วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ปัญหาความรุนแรงต่อ‘เด็ก-สตรี’ยังน่าห่วง  ช่วงโควิดยิ่งหนัก เหตุขาดรายได้-เหล้ายาตัวกระตุ้น

สกู๊ปพิเศษ : ปัญหาความรุนแรงต่อ‘เด็ก-สตรี’ยังน่าห่วง ช่วงโควิดยิ่งหนัก เหตุขาดรายได้-เหล้ายาตัวกระตุ้น

วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้ประกาศให้ วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี ส่วนในประเทศไทย คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 ให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” รัฐบาล หน่วยงาน องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชน ได้ระดมความร่วมมือจัดกิจกรรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวตลอดทั้งเดือนเป็นประจำทุกปี

วัตถุประสงค์ของการรณรงค์ดังกล่าว เพื่อปลุกและปลูกจิตสำนึกในการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม และรณรงค์ให้ประชาชนรับรู้ ตระหนักต่อประเด็นปัญหา และมีส่วนร่วม ด้วยการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ


โดยเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ที่ เดอะฮอลล์ กรุงเทพ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว(สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดกิจกรรมเนื่องในเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

ภายในงาน ได้มีการเปิดเผยข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว สค. ที่พบว่าสถิติของผู้กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวในช่วงเดือนตุลาคม 2562-เมษายน 2563 มีจำนวน 141 รายแบ่งออกเป็นความรุนแรงทางร่างกาย ร้อยละ 87 ทางเพศ ร้อยละ 9 และทางจิตใจ ร้อยละ 4 ส่วนปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ยาเสพติด ร้อยละ 35 บันดาลโทสะ ร้อยละ 33 หึงหวง ร้อยละ 25 สุรา ร้อยละ 17 เท่ากับการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 17 อาการจิตเภท ร้อยละ 9 และจากเกม ร้อยละ 2ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ภาคกลาง อีสาน ใต้ เหนือ และ กทม. ตามลำดับ 

ส่วนสถิติความรุนแรงในครอบครัว ตั้งแต่ปี 2559-เมษายน 2563 พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1,400 ราย/ปี หรือ 118 ราย/เดือน เฉลี่ย 4 ราย/วัน ดังนั้น
สค.จึงร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้เป็นกำลังสำคัญ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาในชุมชนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

นางสาวกรรณนิกา เจริญลักษณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ พม. กล่าวว่า สค. ดำเนินการพัฒนาศักยภาพ สนับสนุนหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคและมีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เป็นกลไกขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 7,149 แห่ง เพื่อให้การทำงานของภาคีเครือข่ายง่ายขึ้น สค.และสสส.ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดทำคู่มือ “การทำงานพื้นที่ชุมชนปลอดภัยสำหรับสตรีและเด็ก” มีเนื้อหาและรูปแบบที่ทุกภาคส่วนนำไปปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่ โดยใช้เป็นแนวทางดำเนินงานในพื้นที่ได้ ที่สำคัญหน่วยงานรัฐสามารถดูได้ว่าสิ่งใดที่ต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่าย ในส่วนชุมชนก็สามารถประเมินตนเองได้ว่ามีอะไร ยังขาดอะไร และต้องดำเนินการอย่างไร

นางภรณี  ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากรายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC :United Nations Office on Drugs and Crime)  พบว่ากว่า ร้อยละ 87 ของคดีการล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน เพื่อหาผู้กระทำผิด หรือให้ทางการรับรู้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 66 ภาคใต้มีความรุนแรงในครอบครัวถึงร้อยละ 48.1

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ รายได้ของครอบครัว และการใช้สารเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ในการแก้ปัญหา สสส. สนับสนุนโครงการพัฒนาและยกระดับกลไกชุมชนและทีมสหวิชาชีพในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางสังคม ผ่านมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว เพื่อพัฒนากลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่นำร่อง 4 ชุมชน จนเกิดรูปแบบการทำงานในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวโดยการเชื่อมร้อยกลไกระดับพื้นที่ให้มีคณะทำงานในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งกลไกระดับชุมชน ระดับเครือข่ายชุมชนขยาย และระดับภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเกิดนโยบายระดับพื้นที่ในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว

นางสาวอังคณา  อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กสตรีและครอบครัว ยังคงน่าห่วง มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ สสส.และ สค.จัดทำหนังสือ “คู่มือการสร้างและพัฒนาพื้นที่ปลอดภัยทางสังคมโดยชุมชน” ซึ่งเป็นหนังสือที่จะถ่ายทอดบทเรียนการทำงานของแกนนำชุมชน 3 รูปแบบ ในพื้นที่ชุมชนเมือง คือ ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เขตดุสิต ชุมชนซอยพระเจน เขตปทุมวัน และชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กทม. พื้นที่ชุมชนชนบท คือ ชุมชนบ้านคำกลาง ต.โนนหนามแท่งอ.เมือง จ.อำนาจเจริญ และพื้นที่แรงงานอุตสาหกรรม คือ สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา (ไทยเกรียง)หวังว่า คู่มือฉบับนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในชุมชน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนนำไปประยุกต์ใช้สร้างพื้นที่ปลอดภัยทางสังคม เพื่อร่วมกันยุติความรุนแรงต่อเด็กผู้หญิงและครอบครัว

เนื้อหาคู่มือเล่มนี้ เป็นคู่มือที่ถอดบทเรียนจากกระบวนการทำงานของมูลนิธิร่วมกับแกนนำเครือข่าย ทางมูลนิธิ คิดว่าจะมีการพัฒนาคู่มือดังกล่าเป็น “หลักสูตร” การทำงานสำหรับชุมชนในปี 2564 เพื่อให้ชุมชนนำร่องได้มีการยกระดับการทำงานถ่ายทอดบทเรียนไปสู่ชุมชนที่สนใจต่อไป

นางนัยนา ยลจอหอ ผู้แทนชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เขตดุสิต กล่าวว่า แนวทางการทำงานของเครือข่ายชุมชนวัดสวัสดิ์ฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากเคสความรุนแรง เพื่อหาสาเหตุและกำหนดเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้กำลังขยายพื้นที่จาก 42 ชุมชนในเขตดุสิตไปยังชุมชนอื่นในเขตกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากการเชิญคณะกรรมการของแต่ละชุมชน เข้าอบรมทำความเข้าใจ เมื่อเกิดเหตุขึ้น จะได้หาแนวทางป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้องทันท่วงที ซึ่งเครือข่ายชุมชนวัดสวัสดิ์ฯ พร้อมเป็นแกนกลางให้ชุมชนอื่นประสานความช่วยเหลือ สำหรับการต่อยอดการทำงานให้ยั่งยืน บูรณาการงานทั้งหมดที่มีอยู่ในชุมชนเข้าด้วยกัน เช่น การทำเกษตรพื้นที่แคบ และการฝึกทักษะอาชีพเข้ามาเยียวยาจิตใจผู้ถูกกระทำ เป็นต้น                     

นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง จึงอยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่โดยไม่ปล่อยปละละเลย ที่สำคัญก่อนออก พ.ร.บ.คุ้มครองต่างๆ ต้องดูบริบทของปัญหาของเด็กและสตรีด้วย

การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว แม้จะมีระยะเวลา 1 เดือน แต่เราก็ต้องตระหนักในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป้าประสงค์สูงสุดก็คือ การขจัดปัญหานี้ให้หมดไปจากสังคม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  •  

Breaking News

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

'อุ๊งอิ๊งค์'วางฤกษ์ 9 โมง เข้ากระทรวงวัฒนธรรมวันพรุ่งนี้

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved