วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยานยนต์’กับ‘ฝุ่นพิษ’  รู้ปัญหา..แต่จะแก้อย่างไร?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยานยนต์’กับ‘ฝุ่นพิษ’ รู้ปัญหา..แต่จะแก้อย่างไร?

วันอาทิตย์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 07.45 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เป็นปัญหาตามฤดูกาลไปแล้วสำหรับ “PM2.5” หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน ที่เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวยาวไปจนถึงต้นฤดูร้อนของทุกปี คนไทยจะต้องเผชิญกับมลพิษชนิดนี้ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และแม้จะรู้สาเหตุแต่ก็ไม่ง่ายที่จะแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการเผา โรงงานอุตสาหกรรมและโดยเฉพาะ “ไอเสียยานพาหนะ” ดังที่มีการกล่าวถึงในงานเสวนา “PM2.5 มัจจุราชเงียบ” จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงต้นเดือนก.พ. 2564 นี้ อันเป็นช่วงเวลาที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) กำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5อย่างรุนแรง

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศทั่วโลกประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคำถามว่า เหตุใดไม่ปรับค่ามาตรฐานจาก 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ลงไปอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ถึงกระนั้นการเปลี่ยนก็ต้องมีระยะเวลา เช่น กรณีของรถยนต์ หากยังไม่หันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลงที่ได้มาตรฐานยูโร 5-ยูโร 6 (EURO V-EURO VI) ก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้


หรือจะเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) หรือไม่? เพราะหากเปลี่ยนไปในทิศทางนี้ก็ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำมันข้างต้น “รัฐจะเอาอย่างไรกันแน่..ยานยนต์ไฟฟ้าก็ไม่มีความชัดเจน ปรับปรุงมาตรฐานน้ำมันก็เลื่อนแล้วเลื่อนอีก ประชาชนจึงต้องแบกรับผลกระทบ” ซึ่งประชาชนเองก็ต้องช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องว่าอยากให้ไปในทิศทางใด แต่ถึงกระนั้น “ด้วยความที่ทุกคนเป็นต้นเหตุของปัญหา ก็ยิ่งทำให้การแก้ไขเป็นไปได้ยาก” เพราะหาเจ้าภาพรับไม่ได้

ศ.ดร.ศิวัช ยกตัวอย่างการวัดแหล่งกำเนิดฝุ่นช่วงปี 2560-2561 ไอเสียจากยานพาหนะยังเป็นแหล่งกำเนิดหลัก เช่น กรุงเทพฯ ไอเสียยานพาหนะอยู่ที่ร้อยละ 44 ในขณะที่การเผาอยู่ที่ร้อยละ 24 เช่นเดียวกับ เชียงใหม่ ไอเสียยานพาหนะอยู่ที่ร้อยละ 52 ขณะที่การเผาซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุหลักกลับมีเพียงร้อยละ 16 ไม่ต่างจากภูเก็ต ไอเสียยานพาหนะอยู่ที่ร้อยละ 56 ส่วนการเผาอยู่ที่ร้อยละ 11 “ดังนั้นถ้ายังจะให้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไป การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงก็จำเป็น” แม้ทุ่มงบประมาณมากแต่ก็ต้องทำเพื่อไม่ให้ปอดของประชาชนต้องเสี่ยงกับมลพิษ

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพอถึงช่วงปลายปี
หลายคนอาจจะรู้สึกสบายใจเพราะเห็นหมอกสวยๆ เข้าใจว่าอากาศดี แต่จริงๆ อาจจะเป็นปรากฏการณ์ฝุ่นก็ได้ และหากฝุ่นมาในช่วงเดือนธันวาคม พอเดือนตุลาคมจะมีบางวันมีฝุ่นเกิดขึ้นมากราวกับเป็นสัญญาณเตือน ซึ่งก็ตามมาด้วยคำถาม “ทำไมคนเราต้องจ่ายเงินซื้ออากาศบริสุทธิ์หายใจ” แต่ละคนต้องซื้อเครื่องฟอกอากาศหรือหน้ากากกันฝุ่นมาใช้

“วันนี้มันเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับรุ่นลูกสาวผม เกิดมาคุณต้องซื้ออากาศบริสุทธิ์หายใจ มันคือความจริง มันเป็นเรื่องน่ากลัวมาก คนที่จะอยู่รอดในภาวะฝุ่นพวกนี้คือคนที่มีเงินซื้อเครื่องฟอกอากาศ คนที่มีเงินซื้อหน้ากาก มันก็เลยย้อนกลับไปว่า ผมก็ชอบพูดกระแซะเรื่อยๆ ใครตามผมจะรู้ว่าผมชอบกระแซะเรื่องการเมือง จริงๆ รัฐต้องเข้ามาแก้” อาจารย์เจษฎา กล่าว

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในระดับปัจเจกเริ่มมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวในช่วงที่มีฝุ่นมาก ขณะที่หลายคนก็เห็นวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการหาสิ่งของกันฝุ่นมาขายจนต้องระมัดระวังสินค้าไม่มีคุณภาพหรือหลอกลวง ส่วนหน่วยงานต่างๆ ก็จัดสรรงบประมาณมาติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบ้าง เอารถดับเพลิงไปตระเวนฉีดน้ำบ้าง ซึ่ง อาจารย์เจษฎา มองว่า “เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ” เพราะปริมาณฝุ่นในอากาศนั้นมหาศาลมาก

ในขณะที่การแก้ไขต้นเหตุ รัฐต้องผลักดันอย่างจริงจัง เช่น เปลี่ยนยานพาหนะที่ใช้ประจำหน่วยงานรัฐเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้า โดยค่อยๆ ทยอยทำไปตามลำดับไม่ต้อง
ทำทีเดียว ซึ่งการเปลี่ยนผ่านจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนข้อกังวลเรื่องสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ยังมีไม่มาก ประเด็นนี้หากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนว่าจะเปลี่ยนสู่ยุคสมัยของยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิง ในไม่ช้าสถานีบริการน้ำมันก็จะเปลี่ยนเป็นสถานีชาร์จไฟฟ้า ซึ่งจะมาพร้อมรายได้ทางอื่น เช่น ร้านกาแฟสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะระหว่างรอชาร์จพลังงานให้เต็ม

“ปักกิ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้วคือเมืองที่ไม่มีใครกล้าไป วันนี้คือหนึ่งในเมืองที่อากาศบริสุทธิ์สูงมาก เกิดสงครามกับอากาศ ทำอย่างไรให้อากาศมันดีขึ้นได้ ปักกิ่งสิ่งแรกที่ทำในปีแรกเลยคือห้ามรถเมล์ รถแท็กซี่ทั้งหมดที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปวิ่ง โละหมดเลยปีแรก ถ้าคุณจะวิ่งแท็กซี่ที่นี่ต้องเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ที่ปักกิ่งหรือแม้แต่จีนทั้งประเทศ เมื่อ 10 ปีที่แล้วรถไฟฟ้ายังขายไม่ดี แต่มอเตอร์ไซค์เกือบทุกคันเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

เพื่อนผมอยู่ไต้หวัน เจ๋งมากเลย มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายดีมาก แล้วมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะไปชาร์จที่ไหน เขาบอกว่าวิ่งเข้าไปปุ๊บแลกแบตเตอรี่เลย แบตเตอรี่เราคืนกับร้าน เอาอันนี้ใส่มาแล้ววิ่งออกไปเลย ง่ายดี คือหลายอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นภาครัฐต้องเอาให้แน่ว่าจะเอาอย่างไร เราคงต้องอยู่กับมันอีกนานแน่ๆ เหมือนกับโควิดที่ต้องอยู่กับมันอีกนาน แต่เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าหาทางออกได้ มีตัวอย่างต่างประเทศที่เขาทำสำเร็จแล้ว ถ้าเอาจริงมันทำได้” อาจารย์เจษฎา ระบุ

อาจารย์เจษฎา ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าก้าวหน้าไปมากแล้วจากในอดีต เช่น ทำความเร็วได้แรงขึ้น หรือให้กำลังที่ดีขึ้น อนึ่ง คนไทยยังติดอยู่กับหลักคิด “ดีเซลคือเชื้อเพลิงของคนจน” เช่น ในภาคเกษตรกรรม ทำให้นโยบายรัฐยังตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้ถูกอยู่ต่อไป ทั้งที่ทุกวันนี้เกษตรกรก็ไม่ได้ยากจนเสมอไป นโยบายแก้ปัญหาฝุ่นจากปัจจัยเรื่องยานยนต์สามารถดำเนินการได้ก่อน แล้วส่วนของปัจจัยอื่นค่อยตามไป

ด้าน ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เมื่อนโยบายชัดเจนผู้ปฏิบัติก็สามารถปฏิบัติตามได้ เช่น เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน นโยบายรัฐเคยมีการพูดถึงยานยนต์ไฟฟ้าและภาคเอกชนก็ขานรับ แต่หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป“ถ้ายังจะต้องใช้ยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปต่อไปก็ต้องคุมกำเนิดรถยนต์ให้ได้” ไม่ใช่ปล่อยให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กันจนการจราจรติดขัด แล้วก็สร้างทางด่วนบ้าง ขยายเมืองบ้างไม่จบไม่สิ้น เทคโนโลยีดีเพียงใดก็ลดปริมาณไอเสียในอากาศลงไม่ได้

สุดท้ายแล้วคนที่ต้องช่วยก็คือ “ตัวเอง (แต่ละคนหาทางเอาตัวรอดกันเอง)” และ “เวลา (รอให้ฤดูฝนผ่านพ้นไปเองในแต่ละปี)”!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'อ.ทองย้อย' ชี้ 'เสพกามคาจีวร' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน

‘ไผ่ ลิกค์’คาดคุยโควตารองประธานสภา วงกินข้าวพรรคร่วมรัฐบาล 22 ก.ค.นี้

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

คึกคักรับหยุดยาว! นทท.แห่เที่ยวเกาะล้าน-เผย'เที่ยวไทยคนละครึ่ง'ไม่ทันใช้สิทธิ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved