วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : เรื่องที่ ‘ต้องทำทันที’ เพื่อ ‘โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง’

บทความพิเศษ : เรื่องที่ ‘ต้องทำทันที’ เพื่อ ‘โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง’

วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

1.“โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” คือ นโยบายล่าสุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “นายณัฏฐพลทีปสุวรรณ” ด้วยความตั้งใจยกระดับคุณภาพโรงเรียนในพื้นที่สี่มุมเมืองของกรุงเทพมหานคร และหวังว่าจะส่งผลให้เกิดการยกระดับอย่างต่อเนื่องไปยังโรงเรียนอื่นๆ ในอนาคต

สำหรับประเด็นที่รัฐมนตรีท่านนี้ต้องการจะทำคือ หนึ่ง สนับสนุนการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี สอง จัดหาครูสอนภาษาต่างประเทศ สาม ปรับกระบวนการยกระดับความรู้ของแต่ละหลักสูตรให้น่าสนใจ และสี่ ผลักดันให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล นี่เป็น 4 เรื่องที่จะทำให้ “โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” ตามนโยบายใหม่ (2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)


ก่อนอื่นผมขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “คำเฉพาะ” ที่ รมว. ท่านนี้ และอดีตรมว.ศธ. ในอดีตอีกหลายท่านพยายามประดิษฐ์ขึ้นมาเรียกขานนโยบายของตัวเอง เพื่อสร้าง “การจดจำส่วนตัว” อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, คูปองครู, 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ, โรงเรียน ICU จนมาถึงปัจจุบัน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ซึ่งไม่ปฏิเสธว่า เป็นการง่ายต่อการจดจำ แต่จากประวัติศาสตร์ของ ศธ. ที่ผ่านมา นโยบายจำง่ายเหล่านี้ก็มักจะหายไปพร้อมกับเจ้าของนโยบาย (รมว.) อยู่เสมอ ในครั้งนี้จึงหวังว่า จะไม่เกิดขึ้นกับ “โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” อีกหน

2.ในส่วนของ 4 ประเด็นที่จะทำให้โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองนั้น ก็คงต้องขอลงรายละเอียดเป็นเรื่องๆ ไปเพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติอย่างแม่นยำ ดังนี้

1.การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับปัจจุบัน และอนาคต แต่ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นเพียง “เครื่องมือ” หรือพาหนะในการสอนของครูเท่านั้น แต่การเตรียม “สาระวิชา” ให้ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น การทำภาพประกอบ (Infographic) ของประเด็นความคิดอันเป็นสาระวิชาที่นำมาสอน นั่นคือสิ่งสำคัญ ที่ต้องเตรียมการให้พร้อม ส่วนเทคโนโลยีนั้น ต้องมีไว้เพื่อช่วยสนับสนุนให้นักเรียนสามารถค้นคว้าและทำงานกลุ่มได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งโรงเรียนควรต้องจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ให้นักเรียนได้ครบทุกคน โดยไม่ต้องเป็นภาระของพ่อแม่ผู้ปกครอง

2.สำหรับการจัดหาครูสอนภาษาต่างประเทศ หัวใจสำคัญก็คือ ครูสอนภาษาต่างประเทศต้องมีทักษะเรื่อง“วิธีการสอน” ภาษา ไม่ใช่แค่เพียงพูดภาษาอังกฤษได้เท่านั้น ที่สำคัญ ต้องเข้าใจด้วยว่า การจ้างครูสอนภาษาต่างประเทศ ต้องเป็นครูที่มาจากประเทศเจ้าของภาษาเท่านั้น เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอังกฤษ เพราะทุกวันนี้ภาษาอังกฤษก็ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก จึงมีทั้งภาษาอังกฤษสำเนียงสิงคโปร์ อินเดีย ตุรกี หรือเยอรมัน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อชีวิตจริงของนักเรียนมีโอกาสได้ยินภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงอันหลากหลาย การฝึกให้นักเรียนไทยสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษในสำเนียงต่างๆ ได้จึงเป็นสิ่งที่ดี

3.การปรับกระบวนการยกระดับความรู้ของแต่ละหลักสูตรให้น่าสนใจ เป็นเรื่องยากที่สุดของนโยบายนี้เพราะการยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพ ต้องอาศัยการทำงานหนักด้วยวิธีการที่ถูกต้องของครู ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย เพราะครูส่วนใหญ่ทำไม่เป็น และส่วนหนึ่งก็ไม่ต้องการจะทำ ดังนั้น สำหรับคำว่า “น่าสนใจ” ที่รัฐมนตรีนำมากำหนดใช้นั้น คือความกังวลของผม ว่าจะตกลงไปใน “กับดัก” ของข้าราชการกระทรวง คือ ทำให้ “รูปแบบ” การสอนน่าสนใจ แต่ในเรื่องสาระและการเรียนรู้ของนักเรียนจะไม่เกิดขึ้น เช่น การเปิดให้นักเรียนดูภาพยนตร์ และคลิปต่างๆ ซึ่งนักเรียนก็จะสนใจกับภาพยนตร์และคลิปเหล่านั้น แต่เมื่อดูจบแล้ว นักเรียนไม่สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้จากภาพยนตร์หรือคลิปนั้นได้เลย เป็นต้น 

และ 4.การทำให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ดี และมีการพูดกันมานาน แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเสียที รัฐมนตรีก็พูดเองว่า กังวลเกี่ยวกับกฎระเบียบของกระทรวงจะทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นไม่ได้ นั่นเพราะการเป็นโรงเรียนนิติบุคคลนั้น หมายความว่าโรงเรียนจะได้รับงบประมาณอุดหนุนเป็นก้อน (Block Grant) และผู้บริหารโรงเรียนสามารถบริหารงบประมาณก้อนนั้นได้อย่างอิสระ ซึ่งทำให้ข้าราชการในส่วนกลางของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่สามารถแทรกแซงได้ หรือเป็นการลดอำนาจของข้าราชการในส่วนกลางและในเขตพื้นที่การศึกษานั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยาก และคาดว่าคงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในสมัย รมว. ท่านนี้ ซึ่งถ้า รมว. มีความตั้งใจจริง ผมขอเสนอให้ท่านเริ่มต้นที่การกระจายงบประมาณอุดหนุนตรงไปให้โรงเรียนก่อนเลย ซึ่งเชื่อว่าในส่วนอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคจะค่อยๆ ปรับตัวยอมรับในเวลาต่อมา

4.สำหรับนโยบาย “โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” ต้องถือว่าเป็นความตั้งใจที่ดีของ รมต.ณัฏฐพล ที่จะสร้างโรงเรียนคุณภาพให้เกิดขึ้น 4 แห่งเป็นตัวอย่างใน กทม. ซึ่งผมคาดว่า โรงเรียนทั้ง 4 แห่งนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนทั้งงบประมาณและเครื่องมืออุปกรณ์มากมาย แต่อย่างที่ผมนำเสนอไปแล้วว่า “คุณภาพการสอน” ของครู คือสิ่งสำคัญที่สุดต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากเมื่อประเมินจากการทำงานในตำแหน่งมากว่า 2 ปีของ รมว. คนนี้ ที่ไม่เคยพยายามแก้ไข “วิธีการสอน” ของครูในโรงเรียนที่สังกัดกระทรวง ศธ. เลย แล้วจะหวังอะไรกับท้ายขบวน ซึ่งเป็นข้าราชการประจำที่มีข้อจำกัดในการทำงานของตนเองมาอย่างยาวนานจน ศธ. ไม่มีผลงานอันน่าประทับใจอะไรเกิดขึ้นมาเลยในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่เป็นกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงเป็นอันดับต้นๆ ในทุกๆ ปี

แม้ว่า รมว. ท่านนี้จะติดกับดักข้าราชการประจำเหมือนกับอดีต รมว.หลายๆ ท่านที่ผ่านมา จนทำให้ผมมีความเชื่อที่ว่านโยบาย “โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” ก็คงจะไปไม่ถึงไหน กระนั้น ผมก็แอบมีความหวังน้อยๆ ว่า รมต.ณัฏฐพล จะส่งผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพสูง (เก่งและดี) ที่มี “ภาวะผู้นำ” ไปประจำที่โรงเรียนตัวอย่างทั้ง 4 แห่งนี้ได้อย่างแม่นยำ เพราะข้อสรุปของการบริหารการศึกษาข้อหนึ่งที่ผมเรียนรู้มาจากประสบการณ์ในการทำงานก็คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีคุณภาพ คือกุญแจไขไปสู่การเป็นโรงเรียนที่ดี ซึ่งข้อเสนอ เช่นนี้ ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากในระดับ รมว. เพื่อที่งบประมาณสำหรับนโยบายนี้ จะมีประโยชน์ขึ้นมาบ้างสำหรับคุณภาพการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียน

กนก วงษ์ตระหง่าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

'เดชอิศม์'ลั่น! ทำได้ทุกด้านหาก'มท.1'มอบหมาย

'อุ๊งอิ๊งค์'วางฤกษ์ 9 โมง เข้ากระทรวงวัฒนธรรมวันพรุ่งนี้

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved