วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘กัญชาเพื่อการแพทย์’ในไทย  จุดสมดุล‘สุขภาพ-ผลกระทบ’

บทความพิเศษ : ‘กัญชาเพื่อการแพทย์’ในไทย จุดสมดุล‘สุขภาพ-ผลกระทบ’

วันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

“รายงานวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐศาสตร์ของกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย” จัดทำโดย ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ สํานักงานพัฒนานโยบาย สุขภาพระหว่างประเทศ และทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) โดยการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่า กัญชาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรค ที่มีการใช้ในรูปแบบยาสมุนไพร และยาพื้นบ้าน

โดยมีรายงานการใช้ประโยชน์ของกัญชาในประวัติศาสตร์ของประเทศจีน และในหลายพื้นที่ทั่วโลกมาช้านาน ก่อนที่จะมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้เนื่องจากตระหนักถึงผลกระทบทางสุขภาพ โดยเฉพาะผลด้านการเสพติดที่เกิดจากการใช้กัญชา ซึ่งข้อตกลงจาก the Single Convention of the United Nations ในปี 1961 จัดกัญชาทั้งในรูปแบบของ สมุนไพร เรซิ่น และสารสกัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 4


แต่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจากการที่กัญชาจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติดเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการศึกษาวิจัยทั้งเพื่อพิสูจน์ฤทธิ์ทางการรักษาของสารสําคัญ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้กัญชาในการรักษา และ
ผลกระทบทางด้านทางด้านสาธารณสุข ที่เกิดจากการออกกฎหมายอนุญาตใช้กัญชา ทั้งนี้ ปัจจัยสะท้อนระดับความเสรีของการอนุญาตใช้กัญชามีหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้กัญชาในรูปแบบยาแผนโบราณ

โดยในหลายประเทศทั่วโลกมีการใช้กัญชาในรูปแบบสมุนไพรเป็นยาพื้นบ้าน เช่นเดียว กับประเทศไทยมาตั้งแต่ในอดีต กระทั่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายอนุญาตใช้ทางการแพทย์ในรูปแบบยา เตรียมที่แตกต่างกันซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้เป็น 3 รูปแบบ คือการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชาโดยตรง เช่น การใช้กัญชาในรูปแบบสมุนไพร การใช้สารสกัดกัญชา ซึ่งรวมถึงการสกัดกัญชาในทุกรูปแบบส่วนใหญ่จะเป็นการสกัดกัญชาโดยใช้สารระเหยเพื่อผลิตน้ำมันกัญชา และการใช้สารสังเคราะห์

“องค์ประกอบสําคัญ 2 ด้าน ที่จําเป็นต้องใช้ในการกํากับควบคุมการใช้กฎหมายกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ การกระจายกัญชาทางการแพทย์ และระเบียบวิธีในการอนุญาตใช้กัญชาให้กับผู้ป่วย” แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการประเมินต้นทุนสําหรับการกํากับควบคุมที่มีทางเลือกหลากหลาย โดยเฉพาะต้นทุนที่เกิดกับผู้ป่วยซึ่งการเข้าถึงยาผ่านทางช่องทางพิเศษมีแนวโน้มจะเป็นช่องทางที่มีต้นทุนต่อผู้ป่วยสูงที่สุด ใช้เวลาในการเข้าถึงยามากที่สุด

และการเตรียมยาในรูปแบบตํารับยาทางเภสัชกรรมจะส่งผลให้เกิดต้นทุนต่อผู้ป่วย มากกว่าการเตรียมยาในรูปแบบสมุนไพร อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้านต้นทุนนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาล ที่จะชดเชยให้กับประชาชน และการกําหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมที่มีคุณภาพสูงมาก ย่อมส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน อีกประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ ลักษณะของอุตสาหกรรมกัญชาในประเทศ

“การมีลักษณะอุตสาหกรรมในรูปแบบที่รวมการผลิตไว้ที่ศูนย์กลาง อาจนําไปสู่การผูกขาดทางการค้าและส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เนื่องจากขาดการแข่งขันทางการตลาดต้นทุนในการบริหาร จัดการและกํากับติดตามการปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายจะตกเป็นของรัฐบาล แต่ก็มีข้อดีคือช่วยลดการรั่วไหลของผลิตภัณฑ์ยากัญชาทางการแพทย์สู่การใช้ในทางสันทนาการได้ดีที่สุด

ในทางกลับกัน การบริหารจัดการแบบกระจายการจัดการ เช่น การยอมให้มีผู้ผลิตภายในประเทศ แล้วเก็บภาษี จะส่งผลต่อประโยชน์ด้านการสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล แต่สิ่งที่ต้องมองต่อไปก็คือ ความเข้มงวดของการใช้กฎหมายกัญชาทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากองค์ประกอบของกฎหมายอนุญาตใช้กัญชาทาง การแพทย์จากการศึกษาในต่างประเทศ มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก”

ประเด็นด้านวัตถุประสงค์ของการใช้กัญชา กับแนวโน้มการอนุญาตใช้กัญชาทางการแพทย์ในระยะหลังยังมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะกรณีอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงกัญชาในช่องทางที่หลากหลาย “ในกรณีที่การกำกับติดตามการใช้นโยบายหละหลวม จะส่งผลให้เกิดเส้นแบ่งที่ไม่ชัดเจนระหว่างการใช้กัญชาทางการแพทย์และใช้ทางสันทนาการ” ซึ่งรูปแบบการใช้กัญชาในประชากร ทั้ง 2 กลุ่มย่อมแตกต่างกัน

ดังนั้นความไม่ชัดเจนในการระบุช่องทางการใช้กัญชาของผู้ป่วย ย่อมส่งผลต่อการประเมินนโยบายอนุญาตใช้กัญชา ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อประเมินวัตถุประสงค์ในการใช้กัญชา ก่อนทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายอนุญาตใช้กัญชาที่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากในบางกรณี กลุ่มประชากรที่ใช้กัญชาทางการแพทย์อาจมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะส่งผลให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการใช้กัญชาเมื่อมีการบังคับใช้กฎหมาย

การมีฐานข้อมูลเพื่อกำกับติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์จำหน่ายยาจากกัญชาทางการแพทย์ ประวัติการซื้อขายยา ความแรงของผลิตภัณฑ์ และราคาของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มบังคับใช้กฎหมาย จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการศึกษาแบบแผนการใช้กัญชาในกลุ่มประชากร ทั้งในด้านการใช้กัญชาโดยตรง และในด้านการเปลี่ยนแปลงใช้กัญชาควบคู่กับสารเสพติดประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์กัญชาลดลง รวมถึงความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ กำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่มีการเปิดตลาดกัญชาเสรี

“กัญชาทางการแพทย์” จําเป็นต้องรักษาความยืดหยุ่นให้สมดุล ระหว่างการเข้าถึงกัญชาเพื่อใช้ ในการรักษาโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสิทธิได้รับยาตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งหมายถึงผลได้ของการอนุญาตใช้ กฎหมายกัญชา และการใช้ยากัญชาทางการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยที่นอกเหนือไปจากกลุ่มโรค ที่ได้รับอนุญาต รวมถึงการรั่วไหลของยากัญชาที่ไปสู่การใช้ทางสันทนาการซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับการกําหนดมาตรการ การควบคุมกํากับ และระบบข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง และติดตาม เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายดังกล่าวจะทําให้สังคมไทยได้ประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก  ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย
  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  •  

Breaking News

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved