรับโรงพยาบาลที่พร้อมก็สามารถรับผู้ป่วยไว้ดูแลในโรงพยาบาลได้ แต่ส่วนใหญ่ก็นอนโรงพยาบาลไม่ได้ และเมื่อผู้ป่วยกลับบ้านก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ จนสุดท้ายก็กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านในที่สุด ซึ่ง จ.สมุทรปราการ ดำเนินการทั้งจังหวัด คือทั้งในและนอกเขตเมือง

โดยมีนักกายภาพบำบัดลงไปช่วยพร้อมทั้งผู้บริบาล หรือผู้ช่วยนักกายภาพในชุมชน มีการอบรมผู้ช่วยนักกายภาพจากการคัดเลือกมาจาก อสม. ในหมู่บ้านทั้งนี้ในเขตเทศบาลเมืองไม่มีโรงพยาบาลชุมชนมารองรับผู้ป่วย จึงต้องใช้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นฐานในการให้บริการและจ้างนักกายภาพไปทำงานใน รพ.สต. ขณะที่เดียวกันในการดูแลก็ต้องมีการดูในเรื่องภาคสังคมด้วย เช่น อาหาร การปรับปรุงบ้านเรือน ซึ่งแม้จะเป็นกระบวนการดูแลระยะยาวก็ต้องทำควบคู่กันไปตั้งแต่เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ สังคมสูงวัย (Aging Society) ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น “การดูแลระยะยาว” ก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อาจต้องมีการจัดตั้ง “กองทุนประกันการดูแลระยะยาว” โดยมี 4 แนวทาง ได้แก่ 1.เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 7เป็นร้อยละ 7.5 ซึ่งคาดว่าจะมีงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี สามารถนำมาใช้ตั้งกองทุนได้

2.เก็บเบี้ยสมทบสำหรับกองทุนฯจากประชาชนที่มีอายุ 40-60 ปี ประมาณ 20 ล้านคน คนละ 100 บาทต่อเดือน จะได้งบประมาณกว่า 2 หมื่นล้านบาท 3.เก็บเงินสมทบจากเบี้ยผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คนละ 50 บาทต่อเดือน จะได้งบปีละ 7 พันล้าน ซึ่งสามารถเงินในการดูแลกองทุนดูแล ได้ระดับหนึ่ง และ 4.ให้ทุกคนที่ต้องการรับบริการมีการร่วมจ่าย (co payment)ซึ่งระบบร่วมจ่ายเมื่อต้องการรับบริการดูแลระยะยาวนั้นมีการเก็บในเกือบทุกประเทศที่มีบริการการดูแลระยะยาวโดยภาครัฐ

ทั้งนี้จาก “เวทีขับเคลื่อนนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ” ที่จัดโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังมีการถกเถียงและเสนอความเห็นด้วยว่า “เรื่องนี้ควรเป็นวาระแห่งชาติ” โดยเสนอให้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเวทีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เชิญนักวิชาการมาให้ข้อมูลกับตัวแทนประชาชนที่ได้รับเชิญมาร่วมรับฟัง และถกแถลงกันอย่างจริงจัง

“เมื่อประชาชนได้ข้อมูลอย่างรอบด้านแล้ว และข้อเท็จจริงที่สำคัญคือบริการดูแลระยะยาวนั้นควรเป็นบริการสาธารณะ แต่มีค่าใช้จ่ายสูงนับหมื่นล้านบาท ประชาชนทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะผู้อยู่ในวัยทำงานพร้อมที่จะร่วมจ่ายเงินเพื่อจัดตั้งกองทุนประกันการดูแลระยะยาว ซึ่งจะเป็นกองทุนที่จะจัดหรือซื้อบริการดูแลระยะยาวให้กับผู้ป่วยที่ติดบ้านติดเตียงที่ต้องการผู้ช่วยเหลือดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันหรือไม่”

นักวิชาการต้องช่วยกันพูดเสียงดังๆ ถึงความจำเป็นของระบบการดูแลระยะยาวในสังคมสูงอายุ ที่จะต้องร่วมกันสนับสนุนสร้าง กองทุนประกันการดูแลระยะยาว ต้องดึงประชาชนมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้ตระหนักว่า สังคมสูงอายุนั้นมาพร้อมราคาที่ต้องจ่าย แต่ราคานั้นมาพร้อมคุณภาพการดูแลที่ดี ไม่ได้ใชับริการแบบตามมีตามเกิดประชาชนต้องรับรู้ว่าถ้ามีราคาที่เราต้องช่วยกันจ่ายแต่การจ่ายแบบนี้คือการร่วมด้วยช่วยกันจ่ายให้กับคนที่อาจจะต้องการความช่วยเหลือเมื่อสูงอายุและทุพพลภาพและหลายคนในอนาคตจะไม่มีญาติพี่น้องมาดูแล

ถ้าเราไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการดูแลระยะยาวที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายให้ประชาชนเข้าใจเรื่องนี้ สังคมสูงอายุที่ไม่มีใครยอมจ่ายอะไรเพิ่มให้รัฐจ่ายฝ่ายเดียว..คงเป็นสังคมสูงอายุที่กระท่อนกระแท่นพอสมควร!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘เกิดน้อย-แก่เพิ่ม-ประชากรลด’ วิกฤติหรือโอกาส? ‘เกิดน้อย-แก่เพิ่ม-ประชากรลด’ วิกฤติหรือโอกาส?
  • มส.ผส. - สสส. เน้นย้ำความสำคัญการร่วมสร้างสังคมสูงวัยที่มีสุขภาวะยั่งยืน มส.ผส. - สสส. เน้นย้ำความสำคัญการร่วมสร้างสังคมสูงวัยที่มีสุขภาวะยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ไทยกับปัญหา‘ประชากร’  หนักทั้ง‘ปริมาณ-คุณภาพ’ สกู๊ปแนวหน้า : ไทยกับปัญหา‘ประชากร’ หนักทั้ง‘ปริมาณ-คุณภาพ’
  •  

Breaking News

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

นายกฯเสียค่าโง่?! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว

ระวังจบไม่สวย! 'อดีตบิ๊กข่าวกรอง'ฉะยับ'พวกนักการเมือง'เฉยเมยปม'ดินแดน'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved