วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘เมือง’ใครมีสิทธิ์อยู่บ้าง(1)  เมื่อ‘คนฐานราก’ถูกเบียดขับ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘เมือง’ใครมีสิทธิ์อยู่บ้าง(1) เมื่อ‘คนฐานราก’ถูกเบียดขับ

วันพฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“High-Rises Are on the Horizon for Bangkok’s Chinatown” เป็นชื่อรายงานพิเศษที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ นสพ. The New York Times ของสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ต.ค. 2562 บอกเล่าเรื่องราวของ เยาวราช และพื้นที่ใกล้เคียง อันเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองหลวงของไทยมา กำลังถูกลบเลือนหายไปจากโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคและอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยกระเป๋าหนักทั้งชาวไทยและต่างชาติ

หากมองไปให้ทั่วกรุงเทพฯ จะเห็นว่าระยะหลังๆ มีข่าวคราว “คนเล็กคนน้อยได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาเมือง” เกิดขึ้นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น “การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย” ที่ในทางปฏิบัติดูจะเป็นการ “กวาดล้าง” เสียมากกว่าเพราะยกเลิกจุดผ่อนผันจนเกือบหมด “การจัดระเบียบบ้านรุกล้ำลำคลอง” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ฝนตกไม่ทั่วฟ้า” เพราะมีแต่บ้านในลำคลองสายหลักที่ได้รับการเยียวยาแต่ในลำคลองย่อยไม่ได้ด้วย ยังไม่ต้องนับว่า “เมื่อรถไฟฟ้าไปถึงที่ใด คอนโดมิเนียมและหมูบ้านหรูก็ตามไปด้วย” จนบางแห่งมีเหตุกระทบกระทั่งกับชุมชนเดิม


เมื่อเร็วๆ นี้มีการจัดเวทีเสวนา “เมืองเถียงได้” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นเรื่องเล่าจากตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ ในกรุงเทพฯ อาทิ ธวัชชัย วรมหาคุณ ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนเก่าแก่อายุนับร้อยปีที่วันนี้เหลือแต่เพียงเรื่องเล่าขานเพราะปัจจุบันกลายเป็นสวนสาธารณะ โดยบ้านหลังสุดท้ายถูกรื้อไปเมื่อปลายเดือน เม.ย. 2561

ธวัชชัย เริ่มต้นด้วยการเล่าว่าเป็น “คนกลุ่มสุดท้ายที่ออกจากป้อมมหากาฬ” และจนวันนี้ก็ยังเป็น “บาดแผลที่ไม่จางหาย” ไปจากความรู้สึกนึกคิด เพราะแม้การต่อสู้ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2535 ชาวป้อมมหากาฬจะได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างๆ คนรุ่นใหม่ที่มองเห็นคุณค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคม (NGO) มากมาย แต่เมื่อรัฐโดย กทม. ยืนยันท่าเดียวว่าต้องทำเป็นสวนสาธารณะให้ได้ “ปิดประตูตาย” สำหรับทางเลือกอื่น สุดท้ายชุมชนย่อมไม่อาจต้านทาน

“เราเข้าใจคำว่าสวน 1.ต้องมีพื้นที่โล่งแจ้ง เวลาไปทำกิจกรรมนันทนาการคนภายนอกต้องมองเห็น คนภายในก็ต้องเอื้อกับการดูแลซึ่งกันและกัน 2.ในช่วงสุดสัปดาห์ใช้พื้นที่ในการพักผ่อน เขามีตำรวจดูแล สามารถให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยไม่ว่าชีวิตหรือทรัพย์สิน แต่สวนในป้อมมหากาฬเกิดในพื้นที่ประวัติศาสตร์ หรือชุมชนบ้านไม้โบราณเชิงอนุรักษ์ถูกขจัดออกไป ปลูกหญ้าแล้วตั้งชื่อว่าสวนสาธารณะ” ธวัชชัย กล่าว

ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวต่อไปว่า “รัฐแสดงตัวว่าอำนาจอยู่เหนือความรู้” แม้ภาคส่วนอื่นๆ จะชี้ให้เห็นว่าโบราณสถานกับชุมชนอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า “แล้วคุ้มกันหรือไม่” เพราะทุกวันนี้หากไปถามตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่สวนสาธารณะป้อมมหากาฬจะทราบว่ามีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นมาก ยังไม่ต้องนับปัญหาคนไร้บ้านที่ กทม. ไม่สามารถจัดการได้ และทิ้งคำถามว่า “เมืองน่าอยู่ของ กทม. แล้วใครอยู่” เพราะรัฐขับไล่คนที่เขาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนนานแล้วออกไป

ขณะที่ นิตยา พร้อมพอชื่นบุญ ตัวแทนชุมชนคลองเตย ให้ความเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “ผู้บริหารประเทศเห็นเงินสำคัญกว่ามนุษย์” จะย้ายคนไปอยู่ตรงไหนก็ได้ขอให้พ้นไปจากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการหาเงิน “ทั้งที่คนยากคนจนคือกำลังในการสร้างเมือง” โดยชุมชนคลองเตยยุคแรกๆ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่พอระยะหลังๆ ที่ดีในราคาแพงขึ้น รัฐกลับพยายามขับไล่คนเล็กคนน้อยเหล่านี้ออกไป

สำหรับชาวชุมชนคลองเตยนั้นมีกรณีพิพาทกับ การท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยในปี 2559 การท่าเรือฯ ต้องการนำที่ดินไปพัฒนาเชิงธุรกิจ ในช่วงแรกมีการตั้งคณะกรรมการโดยมีตัวแทนชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อหาทางออกร่วมกัน เช่น การนำชุมชนเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคง รวมถึงจะจัดสรรที่ดินอย่างไรให้คนจนเมืองอยู่ได้ เพราะการต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองย่อมกลายเป็นภาระความลำบากในการเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง แต่ต่อมาคณะกรรมการเหล่านี้ก็หายไป กระทั่งล่าสุดชาวบ้านได้ทราบว่ามีการเปิดตัวโครงการพัฒนาใหม่แล้ว

นิตยา เล่าต่อไปว่า วันที่ 9 ม.ค. 2562 มีการเปิดโครงการSmart Community และมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 30 ชั้นกว้าง 33ตารางเมตร ชุมชนได้แย้งว่าขอเป็น 45 ตารางเมตรได้หรือไม่เพราะต้องเผื่อมีลูกหลานเกิดขึ้น แต่ผู้รับผิดชอบโครงการบอกว่าไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายให้อยู่ไม่เกิน 33 คารางเมตรเท่านั้น และไม่เคยมีการสำรวจความคิดเห็นของทั้ง 26 ชุมชนในละแวกคลองเตยที่ได้รับผลกระทบ ชาวชุมชนจึงออกมาคัดค้าน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวจึงถูกระงับไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว

“กฎหมายผังเมืองไม่มีส่วนร่วม มีแต่เจ้าของที่กำหนดว่าสีนั้นสีนี้ ชีวิตเราไม่มีคุณค่า จากเราเป็นคนสร้างเมือง ลูกหลานก็อยากช่วยสร้างเมืองก็ไม่มีโอกาสได้สร้าง เราจะแบ่งที่ดินให้การท่าเรือ ส่วนชาวคลองเตยที่เหลือกว่า 2 หมื่นครอบครัวให้เขาเลือก อยากจะพัฒนาที่ดินด้วยมือเราก็มารวมกัน ใครอยากขึ้นตึกสูงก็ไป ใครอยากไปหนองจอกก็เชิญ ใครอยากรับเงิน 2 แสนบาทแล้วกลับภูมิลำเนาก็เชิญ จะบอกว่าส่วนใหญ่ภูมิลำเนาเดิมก็เกิดในคลองเตย 2 แสนบาทจะไปอยู่ตรงไหน เป็นไปได้ไหม นี่คือสถานการณ์ปัจจุบัน” นิตยา กล่าว

ตัวแทนชุมชนคลองเตย ยังยกตัวอย่าง “ชุมชนล็อก 7-12” ประชากร 600 ครอบครัว เมื่อ 30 ปีก่อน “ชาวชุมชนหลายคนถูกเกลี้ยกล่อมให้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในย่านวัชรพล (รามอินทรา)” โดยรัฐออกโฉนดที่ดินให้ ผลคือผู้ที่ไปอยู่ประสบปัญหาเพราะไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกเพียงพอในการเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง จนคนจำนวนหนึ่งตัดสินใจขายที่ดินทิ้งเพราะทนรับสภาพไม่ไหว

ด้าน กฤษณะพล วัฒนวันยู อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะผู้ดำเนินรายการ กล่าวสรุปว่า เรื่องเล่าจากชุมชนข้างต้นนี้เป็น “ประเด็นคลาสสิก” เมื่อใจกลางเมืองมีพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ “จะพัฒนาพื้นที่อย่างไรให้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจพร้อมๆ กับทำให้คนในพื้นที่ไม่ว่ารวยหรือจนยังอยู่ได้” แต่ส่วนใหญ่บทสรุปมักไม่เป็นแบบนั้น

ในตอนต่อไป (สกู๊ปแนวหน้า : หน้า 5 ฉบับวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ย. 2562) จะว่ากันด้วยมุมมองของนักวิชาการ โดยเฉพาะประเด็นท่าทีของ “ชนชั้นกลาง” ที่บ่อยครั้งกลายเป็นมือเป็นไม้ให้ภาครัฐเบียดขับคนระดับฐานรากออกไปจากเมือง..โปรดติดตาม!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved