วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไข้หูดับ’คนไทยเสี่ยงแค่ไหน

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไข้หูดับ’คนไทยเสี่ยงแค่ไหน

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“โรคไข้หูดับ” พบในประเทศไทยมาราว 50–60 ปีแล้ว โดย “แบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus suis : S.suis)” ที่อยู่ใน “สุกร” ซึ่งพบบ่อยช่วงฤดูร้อน จากพฤติกรรมการบริโภคและความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ส่งผลให้คนอายุยืนขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันมีความชุกในการเกิดโรคมีเพิ่มขึ้นและแนวโน้มความชุกมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรุนแรงของเชื้อโรคที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจะเตรียมพร้อมรับมือการปนเปื้อนในเนื้อหมูที่ซื้อมาทำอาหาร ที่จะมีความปลอดภัยหรือความเสี่ยงจากเชื้อชนิดนี้ได้มากน้อยเพียงใด

รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เชื้อที่ก่อโรคไข้หูดับเกิดจาก S.suis 2-3 สายพันธุ์ โดยเฉพาะ type 2 ซึ่งส่วนใหญ่พบในสุกรเป็นหลัก มีรายงานการพบเชื้อนี้ตั้งแต่ช่วงหย่านม เนื่องจากความเครียดจากการเปลี่ยนอาหาร กระทบต่อระดับภูมิคุ้มกัน และการเกิดบาดแผลที่ผิวหนังจากการกัดกัน เชื้อชนิดนี้มักจะไม่ก่อโรคในหมูแต่จะก่อโรคในคนและสามารถถ่ายทอดจากหมูสู่คนผ่านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุกรได้ ซึ่งโอกาสการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับโรงฆ่าสัตว์จนถึงตลาดสด


“ประเทศไทยมีข้อมูลในความเสี่ยงของโรคชนิดนี้ โดยเฉพาะส่วนค้าปลีกที่จะส่งถึงมือผู้บริโภคอยู่น้อยมาก พื้นฐานการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ด้านสุขอนามัย คือการแปลงผลจากห้องปฏิบัติการ สู่การกินดีอยู่ดีของคนเรา เช่น รับประทานแล้วป่วยหรือไม่ โดยความเสี่ยงจะรายงานเป็นสัดส่วนผู้ป่วยต่อจำนวนประชากรที่มีรับประทานผลิตภัณฑ์สุกรที่ปนเปื้อน ข้อดีของข้อมูลลักษณะนี้คือสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนรวมถึงสังคมโดยรอบในประเด็นความเสี่ยงของผู้บริโภค เพื่อการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด”

ก่อนหน้านี้ คณะผู้วิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำการเก็บตัวอย่างเนื้อสุกรทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ (น่าน เชียงใหม่ พะเยา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น มุกดาหาร) ภาคกลาง (สระบุรี นครปฐม) และภาคใต้ (พังงา) ทั้งจากโรงเชือดและแหล่งค้าปลีก ทั้ง ตลาดสด ตลาดนัด แผงค้า รถเข็น และตลาดทันสมัย (Modern Market) โดยใช้การประเมินความเสี่ยง4 ขั้นตอน ได้แก่

1.ระบุอันตราย (Hazard Identification) เพื่อศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของเชื้อ 2.อธิบายอันตราย (Hazard Characterization) ประเมินความน่าจะเป็นว่ามีโอกาสป่วยมากน้อยเพียงใดเมื่อรับเชื้อก่อโรค 3.ประเมินการสัมผัส (Expose Assessment) ว่าได้รับเชื้อมากน้อยเพียงใดโดยขึ้นกับ2 ปัจจัยหลัก คือปริมาณการบริโภค และความเข้มข้นหรือปริมาณเชื้อที่อยู่ในอาหาร และ 4.อธิบายความเสี่ยง (Risk Characterization) ประเมินความเสี่ยงหรือโอกาสป่วยจากการบริโภคเนื้อสุกรจากแหล่งนั้นๆ ซึ่งจะมีการจำลองเหตุการณ์ซ้ำอย่างต่ำ 10,000 รอบ

ทั้งนี้ “จากงานวิจัยแม้จะไม่ปรากฏการปนเปื้อนเชื้อสายพันธุ์ก่อโรคก็ตาม แต่ถ้าหากพิจารณาในกรณีที่เลวร้ายที่สุด (Worst case scenario) พบว่าค่าประมาณความเสี่ยงของผู้ป่วยจาก S.suis และเป็นโรคไข้หูดับผ่านการบริโภคเนื้อสุกรนั้น ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความเสี่ยงสูงสุดอยู่ที่ 13 คน (ต่อประชากร 100,000 คน/ปี)” ตามมาด้วยภาคกลาง 6 คน (ต่อประชากร 100,000 คน/ปี) ภาคเหนือ 1 คน (ต่อประชากร 100,000 คน/ปี) และภาคใต้น้อยสุดที่ 0.1 คน (ต่อประชากร 100,000 คน/ปี)

“เมื่อลองคำนวณจากจำนวนประชากรของไทยแล้ว จะพบว่า ความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีโอกาสติดเชื้อและเป็นโรคไข้หูดับผ่านการบริโภคเนื้อหมูนั้นมีจำนวนหลักร้อยถึงหลักพันคนในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวมาจากการจำลองเหตุการณ์และใช้ข้อมูลบางส่วนจากเชื้ออื่นข้างเคียง
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทำวิจัยเพิ่มเติมเชิงลึกต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น”

รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเลขที่ได้ทำให้สังคมเห็นความสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค เนื่องจากเนื้อหมูเป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทาน โดยประเด็นความปลอดภัยทางด้านอาหารต้องอาศัยการทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ตัวผู้บริโภคเองพึงบริโภคผลิตภัณฑ์สุกรที่ผ่านความร้อนหรือสุกทั่วถึงกัน ใส่ใจสุขอนามัยส่วนตัว (Personal hygiene) เป็นเรื่องสำคัญ

เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้เอง โดยใช้ “หลักง่ายๆ ในการรับประทานอาหาร” คือ กินร้อน-ช้อนกลาง และเก็บอาหารร้อนให้ร้อน-เก็บอาหารเย็นให้เย็น (Keep hot food hot–keep cold food cold) เช่น แกงควรอุ่นให้ร้อนพอเป็นระยะๆ นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตควรใส่ตู้เย็น เป็นต้น อนึ่ง นอกจากไข้หูดับแล้ว หน่วยปฏิบัติการวิจัย“ศูนย์ความเสี่ยงอาหาร” ก็ยังมีงานวิจัยด้านความเสี่ยงอาหารอื่นๆ ที่มุ่งเน้นบทบาทการประเมินความเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะด้านการจัดการความเสี่ยงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภค และการสื่อสารความเสี่ยงแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องด้วย

ถึงกระนั้น “การประเมินความเสี่ยงนั้นเป็นการสื่อสารจากปลายทาง คือจะเกิดผลอะไรหากปัญหานั้นไม่ถูกแก้ไข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการตรวจย้อนตั้งแต่ต้นทางเพื่อแก้ไขปัญหา” โดยเฉพาะปัจจุบันมีโรคจากสัตว์สู่คนที่มีบทบาทต่อสุขภาพคนมากขึ้น การเลี้ยงสัตว์นั้นมีความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมแต่เชื่อมโยงต่อมาถึงคนเป็นสามประสาน แนวทางการจัดการเรื่องสุขภาพคนให้มีประสิทธิภาพจึงควรพิจารณาสุขภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสัตว์ซึ่งส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นอาหารคนด้วย

เพื่อนำสู่การมีสุขภาพที่ดีโดยองค์รวม!!!

ทีมสื่อสาร Research Cafe

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ

'อ.ทองย้อย' ชี้ 'เสพกามคาจีวร' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved