วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘สิทธิชุมชน’  เขียนไว้..แต่ยังไม่มีจริง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘สิทธิชุมชน’ เขียนไว้..แต่ยังไม่มีจริง

วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการจัดเสวนาเรื่อง “สิทธิชุมชนบนฐานการพัฒนาภายใต้ข้อจำกัดแห่งรัฐธรรมนูญ” เพื่อสะท้อนมุมมองปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของชุมชนในประเทศไทย อาทิ รศ.ดร.สถาพร เริงธรรม อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นหลายพื้นที่สิทธิชุมชนได้รับผลกระทบ “หลายโครงการพัฒนามาจากการตัดสินใจจากรัฐบาลส่วนกลาง” คนในพื้นที่ไม่สามารถกำหนดอนาคตของตนเอง

เช่น “นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” มุ่งเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำนาให้เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยพร้อมตั้งโรงงานแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลแห่งใหม่ๆ รวมถึงขยายโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว “รัฐเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ด้านการจ้างงาน..แต่ไม่ได้ถามความต้องการของชุมชนก่อน” อยู่ดีๆ ก็ให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ“สุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเพราะหลายพื้นที่อาจไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง” อาทิ จ.ร้อยเอ็ด และ จ.อำนาจเจริญเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิเกรดสูง (Premium) ส่งออกต่างประเทศมาอย่างยาวนาน


“การเข้ามาไม่ได้ผ่านกลไกการสร้างการรับรู้ สร้างกระบวนการการยอมรับ การเห็นชอบร่วมกันระหว่างคนในชุมชนกับคนที่มาจากภายนอก การมาแบบนี้มาพร้อมกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเอาแผนที่มากางแล้วเอาปากกาวงว่าภาคอีสาน ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ วิธีคิดแบบนี้มันส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร และส่งผลกระทบต่อสิทธิของคนที่อยู่ในชุมชน เพราะไม่มีสิทธิลุกขึ้นมาถามว่าสร้างไปทำไม ประโยชน์ที่บอกว่าจะได้รับจากโครงการเหล่านี้ได้จริงหรือเปล่า” อาจารย์สถาพร กล่าว

อาจารย์สถาพร ยังกล่าวถึงอีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ “สุขภาพของคนในชุมชน” เพราะโครงการโรงงานน้ำตาลหลายแห่งมาพร้อม “โรงไฟฟ้าชีวมวล” ที่นำชานอ้อยมาเป็นต้นกำเนิดเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ปัญหาคือ “ลำพังการใช้ชานอ้อยอย่างเดียวจะพอจริงหรือ..ถ้าไม่พอสุดท้ายจะกลายสภาพเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน
หรือเปล่า” ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดต้องถูกเปิดเผยในการเจรจาระหว่างชุมชนกับภาครัฐและเอกชน

ขณะที่ รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความเห็นว่า “ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการยึดถือสิทธิชุมชนว่าเป็นอำนาจในการตัดสินใจของชุมชนอย่างแท้จริงว่าจะรับหรือไม่รับโครงการพัฒนาของรัฐ” ที่ผ่านมาโครงการที่ถูกฟ้องร้องจนนำไปสู่การแก้ไขเยียวยามีเพียงโครงการที่พิสูจน์ได้ว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงการไม่ได้รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านเท่านั้น

นอกจากนี้ “หลายครั้งศาลมักระบุว่าสิทธิชุมชนไม่มีกฎหมายรับรองนอกจากรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถฟ้องร้องในประเด็นนี้ได้” จึงเกิดคำถามว่า “ควรมีกฎหมายที่อธิบายคำว่าชุมชนและขอบเขตของคำว่าสิทธิชุมชนหรือไม่และอย่างไร” ทั้งนี้ เมื่อรัฐเข้าไปทำโครงการใดๆ มักอ้างหรือการพัฒนา อ้างเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่คุ้มค่าที่สุด หรืออ้างเรื่องความมั่นคงของรัฐ แต่ไม่เคยอ้างถึงความมั่นคงของประชาชน

“กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงฉบับใหม่ ให้ กอ.รมน.(กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) เข้าไปมีอำนาจ นิยามความมั่นคงไว้ค่อนข้างกว้าง และยังกลายเป็นความมั่นคงด้านทรัพยากรด้วย คือให้ กอ.รมน. เข้าไปจัดการเรื่องป่าไม้ สืบเนื่องมาจากทวงคืนผืนป่า บอกจะคืนป่าไม้ให้ได้ 40% ของพื้นที่ประเทศไทย กอ.รมน.ก็เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าไปจัดการทวงคืนผืนป่า

ให้ กอ.รมน. มีอำนาจทำงานคู่ไปกับคณะกรรมการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายใหญ่ควบคุมการจัดการที่ดินทั้งหมดของประเทศ แล้วก็ให้อำนาจรัฐ
ส่วนกลางในการจัดการที่ดินต่างๆ ให้มีกรรมการระดับจังหวัดได้ แต่ท้ายที่สุดกรรมการชุดนี้จะกำหนดที่ดินทั้งหมด จะจัดสรรที่ดินให้ใคร รูปแบบไหน จะเปลี่ยนแปลงสิทธิประเภทต่างๆ ใหม่ก็สามารถทำได้ นี่คือการลิดรอนสิทธิที่มีอยู่เดิมกลับมาสู่มือรัฐอย่างเข้มข้น” อาจารย์สามชาย ระบุ

อาจารย์สามชาย ยกตัวอย่างการใช้อำนาจของรัฐที่กระทบต่อสิทธิชุมชนอย่างชัดเจนและรุนแรงมาก คือ“การเผาไล่ที่ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านใจแผ่นดินในป่าแก่งกระจาน”เมื่อปี 2554 ซึ่งในเวลาต่อมาแม้ศาลปกครองจะตัดสินให้ฝ่ายรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวกะเหรี่ยงที่ฟ้องคดีเพราะถือว่าทำเกินกว่าเหตุ แต่ไม่สามารถให้กลับไปอยู่ที่เดิมได้เพราะชาวกะเหรี่ยงไม่มีเอกสารสิทธิ เรื่องนี้ควรเป็นคำถามว่า “ใครควรมีหน้าที่เป็นผู้พิสูจน์สิทธิ์” ระหว่างชาวบ้านที่ถูกไล่ ฝ่ายรัฐที่เข้าไปขับไล่

ด้าน สวาท อุปฮาต ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนท้ายเขื่อน กล่าวว่า ในอดีตทรัพยากรต่างๆ ถูกใช้ตามวิถีประเพณีของชาวบ้าน แต่ระยะหลังๆ มีการจำกัดสิทธิมากขึ้น “คนที่ไม่มีต้นทุนอย่างอื่นเคยอาศัยหากินกับธรรมชาติเพื่อดำรงชีพไม่สามารถทำได้” โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาล คสช. มีหลายคนถูกจับดำเนินคดี และบางคดีโดนกันทั้งครอบครัวตั้งแต่รุ่นตาถึงรุ่นหลาน“ทั้งที่อยู่กันมานานหลายชั่วอายุคน”ซึ่งในปัจจุบันปัญหานี้ก็ยังไม่มีทางออกแม้สิทธิชุมชนจะถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายฉบับก็ตาม

“แค่เรานั่งคุยกัน วันหนึ่งก็มีทั้งตำรวจ-ทหารมากันเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่การคุยกันไม่ได้พูดถึงอำนาจรัฐเลย พูดถึงความเป็นอยู่ ถึงสถานะของชุมชนว่าเราอยากมีส่วนพัฒนาบ้านเมือง อยากมีส่วนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เห็นคือการเข้ามาลิดรอนสิทธิเสรีภาพของเรา ซึ่งเป็นแบบนี้มา 5-6 ปี มีทั้งไปเยี่ยมกลางคืน ไปดักกลางทาง ไปตามเวทีชาวบ้าน แต่สิ่งที่เราทำ เรายืนยันได้ว่าเราอยากสะท้อนสิ่งที่มันเกิดขึ้นในสังคมจริง สิ่งที่เป็นปัญหาควรได้มีส่วนนำเรื่องราวพวกนี้ขึ้นมาพิจารณาร่วม” ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนท้ายเขื่อน กล่าว

สวาท กล่าวย้ำว่า “การเป็นชุมชนย่อมมีสิทธิบอกกล่าวความต้องการของชุมชน” แต่เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่ออกมาในช่วงไม่กี่ปีล่าสุดส่งผลกระทบกับประชาชน “หลายนโยบายมีประโยชน์แต่อีกหลายนโยบายเหมือนนำทรัพยากรไปละลายแม่น้ำ” ปัจจุบันชาวบ้านรู้สึกไม่มั่นคง เพราะไม่รู้ว่าชุมชนจะมีอนาคตเป็นอย่างไร ไม่ว่าชุมชนในเมืองหรือในชนบทซึ่งหากปล่อยเช่นนี้ต่อไป ช่องว่างจะกว้างขึ้น ผู้คนจนตรอกไม่มีทางไป หากถึงวันนั้นไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

“การให้สิทธิให้เสียง-ให้อำนาจหน้าที่กับชุมชน” จึงเป็นทางออก!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'ก่อแก้ว'ขำกลิ้งข่าวดัน'อนุทิน'นั่งนายกฯ ชั่วคราวแก้รธน. ชี้ย้อนแย้ง เหตุภท.ได้ประโยชน์

4X100 พันธุ์ใหม่! บุกจับ ไซรัปผสมกระท่อม 'ปรุงมือ-ไร้มาตรฐาน'

'ตุรกี'อ่วม! ไฟป่ารุนแรงคร่า 2 ชีวิต ประชาชนอพยพหนีตาย

กรมควบคุมโรคเผย ปี 68 ติดเชื้อ HIV พุ่งทะลุครึ่งล้าน ป่วยรายใหม่กว่า 1.3 หมื่น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved