วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘วัฒนธรรมป๊อป’  ยุคสมัยกับวิถีสังคม(ไทย)

สกู๊ปแนวหน้า : ‘วัฒนธรรมป๊อป’ ยุคสมัยกับวิถีสังคม(ไทย)

วันเสาร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 08.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“วัฒนธรรมป๊อป (Pop Culture)” มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า “ป๊อปปูลาร์ (Popular)” หมายถึง สิ่งที่ได้รับความนิยมในสังคม (เช่นเดียวกับในทางการเมืองที่มีคำว่า Populism-ป๊อปปูลิสม์ หมายถึงการเมืองแบบประชานิยม) โดยแต่ละยุคสมัยจะมี“กระแสหลัก” ไม่ว่าการแต่งกาย การท่องเที่ยวสื่อบันเทิงและอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่แต่ละคนคุ้นเคยกับคำว่า ยุค 1960 1970 1980 1990 หรือคนรุ่นปู่ รุ่นพ่อ รุ่นลูก ต่างก็มีความทรงจำเกี่ยวกับวัฒนธรรมป๊อปที่แตกต่างกันตามแต่ยุคสมัยที่ตนเองเติบโตขึ้นมา

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “วัฒนธรรมป๊อป วัยรุ่น และชีวิตคน (ใน) เมือง”จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่ง รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า วัฒนธรรมป๊อป หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “วัฒนธรรมสมัยนิยม” เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวัฒนธรรมศึกษา วิชาดังกล่าวก่อตัวขึ้นในทศวรรษที่ 1960 (ปี 2503-2512) ในประเทศอังกฤษ และต่อมาในทศวรรษที่ 1990 (ปี 2533-2542) ก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลก


สำหรับประเทศไทย วัฒนธรรมป๊อปที่คุ้นเคยอาจนับได้ตั้งแต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 2484-2488) สิ้นสุดลง ไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคสงครามเวียดนาม(ปี 2498-2518) ที่สหรัฐฯ ใช้ไทยเป็นฐานทัพหลักในการส่งทหารไปรบ วัฒนธรรมตะวันตกแบบอเมริกันได้ไหลบ่าเข้ามาและได้รับความนิยมในสังคมไทยแม้กระทั่ง “เพลงเพื่อชีวิต” ที่แต่งขึ้นโดยปัญญาชนในยุคนั้นเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ ก็ยังได้รับอิทธิพลจากดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

ต่อมาในยุค 1980 (ปี 2523-2532) ญี่ปุ่นเริ่มเข้ามามีบทบาทในไทยด้านเศรษฐกิจจากการเป็นนักลงทุนอุตสาหกรรมรายสำคัญ เวลานั้นเครื่องรับโทรทัศน์เริ่มแพร่หลายตามครัวเรือนไทยมากขึ้นแม้สื่อกระแสหลักจะยังคงอยู่ในการควบคุมของรัฐ ยุคนี้เริ่มมีการนำรายการจากต่างประเทศเข้ามาฉายในไทยมากขึ้นด้วย จากนั้นยุค 1990 สังคมไทยจึงหันไปนิยม “เจ-ป๊อป (J-Pop)” หรือวัฒนธรรมสมัยนิยมแบบญี่ปุ่น

อนึ่ง ในยุค 1990 เทคโนโลยีการสื่อสารที่เพิ่งเริ่มแพร่หลายอย่าง “โทรศัพท์เคลื่อนที่” ยังมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย โดยเหตุการณ์“พฤษภาทมิฬ 2535” ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ม็อบมือถือ” เพราะผู้ชุมนุมประท้วงที่เป็นชนชั้นกลางหลายคนใช้เทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งเป็นของใหม่ในเวลานั้นสื่อสารเพราะเป็นช่องทางที่ยังไม่ถูกฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐควบคุม ขณะที่เทคโนโลยีดาวเทียมก็พัฒนาไปมากมีช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม รวมถึงการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศ เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ เป็นต้น

ขณะที่ วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระกล่าวถึงดนตรีแนว “อัลเทอร์เนทีฟ (Alternative)” ที่ได้รับความนิยมในยุค 1990 ว่า เป็นการแสดงออกของชนชั้นกลางในยุคนั้นที่ไม่ต้องการมีวิถีชีวิตแบบเดียวกับคนรุ่นพ่อแม่ ซึ่งในยุค 1990s นี้ นักร้อง-นักดนตรี เป็นอาชีพที่พ่อแม่ผู้ปกครองไทยเปิดใจยอมรับมากขึ้น หากเทียบกับในยุค 1970s (ปี 2513-2522) หรือยุค 1980s ที่ครอบครัวไทยยังค่อนข้างรับไม่ได้หากบุตรหลานจะไปทำมาหากินในอาชีพดังกล่าว

รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ อาจารย์ภาควิชาสังคมและสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการใช้“ยาเสพติด” ของวัยรุ่นในยุคสมัยต่างๆ ว่า ในขณะที่การใช้ยาเสพติดเป็นการรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่วัยรุ่นใช้ในการเพิ่มความเป็นตัวตน หรือการสร้างอัตลักษณ์ให้กับตนเอง ทำให้ตนเองมีความสุข แต่สังคมมองว่าเป็นเรื่องนอกกรอบและผิดกฎหมาย เช่น การรวมกลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติด สังคมไทยมักมองไปถึงว่าต้องมีการมั่วสุมเรื่องเพศด้วย ทั้งที่อาจเป็นเพียงปาร์ตี้ยาที่มีดนตรีเป็นส่วนประกอบ และไม่มีเรื่องเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ วัยรุ่นบางคนมีความคิดสร้างสรรค์ในดัดแปลงสารเสพติดต่างๆ บางตัวสร้างไว้เพื่อเป็นยารักษาโรค เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ โดยมีการผสมผสานตัวยาต่างๆ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ได้แก่ คุกกี้กัญชา หรือแม้แต่ “เคนมผง” ที่เป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งวัยรุ่นทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นความลับ เนื่องจากกลัวที่บ้านจะรู้ หรือกลัวตำรวจจับ จึงมีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากสังคม

รศ.ดร.โธมัส กล่าวต่อไปว่า การที่วัยรุ่นถนัดในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น สื่อออนไลน์ (SocialMedia) ทำให้มีวิธีต่างๆ ให้การเชิญชวนเข้าร่วมปาร์ตี้ได้อย่างรวดเร็ว บางทีอาจจะมีค่าใช้ในการเข้าร่วม หรือวิธีอื่นๆ ที่มากกว่านั้น สื่อออนไลน์สามารถทำให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่อยากจะแชร์กัน ซึ่งรวมถึงการทดลองสารต่างๆ หรือดัดแปลงต่างๆ ด้วยตัวเองจนเกิดสูตรใหม่ๆ ด้วย ต่างจากในอดีตที่บอกกันปากต่อปาก

“การเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นพวกนี้จะมีการเข้าถึงที่ยากมาก จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ใช้ยาเกินขนาด และการติดเชื้อโรค จึงทำให้เห็นว่าสังคมยังไม่มีพื้นที่ให้กลุ่มวัยรุ่นพวกนี้แสดงออกทางความคิด หรือพบปะเพื่อนฝูง การที่กลุ่มวัยรุ่นมีความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะสร้างสูตรยาต่างๆ หรือการลองใช้กับตัวเองถือว่ามีความเก่งมากและฉลาดมาก เพียงแต่ไม่มีพื้นที่และสังคมให้กลุ่มวัยรุ่นพวกนี้” รศ.ดร.โธมัสให้ความเห็น

ปิดท้ายด้วยนักวิชาการที่สนใจศึกษาชุมชนคนจนในเมือง รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากย้อนไปในอดีตประมาณ 20 ปีที่แล้ว ยุคนั้นสังคมไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีคำเรียกคนไร้บ้าน ซึ่งหมายถึงคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ แต่จะคุ้นเคยกับคำว่าคนจรจัดหรือคนเร่ร่อน อันเป็นคำที่มีความหมายตีตราคนเหล่านี้

“พอศึกษาเข้าจริงๆ พบว่าคนไร้บ้านไม่ได้เป็นอาชญากร แต่กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นไร้บ้านด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ครอบครัวมีปัญหา โครงสร้างเศรษฐกิจแย่ทำให้ตกงาน จึงทำมีความเสี่ยงกลายเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้รู้จักเอาชีวิตรอดให้สังคม แต่หลังจากสื่อมวลชนสนใจกลุ่มคนไร้บ้าน ทำให้สังคมเข้าใจกลุ่มนี้มากขึ้น ทำให้เห็นว่าพวกเขามีที่ดินและที่อยู่อาศัยในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาดูแลช่วยเหลือ” รศ.ดร.บุญเลิศ ระบุ

รศ.ดร.บุญเลิศ ยังกล่าวถึงความพยายามจัดระเบียบกันเองของชุมชนในเมือง เช่น “ชุมชนป้อมมหากาฬ” ช่วงหลังปี 2540 เคยมีการวางแผนพัฒนาในลักษณะอนุรักษ์ชุมชนเก่า ตามกระแสนิยมในเวลานั้นที่สังคมสนใจเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเมืองเก่า โดยผู้นำชุมชนใช้ทั้งการต่อรองและการหาพันธมิตรมาช่วย แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานความตั้งใจของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ต้องการรื้อย้ายชุมชนออกจากแนวป้อมให้ได้

แต่ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า..ชุมชนคนจนเมืองไม่จำเป็นต้องไร้ระเบียบอย่างที่มักถูกมองเสมอไป!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'อนุทิน'โต้ลั่นไม่เกี่ยวปมฮั้วเลือกสว.​ จี้สื่อฯงัดเอกสารสั่งห้ามสมาชิกภท.เอี่ยวมาตีแผ่​ เชื่อการเมืองชัด ปั้นระดับจุลภาคขยายมหภาค

เปิดตัวหนังฟอร์มยักษ์'Mission : Impossible - The Final Reckoning'หนุ่มวิน เมธวิน'ร่วมปฏิบัติภารกิจสุดเดือด

‘อลงกต’ออกลูกอินเตอร์ สปีคไชนิสปม‘ฮั้วสว.’ หลังวานนี้พูดภาษาฝรั่งเศสมาแล้ว

เปิดภาพ 4 คนร้าย แต่งกายคล้ายผู้หญิงยิง อส. ดับ 2 ราย ขณะออกกำลังกาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved