อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้คิดค้นเครื่องตรวจสอบวัดคารสารพิษพาราควอท และไกลโฟเซต ในน้ำ ผัก ผลไม้ ให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้บริโภค โดยใช้งานง่าย แม่นยำ และมีราคาถูกกว่าการนำไปใช้ทดสอบในห้องแลป
ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา สนั่นเมือง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ได้ร่วมกันวิจัยคิดค้นชุดทดสอบพาราควอท และไกลโฟเซต สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ โดยถึงแม้ว่าจะมีการแบนสารเคมี 3 ตัว แล้วก็ตาม แต่ในอนาคตก็เกษตรกรก็ยังมีการแอบนำมาใช้อยู่ ซึ่งการคิดค้นตรวจสอบสารพิษทั้งพาราควอทและไกลโฟเซต นั้นถือว่าเกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายและประหยัด เนื่องจากราคาถูกกว่าการตรวจในห้องแลปที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้ตรวจสอบสารพิษก่อนนำไปใช้หรือบริโภคได้
ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ทางคณะผู้วิจัยนั้นได้รับทุนการวิจัยตรวจสอบวัดค่าของยาฆ่าหญ้าพาราควอท เนื่องจากมีเกษตรกรทุกพื้นที่ใช้จำนวนมาก และส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เกษตรกรในการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยการวิเคราะห์หาปริมาณสารพาราควอทโดยทั่วไปนั้นต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ มีขั้นตอนการวิเคราะห์ ที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์สูง ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้ตรวจสอบหาปริมาณสารพาราควอท ตกค้างในสิ่งแวดล้อมในระดับเบื้องต้นแบบคัดกรองและรวดเร็วได้ ชุดทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทแบบเทียบสีมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาได้ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สามารถทำได้อย่าง รวดเร็ว สามารถทราบปริมาณที่ปนเปื้อนโดยอ่านค่าจากแถบสีมาตรฐาน และนำไปใช้ตรวจวัดในภาคสนามได้
สำหรับชุดทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทแบบเทียบแถบสีมาตรฐานประกอบด้วยสารทดสอบ 3 ชนิด แถบสีมาตรฐาน สำหรับเทียบหาปริมาณ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ คู่มือการใช้ชุดทดสอบ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเฉพาะ บุคคล สามารถนำไปใช้ทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทตกค้างในระดับต่ำกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถ ทราบผลการตรวจสอบได้ในระยะเวลาไม่เกิน 10 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบ ได้มาก มีความถูกต้องแม่นยำในการหาปริมาณสารพาราควอทในตัวอย่าง น้ำ ผัก และเมล็ดธัญพืช สามารถใช้ ทดสอบตัวอย่างได้ 480 ถึง 510 ตัวอย่าง สามารถนำไปใช้ทดสอบหาปริมาณพาราควอทในตัวอย่างน้ำ ผัก และเมล็ดธัญพืชได้ โดยใช้เวลาตรวจสอบ รวดเร็ว สามารถอ่านปริมาณความเข้มข้นได้จากแถบสีมาตรฐาน สามารถนำชุดทดสอบไปใช้ในภาคสนามได้แบบพกพาได้ ซึ่งขณะนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขณะชุดตรวจสอบไกลโฟเซต ก็ได้พัฒนาชุดตรวจสอบออกมาลักษณะเช่นเดียวกันกับชุดทดสอบพาราควอท แต่ชุดไกลโฟเซต นั้นสามารถตรวจสอบได้ละเอียดกว่า มีค่าถึง 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้ได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งในชุดตรวจสอบพาราควอท นั้นจะมีอยู่ราคาที่ 1,000 บาท สามารถใช้ได้ 100 ครั้ง ขณะที่ไกลโฟเซต สามารถใช้ได้ถึง 80 ครั้ง โดยขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายพื้นที่ติดต่อจะนำไปใช้เกษตรกรไปใช้ เพื่อป้องกันสารพิษได้อย่างง่าย ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ก็ได้นำชุดทดสอบสารพาราควอท และชุดไกลโฟเซต วางจำหน่ายไว้ที่สหกรณ์บริการและส่งเสริมนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร แล้ว หรือ ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ขัยสิทธิ์ โทรศัพท์ 0 8147 46105, 0 5596 3427 ,e-mail: wipharatc@nu.ac.th
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี