เสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับงานสัมมนาออนไลน์ในรูปแบบ Virtual Online “พัฒนาอาหารพื้นถิ่นสู่มาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี” ที่มาพัฒนาและต่อยอดความรู้ด้านการฉายรังสีเพิ่มมูลค่าอาหารถิ่นให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ได้ดำเนินโครงการร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) โดยมีผู้เข้าชมงานสัมมนาออนไลน์ทั้ง 3 ครั้ง รวมกว่า 12,000 คน
หลังจากที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.ได้จัดทำกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น ด้วยการฉายรังสีอาหาร ปี 2564 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะพี่น้องชาว OTOP กลุ่มอาหารพื้นถิ่นให้สามารถผลิตสินค้าและต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ โดยยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค
โดย สทน.ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มรภ.พระนครศรีอยุธยา) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรภ.ธนบุรี) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ราชนครินทร์ (มรภ.ราชนครินทร์) จัดงานสัมมนาในรูปแบบ Virtual Online ผ่านทางระบบ Zoom ทาง Facebook LiveFanpage และช่อง Youtube ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 4-6 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
ซึ่งการสัมมนาออนไลน์ดังกล่าวได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมทั้ง 3 ครั้ง เป็นจำนวนรวมกว่า 12,000 คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการ OTOP นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องนี้
สำหรับกิจกรรมภายในงานทั้ง 3 ครั้ง อัดแน่นครบรสทั้งสาระและความบันเทิง ประกอบด้วยการบรรยาย “ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านอาหารฉายรังสี” โดย คุณกาญจนา ชาหอม นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ จาก สทน. หัวข้อ “การเพิ่มมูลค่าของอาหารถิ่น” โดย ผศ.ดร.พิทยา ใจคำ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.พระนครศรีอยุธยา คุณศศิอาภา บุญคง ประธานหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์มรภ.ธนบุรี และ ดร.นรากร ศรีสุข รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มรภ.ราชนครินทร์
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “การตลาดออนไลน์” โดยเหล่ากูรูนักการตลาดดิจิทัล ที่จะมาช่วยแนะนำเทคนิคการเข้าถึงผู้บริโภคในยุคโควิด ให้กับผู้เข้าชมกิจกรรมออนไลน์ด้วย นำโดย คุณทิปมัณฑิตา จินดา ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแฟนเพจ Digital Tips Academy และ LINE Certified Coach and Recommended Coach ปี 2018-2021 คุณธีรานนท์ ศิริกุลพิริยะ Digital Marketing Consult และ คุณเดชา วัฒนสุพงษ์ หรือโค้ชหมี เจ้าของเพจ “คิดว่าดีก็ทำต่อไป” และ “คิดว่าดี Academy”
การสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ ยังได้เชิญผู้ประกอบการตัวจริงที่ประสบความสำเร็จด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสี มาร่วมพูดคุย พร้อมตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นมาตรวจวิเคราะห์เพื่อฉายรังสี ในการเสวนาหัวข้อ “พัฒนาอาหารพื้นถิ่น สู่มาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี”โดย คุณนฤมล เนรมิตมานสุข หัวหน้าฝ่ายตรวจวิเคราะห์ จาก สทน., คุณพรเทพ เทพเสนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ “แหนมตุ้มจิ๋ว”ตราสุทธิลักษณ์, คุณวสันต์ กอบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคร์ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ “ฉัยลัย ปูไข่ดองฉายรังสี”, คุณณัฐวุฒิอนันตสุคนธ์ บริษัท พี โอ เค อิมปอร์ต แอนด์ เอ๊กซ์ปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด, คุณศุภชัย กิมชูวาณิช บริษัท โชคชัย เฮิร์บ จำกัด
นอกจากนี้ยังได้เชิญเหล่าคนดังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาร่วมพูดคุยในแต่ละวันด้วย ได้แก่ คุณอินท์ชลิตาผุลลาภิวัฒน์ พิธีกรรายการ ชีพจรลงพุง ช่องอมรินทร์ทีวี เชฟเอิร์ท-คุณศริตวรรธน์ วันวิชิตกูร, คุณตุ๊ก-ชนกวนันท์รักชีพ
โดยภายในงานสัมมนาทั้ง 3 ครั้งมีเนื้อหาครอบคลุมทุกแง่มุม ตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการฉายรังสีการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารถิ่น และการตลาดออนไลน์ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญหมุนเวียนกันมาให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสี มินิคอนเสิร์ต และการเล่นเกมตอบคำถาม ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง สทน.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่นก้าวสู่ความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ทางด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.เปิดเผยว่า สทน. เป็นสถาบันชั้นนำในการวิจัย สร้างนวัตกรรมและบริการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและยกระดับสังคม ด้านอาหารปลอดภัย ด้วยการฉายรังสีผลิตผลการเกษตร และอาหารแปรรูปชนิดอื่นๆ ในเชิงพาณิชย์ได้ครบทุกชนิดของรังสีที่องค์การอนามัยโลกได้อนุญาตให้ใช้กับอาหาร คือรังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์ และรังสีอิเล็กตรอน
ฉะนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะพี่น้องชาว OTOP กลุ่มอาหารพื้นถิ่นให้สามารถผลิตสินค้าและต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ โดยยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค สทน.จึงได้ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)ประกอบด้วย มรภ.พระนครศรีอยุธยา มรภ.ธนบุรี และมรภ.
ราชนครินทร์ จัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ “พัฒนาอาหารพื้นถิ่นสู่มาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี” ภายใต้กิจกรรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น ด้วยการฉายรังสีอาหาร ปี 2564 ขึ้น
ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นและต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารฉายรังสี ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม ชมรม สมาคมและสถาบันการศึกษา
“จากวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ การที่ประชาชนหันมาใส่ใจสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี นอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ กลุ่ม “อาหารพื้นถิ่น” แล้ว ผู้บริโภคก็จะได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารลงสู่ชุมชน เพื่อสร้างการยอมรับและแก้ไขปัญหาๆ ให้แก่ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม” ผู้อำนวยการ สทน.กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี