วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ปิดเรียน 1 ปี ข้อเสนอที่มาจาก ‘วิกฤติศรัทธา’

บทความพิเศษ : ปิดเรียน 1 ปี ข้อเสนอที่มาจาก ‘วิกฤติศรัทธา’

วันอังคาร ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

ความรุนแรงของไวรัสโควิค-19 สายพันธุ์เดลต้าในช่วงเดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม-สิงหาคม) นอกจากจะทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยเกินอัตราที่รับได้ของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม จนต้องเปิดระบบการพักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) และศูนย์พักรักษาตัวในชุมชน (Community Isolation) แล้ว ระบบการศึกษาก็เข้าสู่ภาวะวิกฤติด้วยเช่นเดียวกัน จนเกิดข้อเสนอจากนักวิชาการด้านการศึกษากลุ่มหนึ่ง รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนอีกจำนวนไม่น้อย ที่อยากให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศปิดเรียนเป็นเวลา 1 ปี สำหรับทุกโรงเรียน หรือตามสภาพและเงื่อนไขของแต่ละโรงเรียน และพื้นที่ชุมชนโดยรอบ ซึ่งในประเด็นนี้ยังไม่มีความชัดเจนออกมาจากผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประเมินวิกฤติ และการทบทวนนโยบายต่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

แน่นอนว่า ความกังวลของครู และผู้ปกครอง ต่อการระบาดของไวรัสที่รวดเร็วอันส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการเรียนรู้จากระบบการเรียนการสอนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในตอนนี้ ที่สร้างความยุ่งยากแก่ผู้ปกครอง และลดทอนคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างรุนแรง เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ข้อเสนอในเบื้องต้นได้รับการสื่อสารผ่านสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นประเด็นสนใจของสังคม ดังนั้นการทบทวนนโยบาย และประเมินสถานการณ์ของระดับบริหาร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อที่จะไม่ทำให้ปัญหามันเดินหน้าไปไกลกว่าการแก้ไข เปรียบได้กับเหตุการณ์ไฟไหม้ รู้เร็วเท่าไหร่ ดับได้เร็วเท่าไหร่ ความเสียหายก็อยู่ในความควบคุมได้เร็วเท่านั้น


ต่อไปนี้ จึงเป็นการประเมินปัญหา เพื่อทบทวนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผมอยากนำเสนอให้เกิดความชัดเจนในแนวทางการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนที่ขาดคุณภาพในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดังนี้

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 กระทรวงศึกษาธิการประกาศเลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันที่ 14 มิถุนายน และในวันที่ 9 มิถุนายน“นายอัมพร พินะสา” เลขาธิการสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนใน 5 รูปแบบ คือ 1. การเรียนผ่านระบบโทรทัศน์(On-Air) 2. การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(On-Demand) 3. การเรียนแบบถ่ายทอดสด (Online) 4. การเรียนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน (On-Hand) และ 5. การเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน (On-Site) ถ้าสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขตามข้อกำหนดของคณะกรรมการควบคุมโรคที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้น ทั้งนี้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนนี้ อาจจะผสมผสานรูปแบบต่างๆ ทั้ง 5 รูปแบบในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่ได้ โดยให้โรงเรียนและผู้ปกครองร่วมกันพิจารณาเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลให้เหมาะสมกับนักเรียน เช่น ความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และสัญญาณอินเตอร์เนต เป็นต้น

และเมื่อพิจารณาจากนโยบายที่เลขาธิการ สพฐ. กล่าวนี้ ก็น่าเชื่อได้ว่า การจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ 14 มิถุนายนเป็นต้นมา ควรจะเรียบร้อย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้พอสมควรจากรูปแบบการเรียนการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

แต่คำถามก็คือ อะไรเกิดขึ้นกับการปฏิบัติตามนโยบาย 5 รูปแบบดังกล่าวนี้ ภายในเวลาประมาณ 2 เดือนหลังเปิดการเรียนการสอน จนทำให้ข้อเสนอปิดเรียนเป็นเวลา 1 ปี เกิดขึ้นมาในสังคม สำหรับผมแล้ว คำตอบอันชัดเจนที่สุดก็คือ รูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 5 ทำงานไม่ได้ผล เพราะถ้าได้ผลที่ดี มีประสิทธิภาพ เสียงบ่น ข้อร้องเรียน รวมไปถึงข้อเสนอตามที่เกิดขึ้น จากนักวิชาการด้านการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมไปถึงตัวนักเรียนเอง คงจะไม่กลายเป็นประเด็นรายวันตามสื่อสังคมออนไลน์เช่นนี้

สำหรับประเด็นแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ อาจมีความสามารถในการออกแบบนโยบายที่ดูดี มีหลักการ แต่ต้องเกิดข้อผิดพลาด เพราะนโยบายนั้นไม่สามารถนำมาปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จได้ กลายเป็นว่า นโยบายไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง

ประเด็นที่สอง คือ กระทรวงศึกษาธิการไม่เข้าใจบริบทของโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ดีพอ หรืออาจบอกว่า เข้าไม่ถึงสภาพความเป็นจริงของทุกๆ โรงเรียนอย่างครบถ้วน เพราะการมอบนโยบายแบบครอบทั้งประเทศ แล้วให้ผู้บริหารโรงเรียนไปปรับใช้ตามสภาพเงื่อนไขของพื้นที่ อุปสรรคที่สำคัญก็คือ ความเหลื่อมล้ำในศักยภาพที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ นั่นส่งผลให้การเอื้ออำนวยการเรียนรู้ของนักเรียนในรูปแบบ 5 On มิได้สร้างประโยชน์ทางการศึกษาอันเท่าเทียมแก่นักเรียนทุกคน

ประเด็นที่สาม เป็นเรื่องที่ผมพยายามสื่อสารมาตลอดว่า แม้กระทรวงศึกษาธิการจะมอบนโยบาย แต่กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้กระจายอำนาจอย่างจริงใจให้กับเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ทั้งการตัดสินใจ งบประมาณ อุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น นั่นทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น โรงเรียนใหญ่ งบประมาณเยอะ เครื่องมือพร้อม ก็ง่ายต่อการปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็ก ที่งบประมาณมีจำกัด เครื่องมือก็ไม่พร้อม การปฏิบัตินโยบายก็ไม่สามารถทำได้ แถมยังต้องตกอยู่ในสถานะ “ภาระ” ของกระทรวงศึกษาธิการ ในทัศนคติของผู้บริหารบางคนอีกต่างหาก

ทั้งหมดนี้ เป็นความชัดเจนว่า นักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย 5 On ของ สพฐ. และกระทรวงศึกษาธิการ จนนำมาสู่วิกฤติทางการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ มาจากความผิดพลาดในการออกแบบนโยบายของผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ ที่ขาดความเข้าใจปัญหาทางด้านการศึกษา เข้าไม่ถึงสภาพความเป็นจริงของโรงเรียนทั่วประเทศ และไม่เคยได้สัมผัส หรือรู้สึกทุกข์ร้อนไปพร้อมๆ กับครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 อย่างแท้จริง และตรงนี้เองที่ทำให้การออกแบบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ยิ่งไปเพิ่มวิกฤติให้แก่ระบบการเรียนการสอนของครู และโรงเรียน รวมไปถึงการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างน่ากังวล

ดังนั้น ผมมีข้อเสนอเร่งด่วน 2 ประการ เพื่อนำระบบการเรียนการสอนออกจากวิกฤติ และเพื่อกู้ศรัทธาให้กับกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

1. เร่งจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 20,000 แห่ง โรงเรียนละ 200,000 บาทต่อภาคการศึกษา เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19

2. เร่งพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางออนไลน์ และการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Demand) ทันที

จากนั้น เมื่อหัวใจ และจิตสำนึกของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการเปิดแล้ว เรามาลงรายละเอียดของกระบวนการทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวนี้ไปด้วยกัน ว่าควรมีแนวทางอย่างไร เพราะข้อเสนอสำหรับคนที่จิตสำนึกต่ำ และ “ปิดใจ” คุยอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ

กนก วงษ์ตระหง่าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

MGI เปิดจักรวาล77 สาวงามพบกันครั้งแรกในงาน 'MISS UNIVERSE THAILAND 2025 Orientation'

กทม.เพิ่มอีก 3 ช่องทางลงทะเบียน ‘แยกขยะลดค่าธรรมเนียม’ ให้คนกรุง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved