30 ตุลาคม 2562 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพในช่องปากของผู้ป่วยโรคหัวใจพบได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์ ซึ่งการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์โรคหัวใจออกใบรับรองหากต้องการรักษาทางทันตกรรมต้องระมัดระวังเรื่องใดบ้าง ชนิดของโรคหัวใจที่เป็น และรับประทานยาชนิดใดอยู่เพื่อรักษาโรคหัวใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทันตแพทย์และผู้ป่วย และที่สำคัญต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น งดยาละลายเลือด รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนรักษาทันตกรรม ดูแลบาดแผลในช่องปากที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษา และไม่ควรหยุดยาใดๆเองหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องได้รับการเอาใจใส่และระมัดระวังเกี่ยวกับภาวะการติดเชื้อมากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะมีสภาพความผิดปกติของอวัยวะบางส่วนของหัวใจและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ หากผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะขนาดสูงก่อนรับการรักษาทางทันตกรรมที่ต้องมีเลือดออก เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก หรือการให้บริการทันตกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาละลายเลือด ที่อาจส่งผลให้เมื่อมีบาดแผลเลือดออกแล้วหยุดได้ยาก จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจดูค่าเวลาการหยุดเลือด หรือยาอมใต้ลิ้นในผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอก ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเริ่มรับการรักษา และควรนำยาอมใต้ลิ้นติดตัวมาด้วยทุกครั้ง
11 พฤศจิกายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว “
กรมการแพทย์โดยสถาบันโรคผิวหนังแนะลมหนาวมาเยือนส่งผลต่อสุขภาพผิวหนังทำให้ผิวหนังแห้งตึงคันง่ายผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอาการอาจจะกำเริบหรือเป็นมากขึ้นควรสั
30 ตุลาคม 2562 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพในช่องปากของผู้ป่วยโรคหัวใจพบได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ปัญ
จากเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน เมื่อเวลา 19.15 น.วันที่ 9 กันยายน 2562 ที่
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ แนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดขึ้นซ้ำได้หากไม่ดูแลตนเอง ซึ่งการรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดี ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค
มาทำความรู้จัก “หมัดแมว” แบบถูกต้องกันดีกว่า... เนื่องจากกรณีกระแสข่าวหมัดแมวกัดจนมีผู้เสียชีวิต สร้างความตื่นตระหนกตกใจ แก่ผู้เ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 สถาบันโรคผิวหนังชี้ โรคผื่นแพ้ต่อมน้ำมัน ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย แต่ไม่ติดต่อด้วยการสัมผัส ดังนั้นการดูแลตนเองและรักษาภายใต
11 มิ.ย.62 นางวิภารัศมิ์ ทิพย์ปัญญา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการระบาดของโรคไข้เลือดออกใน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี