วันพฤหัสบดี ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
คุยกับ'ประยงค์ ดอกลำใย'กรณี'Saveบางกลอย' รัฐไทยยังยึดมั่น'คนห้ามอยู่ป่า'แม้โลกเปลี่ยนแปลง

คุยกับ'ประยงค์ ดอกลำใย'กรณี'Saveบางกลอย' รัฐไทยยังยึดมั่น'คนห้ามอยู่ป่า'แม้โลกเปลี่ยนแปลง

วันอังคาร ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564, 15.41 น.
Tag : กะเหรี่ยงบางกลอย ใจแผ่นดิน ประยงค์ ดอกลำใย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน Saveบางกลอย
  •  

“#Saveบางกลอย” เป็นหนึ่งในเรื่องร้อนของสังคมไทย ณ ขณะนี้ ว่าด้วยชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่ขอกลับไปอาศัยในพื้นที่บ้านบางกลอยบน หรือที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเป็นข้อพิพาทกับทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตลอดจนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานาน โดยเฉพาะ “ยุทธการตะนาวศรี” ในปี 2554 ที่มีการระดมกำลังไล่รื้อชุมชนชาวเกะเหรี่ยง กระทั่งศาลปกครองมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ระบุว่าการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่นั้นเกินกว่าเหตุ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ชดใช้ค่าเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ศาลมิได้ตัดสินให้ชาวบ้านกลับขึ้นไปอาศัยบนพื้นที่ใจแผ่นดินเดิม ข้อพิพาทรอบใหม่จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีชาวบางกลอยบางส่วนพยายามขึ้นไปตั้งหมู่บ้าน ณ จุดดังกล่าว นำมาสู่การระดมกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อนำตัวชาวบ้านออกจากพื้นที่อีกครั้ง โดยเริ่มมีข่าวตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.พ. 2564 และมีการจับกุมครั้งล่าสุดในวันที่ 5 ก.พ. 2564 นำมาสู่การตั้งเวทีเสวนา “ก่อนฟ้าสางที่...บางกลอย” ข้างทำเนียบรัฐบาล เย็นวันที่ 8 มี.ค. 2564 ซึ่งผู้สื่อข่าวมีโอกาสได้พูดคุยกับหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา คือ ประยงค์ ดอกลำใย ที่ปรึกษา “พีมูฟ” ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) ในฐานะผู้ที่ทำงานประเด็นคนกับป่ามานาน


- ปัจจุบันคนยอมรับเรื่องคนอยู่กับป่ามากน้อยแค่ไหน? ทุกวันนี้ในขณะที่ชาวบางกลอยและผู้ที่สนับสนุนแนวคิดคนอยู่ร่วมกับป่าได้กำลังต่อสู้กันอยู่ อีกด้านหนึ่งก็มีคนส่งต่อเนื้อหาบนโลกออนไลน์ โจมตีการต่อสู้ของชาวบางกลอยและเครือข่ายโดยบอกว่า หากปล่อยให้ชาวบางกลอยชนะ ต่อไปคนก็อ้างต่างๆ นานา เพื่อเข้าไปอยู่ในป่า แล้วป่าไม้ในเมืองไทยก็จะถูกตัดหายหมด มองเรื่องนี้อย่างไร?

ประยงค์ : มันพอยอมรับได้ระดับหนึ่ง ในความหมายที่ว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เคยเข้าใจเลย ก็จะไมได้เข้าใจ ไม่ได้เปลี่ยนความคิดเขา คือเขาก็มองว่า มีความเชื่อว่าป่าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม คนที่รักสิ่งแวดล้อมเขาก็ยอมไม่ได้ แล้วเหมือนกลัวว่าป่าจะหายไปโดยที่เขาไม่มีความรู้ความเข้าใจ ป่าหายไปถ้าดูจากในอดีตมันหายไปจากที่ไหน มันหายไปจากพื้นราบก่อน แล้วก็จะติดวาทกรรมป่าต้นน้ำ วาทกรรมว่าป่าทำให้ฝนตก ถ้าไม่มีป่าฝนก็จะไม่ตก จริงๆ มันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ มันไม่ได้เกิดจากป่าไม้โดยตรง

- ได้เคยพูดคุยกับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้างหรือไม่? เขาเข้าใจมากน้อยเพียงใด?

ประยงค์ : ผมคิดว่าเข้าใจน้อยมาก ถ้าดูง่ายๆ มีป่าไม้น้อยมากที่ไม่เชื่อแนวคิดนั้น (หมายถึงไม่เชื่อในแนวคิดที่ว่าในป่าต้องไม่มีคนอยู่) แต่ท้ายที่สุดก็อยู่ในระบบไม่ได้ มันถูกปลูกฝังมาจากสถาบันการศึกษา มันมีอยู่สถาบันเดียว ความรู้วิชาวนศาสตร์มันไม่เป็นสหวิทยาการ เหมือนกับคณะรัฐศาสตร์ที่สอนได้ทุกมหา’ลัย มันก็จะเกิดการแข่งขัน ในขณะที่วิชาวนศาสตร์ในประเทศไทยมันไม่เกิดการแข่งขัน มันผูกขาดอยู่ในสถาบันเดียว แล้วมันก็มีระบบโซตัส (SOTUS) ระบบพี่ระบบน้อง แล้วคนเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผลิตเข้ามาในระบบ ใน 2-3 กรมในกระทรวงทรัพยฯ ฉะนั้นมันก็ต้องสั่งสมวิธีคิดแบบนี้

- แบบนี้ก็ทำงานกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ยาก?

ประยงค์ : ยากมาก ผมเข้าใจว่ามันเป็นมายาคติเกี่ยวกับเรื่องป่าที่เข้าใจกันผิดๆ คือถ้าเชื่อว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้อย่างไรมันก็ยอมรับอะไรไม่ได้เลย ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้น้อยลง ในขณะที่คนที่เข้าใจ คนที่ยอมรับได้ก็ไม่ได้มีมากขึ้นเท่าไร เป็นการต่อสู้กัน 2 กลุ่ม มันก็ประมาณนี้ ทั้ง 2 ขั้วก็ยังสูสี ยันกันอยู่อย่างนี้

- ในกรณีบางกลอย รวมถึงกรณีทวงคืนผืนป่าที่เป็นผลกระทบตกทอดมาจากยุค คสช. พีมูฟจะทำอะไรต่อไป?

ประยงค์ : บางกลอยโชคร้ายตรงที่ถูกอพยพลงมาก่อน ฉะนั้นบางกลอยมันสะท้อนความล้มเหลวของวิธีคิดในการอพยพคนออกมาจากป่า ล้มเหลวอย่างชัดเจน ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่รองรับได้ ฉะนั้นวิธีคิดจากบางกลอยโมเดล ควรจะเป็นบทเรียนสำคัญให้กับวงการป่าไม้ บทเรียนสำคัญให้กับประเทศไทย วิธีคิดแบบนี้มันควรจะยุติไปนานแล้ว ถ้าเราย้อนไปในอดีตมันเคยมีเมื่อปี 2535 ตอนที่โครงการ คชก. ตอนนั้นก็มาจากรัฐบาลแบบนี้ แล้วท้ายที่สุดชาวบ้านสู้จนคืนถิ่นได้ โครงการ คชก. ยกเลิกไป

แต่กรณีบางกลอยมันทับซ้อนด้วยมายาคติเรื่องชาติพันธุ์ด้วย คชก. เป็นคนไทย เป็นคนอีสาน มันก็จะง่ายหน่อย มายาคติมันซ้อนทับด้วยเรื่องชาติพันธุ์ ไม่ใช่คนไทย คนไทยหรือเปล่า มีคำถามอย่างนี้ตลอด สองคือมายาคติเกี่ยวกับป่า ป่าต้นน้ำ ซึ่งจริงๆ ป่าทุกที่มันมีความสำคัญกับระบบนิเวศวิทยา เราทำลายป่าข้างล่างหมดแล้วบอกเอาไว้แต่ข้างบน มันไม่ได้มีความเป็นธรรมหรือยุติธรรม

- ที่บอกว่าคนอยู่ร่วมกับป่าไม่ได้ เคยได้ยินมาว่าแนวคิดนี้มาจากต่างประเทศใช่หรือไม่? ถ้าใช่แล้วปัจจุบันต่างประเทศเขามองเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

ประยงค์ : ตอนนี้เขาปรับแล้วในยุโรป หรือแม้แต่ในอเมริกา คือมันมาจากเยลโลสโตน (อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน สหรัฐอเมริกา) ที่ไปไล่อินเดียนแดงออก อันนั้นเป็นวิธีคิดที่โด่งดังมาก กระทั่งสุดท้ายมาก็ต้องปรับ ตอนหลังเขายอมให้อินเดียนแดงเข้าไปได้ ไม่ได้ให้เข้าไปอยู่อาศัย แต่ให้เข้าไปทำพิธีกรรมแล้วออกมา ซึ่งเขาก็สรุปแล้วว่ามันผิดพลาด

- ก็แสดงว่าอเมริกาเขายอมรับแล้วว่าเขาผิดพลาด?

ประยงค์ : เขาสรุปบทเรียนจากอินเดียนแดง แต่ของไทยเรายังไม่ยอมรับตรงนี้ มันก็เลยยังขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้

- อยากจะอธิบายเรื่องนี้กับประชาชนทั่วไปอย่างไร? เพราะเชื่อว่าจำนวนมากโตมากับแนวคิดเรื่องในป่าไม่ควรมีคนอยู่ คนต้องถูกนำออกมาจากป่า

ประยงค์ : ปัญหากรณีบางกลอย ถ้าเขาประกาศอุทยานแล้วกันพื้นที่มันจะชัดเจน มันก็จะจบ ถ้าเขาขยายออกมาก็แสดงว่าบุกรุก ซึ่งอันนี้มันเป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้ ที่อื่นก็เหมือนกัน ตอนนี้มี 4,100 ชุมชนในป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ อันนี้ข้อมูลของกรมอุทยานฯ ป่าอนุรักษ์ก็คือพวกเขตอุทยาน เขตวนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า แล้วที่ดินที่สำรวจล่าสุด 4,100 ชุมชนมีประมาณ 4,200,000 ไร่

ตรงนี้ก็เป็นจุดสำคัญว่ายังไงตอนนี้อุทยานก็ไม่ยอม ยังเป็นพื้นที่อุทยานอยู่ ก็ต้องใช้วิธีให้อยู่ชั่วคราว แล้วก็กำหนดเงื่อนไขที่ทำให้ชาวบ้านอยู่กับป่า ถ้าชาวบ้านทำผิดเงื่อนไขเขามีสิทธิ์เพิกถอนสิทธิ์ ยึดไปเรื่อยๆ แทนที่จะว่า ได้ขอบเขตแล้ว 4,200,000 เรารับรองสิทธิ์ให้ชุมชนบริหารจัดการ ถ้าคุณทำผิดเงื่อนไข มีการขยายหรือเอาที่ดินไปขายก็เพิกถอนคนทั้งชุมชน อันนี้มันจะเป็นแรงจูงใจทำให้เขาช่วยกันควบคุมดูแล ต้องใช้มาตรการจูงใจไม่ใช่มาตรการไปบังคับ

“สิ่งที่ยอมรับกันไม่ได้ใน 4,100 ชุมชนคือเขาอยู่มาก่อนประกาศอุทยานทั้งสิ้น หมายถีงประวัติชุมชนในอุทยานคล้ายๆ บางกลอย ปัญหาคือคนที่ไปเปิดใช้ที่ดินหลังประกาศอุทยานควรจะเป็นคนที่โดนข้อหาบุกรุก คนที่อยู่มาก่อน สิ่งที่อยู่มาก่อนเป็นไปไม่ได้ที่จะไปบุกรุกสิ่งที่มาทีหลัง ทีนี้เขาไม่ยอมการพิสูจน์สิทธิ์ตรงนี้ก็เลยเหมาไป อันนี้หลักคิดเรื่องนี้เลย ยอมให้คนอยู่กับป่าไม่ได้ ถึงแม้ตอนนี้ยอมรับความจริงแล้วว่าคุณไปประกาศทับเขาไว้ 4,200,000 ก็ยังไม่ยอม ยังไงก็ยังเป็นอุทยานอยู่ แต่อนุญาตให้คุณอยู่ชั่วคราว เป็นอาณานิคมผมต่อไป”!!!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ก่อนฟ้าสางที่...บางกลอย! วงเสวนาจี้รัฐยอมรับชุมชนดั้งเดิมใน‘แก่งกระจาน’

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พบเสือโคร่งตัวใหม่ในฃ\'อช.แก่งกระจาน\'ย้ำความสมบูรณ์ของพื้นที่ พบเสือโคร่งตัวใหม่ในฃ'อช.แก่งกระจาน'ย้ำความสมบูรณ์ของพื้นที่
  •  

Breaking News

‘อ.เจษฎา’เปิดข้อมูล‘ทุ่นระเบิด PMN-2’ ของกัมพูชา มีชนวนระเบิดในตัว ตรวจค้นหายาก

‘ศาลรธน.’สั่ง‘สว.-ภูมิธรรม-ทวี’ยื่นพยานใน 15 วัน ถูกร้องแทรกแซงรับ‘ฮั้วสว.’เป็นคดีพิเศษ

สุดสลด! เพลิงไหม้ห้างใหญ่ใน'อิรัก' เสียชีวิตพุ่ง 50 ราย

ปูนบำเน็จทหารเหยียบกับระเบิดเจ็บหนัก เลื่อนยศ'สิบเอก' พร้อมเงินช่วยเหลือกว่าล้านบาท

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved