วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ปรับระบบ‘รัฐราชการ’  ฝ่ามรสุมโควิด-เศรษฐกิจ

สกู๊ปพิเศษ : ปรับระบบ‘รัฐราชการ’ ฝ่ามรสุมโควิด-เศรษฐกิจ

วันพฤหัสบดี ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ย้อนไปเมื่อกลางเดือน ก.ค. 2564 ศูนย์วิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) ออกรายงาน“จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป” ว่าด้วยประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยหนึ่งในข้อเสนอแนะที่ถูกระบุในรายงานคือ “การปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน” ซึ่งประเด็นกฎระเบียบนี้ดูจะส่งผลกับการรับมือสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย ดังที่มีการกล่าวถึงในงานเสวนา (ออนไลน์) “เมื่อโลกไม่สนใจไทยแล้วน้ำยารัฐราชการจะรับมืออย่างไร” เมื่อเร็วๆ นี้

ชัชฎา กำลังแพทย์ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองการรับมือวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ของรัฐบาลปัจจุบันว่า “ความเป็นรัฐราชการเป็นปัญหาสำคัญเพราะยึดถือแต่กฎระเบียบและสายการบังคับบัญชาเป็นหลัก” เช่น การจัดซื้อวัคซีนหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่วนการตั้งกรรมการก็ไม่ได้มีอำนาจดำเนินการอะไรแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำได้เพียงให้คำปรึกษาเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่ารัฐราชการที่เป็นอยู่จะไม่ปรับตัว เพียงแต่ต้องถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เสียก่อนจึงจะยอมปรับ


ส่วนคำถามที่ว่าเหตุใดรัฐราชการแบบเดียวกันจึงสามารถรับมือสถานการณ์ในปี 2563 ได้ดี คำตอบคือขณะนั้นไวรัสโควิด-19 ยังเป็นสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ได้แพร่เชื้อได้รวดเร็วแบบสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขที่มีอยู่จึงสามารถควบคุมสถานการณ์ในเวลานั้นได้ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปในขณะที่ระบบราชการยังติดขัดกฎระเบียบ โดยเฉพาะที่แต่ละหน่วยงานต่างก็มีกฎหมายของตนเองให้ยึดถือ จึงไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

“จากวิกฤติเฉพาะหน้า ตัวรัฐราชการต้องปรับที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วที่สุดคือกระจายอำนาจการบริหารจัดการโควิดไปลงในท้องถิ่น ถ้าเราไปดูที่ จ.นนทบุรี หรือ จ.ปทุมธานี จะเห็นว่าผู้ว่าฯ สามารถจัดการเรื่องต่างๆ ในพื้นที่ได้ค่อนข้างดี ทั้งซื้อวัคซีนด้วยเงินท้องถิ่น จัดหาที่พักคอย Hospitel (โรงแรมที่ถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัว) ซึ่งพอไปดูในระดับท้องถิ่นค่อนข้างทำได้ดี

ในระดับต่างจังหวัดเองตอนนี้เกิดปรากฏการณ์ที่ทุกคนเดินทางกลับบ้านไปรักษาตัว ซึ่งมันไม่ใช่การทำงานของภาครัฐส่วนกลาง แต่เป็นการทำงานระดับจังหวัด โดยส่วนตัวคิดว่าการปรับตัวเพื่อที่จะหลุดจากวิกฤติโควิดที่ ณ ตอนนี้ค่อนข้างแย่ลงเรื่อยๆ คือต้องกระจายอำนาจ ให้แต่ละหน่วยงานระดับจังหวัดหรือระดับท้องถิ่นได้เป็นคนบริหารจัดการดูแลประชาชนเอง” ชัชฎา กล่าว

ขณะที่ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร อาจารย์เศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัย National Graduate Institute for Policy Studies ประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงมาตรการทางเศรษฐกิจในสถานการณ์วิกฤติ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์มีคำว่า “หลักเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ (Keynesian Economics)” ที่กล่าวถึงปัจจัยพิจารณาในการออกนโยบายไว้ 1.มีผลลัพธ์ทวีคูณ เช่น งบประมาณถูกใช้ไปแล้วไปอยู่ที่ใดบ้าง

โดย “หากใช้งบฯ ไปแล้วไม่นานก็ไหลกลับเข้าระบบหรือเข้าร้านค้าปลีกชื่อดังถือว่าเงินไม่ไหล อาจมีประโยชน์บ้างแต่ก็เป็นเพียงประโยชน์ระยะสั้น เมื่อเทียบกับการทำให้เงินหมุนได้กว้างขวาง ไปสู่พ่อค้าแม่ค้า การก่อสร้าง คนงาน ฯลฯ แล้วกลับเข้าสู่ระบบ” จะเกิดประโยชน์แบบแพร่กระจายมากกว่า 2.ลดความไม่แน่นอน แก่นของวิกฤติคือคนรู้สึกไม่แน่นอนในชีวิต เช่น จะทำธุรกิจนี้ต่อไปหรือไม่

หรือถ้ากู้เงินมาแล้วจะเอาไปใช้ทำอะไรระหว่างยื้อกิจการเดิมหรือไปลงทุนทำอย่างอื่น ฯลฯ ซึ่ง “นโยบายของรัฐโดยเฉพาะการใช้งบประมาณต้องทำให้คนรู้สึกว่ายังมีความแน่นอนบางอย่างที่คาดหวังได้” เช่น สมมุติรัฐบาลกล้าประกาศว่าภายใน 5 ปีนี้ธุรกิจภาคการท่องเที่ยวคงไม่กลับมาเต็มที่ อาจกลับมาได้เพียงร้อยละ 50 จากเดิมเท่านั้น ดังนั้นอย่าฝากความหวังไว้กับอดีตอีก การใช้เงินก็จะไปในทิศทางอื่นที่คิดว่าเป็นประโยชน์กว่า

3.รักษาการจ้างงาน ต้องพยายามให้อยู่ใกล้จุดที่มีการจ้างงานเต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะสุดท้ายแล้วใครๆ ก็อยากมีงานทำ และงานเป็นสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของแต่ละคน “ไม่มีใครอยากได้เงินเปล่าๆ เพราะการมีงานทำนั้นทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า” การใช้จ่ายงบประมาณรัฐโดยไม่คิดถึงเรื่องการจ้างงาน เท่ากับเป็นการนำเงินไปถมเพื่อรักษาอดีตแต่ไม่ได้สนใจปัจจุบันและอนาคต

แต่เมื่อดูร่างงบประมาณปี 2565 อาจารย์วีระยุทธ ให้ความเห็นว่า รัฐราชการไทยดูจะไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสถานการณ์โควิด-19 เพราะเมื่อดูรูปแบบการใช้จ่ายงบประมาณก็แทบไม่พบความแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ ทั้งที่รัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลงแน่นอนจากการที่ธุรกิจและประชาชนมีรายได้ลดลง อีกทั้งหลักการทั้ง 3 ข้อข้างต้นก็ไม่เห็นว่าได้นำมาประกอบการพิจารณา เช่น การเยียวยาที่ภาคธุรกิจอยากรู้ว่าจะต้องไปทางไหน ควรลงทุนอะไร หรือประชาชนควรกลับไปอยู่บ้านเกิดต่างจังหวัดหรือไม่ กลับไปแล้วจะมีงานทำหรือเปล่า เป็นต้น

“มันต้องยอมให้จุดตั้งต้นอยู่ที่ท้องถิ่นไม่ใช่อยู่ที่ส่วนกลาง จุดตั้งต้นมันต้องอยู่ที่ท้องถิ่นแล้วในภาวะวิกฤติแบบนี้ ว่าแต่ละท้องถิ่นเขาจัดการกับคนของเขาควรจะไปในทิศทางใด เพราะแต่ละพื้นที่มันจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน แล้วตลาดงานในระดับพื้นที่มันไม่เหมือนกัน ดังนั้นรัฐส่วนกลางควรจะไป Focus (เน้น) เรื่องสำคัญ เช่น การจัดหาวัคซีน การกระจายวัคซีน คือเรียกว่ามีการแบ่งงานกันทำมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ยังไม่เห็น

งบประมาณพูดได้เลยว่ายังมีวิธีการทำในรูปแบบเดิมๆ ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเบิกจ่ายที่มีปัญหา งบประมาณสาธารณสุขที่ออกแบบไว้ ที่กันไว้แล้ว แต่เวลาไปจัดสรรจริง เบิกจ่ายจริง อุปกรณ์การแพทย์ก็ไม่ถึง เครื่องช่วยหายใจ อะไรที่มีการตั้งงบไว้ในปีที่แล้วก็ไม่มีการเบิกจ่ายเพราะติดเรื่องระเบียบราชการ ตรงนี้มันสะท้อนว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือว่ายืดหยุ่นอะไรกับความเดือดร้อน” อาจารย์วีระยุทธ กล่าว

อาจารย์วีระยุทธ ทิ้งท้ายด้วยความเห็นว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นทำให้คนไทยมองการเมืองและเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องไกลตัว นำไปสู่ความตระหนักว่าการเลือกของตนเองมีผลอย่างไร และ
ช่วยกันตรวจสอบการทำงาน รวมถึงการแข่งขันกันในเชิงนโยบายต้องลงลึกในรายละเอียดการแก้ปัญหามากขึ้น แทนที่แบบเดิมๆ ที่มักเน้นสรรหาคำที่มีผลดูดีทางการตลาดมาใช้

และต้องย้ำว่า “การปฏิรูปรัฐราชการเป็นเรื่องสำคัญ”เพราะจะขับเคลื่อนสังคมสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างไรหากทุกวันนี้ยังต้องสแกนและเซ็นเอกสาร หรือจะเป็นเศรษฐกิจสีเขียว (เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) ได้อย่างไรหากยังใช้เอกสาร หรือจะทำระบบคลาวด์ยังต้องของบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  • สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’ สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’
  •  

Breaking News

ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน

‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’

ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา

‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved