วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : เมืองใหญ่-ปัญหาเยอะ  ‘กทม.’ความหวังยังมีหรือไม่

สกู๊ปแนวหน้า : เมืองใหญ่-ปัญหาเยอะ ‘กทม.’ความหวังยังมีหรือไม่

วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“ทำให้เมืองดีขึ้นได้อย่างไร? คำถามนี้ไม่ง่ายเพราะมีหลายมิติ คำถามแรกคือต้องมีไม้บรรทัดก่อนว่าคำว่าดีมันคืออะไร? อย่างเมืองเรามีตึกเยอะ มีความทันสมัย แต่มีฝุ่น PM2.5 เยอะ แบบนี้เมืองมันดีไหม? ผมว่าหัวใจแรกของเมืองที่ดีคือมันต้อง Sustainable (ยั่งยืน) คำว่า Sustainable เราพูดกันบ่อยมาก แล้วความหมายมันคืออะไร? ผมว่าง่ายๆ นะ คนรุ่นนี้ต้องไม่เบียดเบียนคนรุ่นหน้า แค่นี้เอง! คนรุ่นนี้ต้องไม่เบียดเบียนทรัพยากรของคนรุ่นอนาคต”

คำกล่าวของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการบรรยายหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร” จัดโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC) และตามด้วยการยกหลายตัวอย่างใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) อธิบายให้เห็นภาพ เช่น 1.ปัญหาขยะมูลฝอย เฉลี่ยแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นราว 1 หมื่นตัน ซึ่งพบว่าเกือบทั้งหมดถูกนำไปฝังกลบ และนี่คือภาระของคนรุ่นถัดไป


2.ปัญหาการเดินทาง แม้ปัจจุบันจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายในอาณาเขตของกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่อาจไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดเพราะไม่ได้คิดให้ครอบคลุมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เช่น รถเมล์ที่เป็นพาหนะหลักของผู้มีรายได้น้อยในเมือง นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้คิดถึงคนทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้พิการใช้รถเข็น (Wheel Chair) ที่ในกรุงเทพฯ น่าจะมีถึงประมาณ 1 แสนคน ขาดสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวก หรือทางเดินสำหรับคนตาบอดบนทางเท้าที่พาไปติดสิ่งกีดขวาง รวมถึงภาวะสังคมสูงวัย ที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

3.ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ อาทิ บ้านรุกคลอง ที่ขึ้นชื่อมาก เช่น คลองลาดพร้าว มีประมาณ 4,000 คน คลองเปรมประชากร มีประมาณ 6,000-10,000 คน ถึงกระนั้นทางออกที่ดีคงไม่ใช่การใช้อำนาจทางกฎหมายไปไล่รื้อเพียงด้านเดียว ซึ่งก็มีบางโครงการที่ภาครัฐแก้ปัญหาได้ดี เช่น บ้านมั่นคง เป็นโครงการซึ่งใช้ที่ดินกรมธนารักษ์บนฝั่งปลูกบ้านหลังใหม่ขึ้นแล้วย้ายผู้บุกรุกขึ้นมาอยู่ในบ้านดังกล่าว แต่อาจต้องพิจารณากันต่อไปในเชิงรายละเอียด เช่น ควรก่อสร้างเป็นอาคารสูงแทนบ้าน 2 ชั้นหรือไม่ เพราะจะรองรับประชากรได้มากกว่า

“มีข้าวเหนียวไก่เจ้าประจำของผม ขายที่ทองหล่อ ตั้งแต่ขายบนรถกระบะ ตอนนี้เปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไซค์เพราะโดนไล่ ถามว่าเราจะทำอย่างไรกับหาบเร่แผงลอย? ผมว่านี่เป็นโจทย์ใหญ่ มันง่ายมากที่จะบอกว่าไม่ต้องมีหาบเร่แผงลอย กำจัดหมด แต่ถามว่าคนงานจะกินข้าวที่ไหน? คนออฟฟิศกินข้าวในตึกไม่ไหว 100 บาทยังเอาไม่อยู่ ผมว่าต้องดูให้ดี อะไรคือ Fair (ความเป็นธรรม) อะไรคือความเข้าใจ มิติของเมืองมันไม่ง่าย เอากฎหมายไปจับอย่างเดียวไม่ได้” อดีต รมว.คมนาคม ยกตัวอย่างหาบเร่แผงลอย อันเป็นอีกประเด็นถกเถียงสำคัญของเมือง

ชัชชาติ กล่าวต่อไปถึง “รูปแบบการปกครองของ กทม.” ที่มี 16 สำนักและ 50 เขต “ผู้อำนวยการเขตมาจากการแต่งตั้ง มาแล้วก็ไปตามวาระ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงไม่ค่อยมีความผูกพันกับเขตเท่าใดนัก” เช่น มาอยู่ 2 ปีแล้วก็ย้าย แม้แต่พื้นที่เขตนั้นๆ ก็อาจไม่รู้จักอย่างละเอียดพอ “เมื่อไม่ผูกพันกับเขตและไม่เข้าใจพื้นที่ในเขต การบริหารอาจไม่ตอบโจทย์ประชาชน” อาจผูกพันกับผู้ว่าฯกทม.เสียมากกว่าเพราะอยู่ในโครงสร้างแบบรวมศูนย์ แต่ก็เชื่อว่าหากมีระบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม อาทิ ประเมินผลงานผอ.เขต ก็น่าจะดีขึ้น

แนวโน้มการเคลื่อนย้ายประชากรใน กทม. พบว่า “ระยะหลังๆ คนย้ายออกจากกรุงเทพฯ ชั้นใน ไปอยู่ในเขตรอบนอกมากขึ้น” ทั้งเขตหนองจอกอันเป็นขอบเมืองฝั่งตะวันออก หรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปอยู่ในเขตต่างๆ ของฝั่งธนบุรี “การมาของโครงข่ายระบบถนนก่อนระบบรางเอื้อให้ผู้คนย้ายไปอยู่รอบนอก” แต่ละคนอยากมีบ้านเดี่ยว “เกิดชุมชนแบบกระจัดกระจาย” ต้องซื้อรถยนต์มาใช้ในการเดินทาง แล้วการจราจรก็ติดขัด “ราคาอสังหาริมทรัพย์ยิ่งใกล้ตัวเมืองชั้นในมากเท่าใดก็ยิ่งราคาแพง ทำให้ผู้คนต้องออกไปตั้งรกรากไกลขึ้น” ไกลถึงจังหวัดปริมณฑล

“เมืองมันถูกกระจายออก คนที่อยู่ในเมืองคือคอนโดฯราคาแพง และสุดท้ายนี่คือปัญหารถติด เพราะสุดท้ายคนต้องขับรถเข้ามาในเมือง ที่อยู่อาศัยมันถูกผลักออกไปออฟฟิศอยู่ข้างใน แต่ที่อยู่อาศัยเราอยู่ตรงวงแหวน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ แล้วรถจะไม่ติดได้อย่างไร เพราะงานกับบ้านมันอยู่ไกลกันเหลือเกิน ถามว่าเรามีเงินซื้อคอนโดฯ ในเมืองไหม? ยาก! มันตารางเมตรละ 2 แสนบาท เราก็ไปซื้อทาวน์เฮ้าส์อยู่ไกล วันหนึ่งเราเดินทางไป 1 ชั่วโมง กลับ 1 ชั่วโมง ปีหนึ่งเราเดินทางอยู่บนรถ 1 เดือน” ชัชชาติอธิบายที่มาของปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ

และเมื่อดูหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมในกรุงเทพฯ พบว่า มีถึง 37 หน่วยงาน เช่น กทม.,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมทางหลวง,กรมการขนส่งทางบก, กรมเจ้าท่า,การรถไฟแห่งประเทศไทย ฯลฯ “กรุงเทพฯ ไม่เหมือนนิวยอร์ก (New York) สหรัฐอเมริกา ที่เมืองมีอำนาจครอบคลุมแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด” นอกจากนี้ “ระบบรถไฟฟ้ายังมีผู้ให้บริการหลายเจ้า ค่าโดยสารแต่ละวันโดยรวมจึงแพง” เพราะเปลี่ยนสายไปคนละผู้ให้บริการก็ต้องจ่ายค่าโดยสารใหม่ตามอัตราที่เจ้านั้นกำหนด ยังไม่ต้องนับงานด้านอื่นๆ ที่ก็มีหน่วยงานอื่นดูแลซึ่งไม่ใช่ กทม.

อดีต รมว. คมนาคม เสนอแนะว่า “แม้ กทม. ไม่มีอำนาจดูแลอย่างครบวงจร แต่สามารถทำงานในฐานะเจ้าบ้านได้” เมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ “กทม. ต้องเล่นบทบาทเชิงรุกในการประสานงานให้มากขึ้น” นอกจากนี้ “ภาครัฐมักเน้นทำโครงการใหญ่ๆ แต่ลืมพัฒนาเส้นเลือดฝอย” เช่น มีโครงข่ายรถไฟฟ้ารอบกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ผู้คนก็ยังต้องต่อคิวเป็นเวลานานเพื่อนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากสถานีรถไฟฟ้าเข้าซอย หรือสร้างโรงงานกำจัดขยะ แต่ลืมนึกถึงระบบการจัดเก็บขยะจากบ้านเรือน เป็นต้น

ถึงกระนั้น “ไม่ใช่เฉพาะภาครัฐที่ต้องเปลี่ยน..ประชาชนเองก็ต้องเปลี่ยนด้วย” เช่น บ่นว่ารถติดแต่ตนเองก็ยังขับรถออกมาบนท้องถนน หรือบ่นว่าประเทศไทยไม่พัฒนาแต่ตนเองก็ไม่มีวินัยมากเท่าผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ยกตัวอย่างน้ำท่วมในไทยกับญี่ปุ่น ที่มีผู้แชร์ภาพในอินเตอร์เนต ว่าในขณะที่เมืองในไทยขยะลอยน้ำเกลื่อน แต่เมืองในญี่ปุ่นไม่มีขยะลอยน้ำแม้แต่น้อย เพราะคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะอย่างมาก

“ถ้าเราไม่มีวินัย เราจะตกอยู่ใต้อารมณ์และ Passion (ความอยาก) เราอยากเรียนเก่ง อยากประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ถ้าเราไม่มีวินัยเราก็ไม่มีทางทำมันได้ เมืองจะพัฒนาได้คนต้องมีวินัยด้วย” ชัชชาติ ฝากข้อคิด

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

‘ไผ่’ซัด‘รักชนก’เป็นเหตุ‘ม็อบชาวกำแพงเพชร’บุกศูนย์ ปชน. โวยพาดพิงงบพัฒนา

‘ไผ่’ตอก‘ไอติม’อยู่แต่ กทม.ไม่รู้ สส.บ้านนอกทำงานแบบไหน กวักมือไปดูงานกำแพงเพชร

ตำรวจบางละมุง 'รวบสองคู่หู'ลักเหล็กอลูมิเนียม อ้าง!ตกงาน-เลี้ยงแม่ป่วย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved