วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ดึงดูด‘ต่างชาติทักษะสูง’  อีกปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สกู๊ปแนวหน้า : ดึงดูด‘ต่างชาติทักษะสูง’ อีกปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วันอาทิตย์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“การนำเข้าแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า Skill Migrant หรือ Knowledge Migrant จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศต่อไปได้โดยไม่ติดขัด แต่ที่ผ่านมาเราเน้นการนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือหรือกึ่งฝีมือเข้ามาเป็นหลัก เรายังไม่มีเป้าหมายดึงดูดแรงงานที่มีทักษะอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเตรียมการและพัฒนานโยบายเหล่านี้ให้เกิดขึ้น”

คำกล่าวของ ผศ.ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์ นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในการบรรยาย (ออนไลน์) หัวข้อ “การดึงดูดแรงงานที่มีทักษะ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชุดงานการบรรยาย “นโยบายนำเข้าแรงงานข้ามชาติในยุค Global Citizen” เมื่อเร็วๆนี้ โดย ผศ.ดร.สักกรินทร์เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง “แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580)” ตั้งเป้ายกระดับสู่ประเทศรายได้สูงมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่า


นั้นทำให้มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะถึง 2.3 ล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า และ 2.5 แสนคนในปี 2570 อย่างไรก็ตาม ไทยนั้นขาดแคลนแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือบางส่วนแม้จะมีแต่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น อีกทั้งต้องเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เข้มข้นขึ้น บวกกับการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนั้นการขาดแคลนแรงงานทักษะจะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต

ผศ.ดร.สักกรินทร์ เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพูดคุยกับชาวต่างชาติซึ่งอยู่ในประเทศไทย ทั้งที่เป็นแรงงานทักษะและผู้เกษียณอายุแล้ว พบปัญหาที่ทำให้นโยบายดึงดูดแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ยาก อาทิ 1.กฎหมายคนเข้าเมืองล้าสมัย เน้นใช้บังคับเกี่ยวกับการควบคุมคนเดินทางเข้า-ออกประเทศโดยยังไม่มีการปรับปรุงให้ยืดหยุ่นตามแนวคิดการพัฒนาประเทศ

เช่น ยังบังคับให้ชาวต่างชาติทุกคนต้องรายงานตัวทุกๆ 3 เดือน โดยไม่แยกแยะว่าเป็นแรงงานไร้ฝีมือหรือแรงงานฝีมือ อีกทั้งยังใช้วิธีกรอกเอกสารมากมายแทนที่จะนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากช่วงที่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดในช่วงแรกๆ ชาวต่างชาติต้องไปต่อคิวยาวเหยียดที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เพื่อต่อวีซ่า และแม้จะมีระบบลงทะเบียนออนไลน์ แต่ก็พบว่าระบบล่มหลายครั้ง

2.เน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าระยะยาว ซึ่งควรมีข้อมูลว่าแต่ละอาชีพขาดแคลนเท่าไร มีความต้องการเท่าไร 3.ขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงแรงงาน ออกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มีอายุ 2 ปีขณะที่ ตม. จะต่อวีซ่าให้ครั้งละ 1 ปี โดยในหลายประเทศ 2 อย่างนี้จะเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน แรงงานยื่นขอเพียงจุดเดียวหากผ่านก็จะได้ทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน

4.วิธีการออกใบอนุญาตทำงานยังไม่ปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองโลกยุคดิจิทัล แรงงานยุคใหม่หลายคนทำงานผ่านระบบออนไลน์ ไม่ได้อยู่ประจำสำนักงาน หรือแม้แต่เป็นอาชีพอิสระ (Freelance) ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างเพียงคนเดียว ซึ่งเมื่อไม่มีสัญญาจ้างระยะยาวก็ไม่สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้ แต่เมื่อไม่มีใบอนุญาตทำงานแล้วมาทำงานมีรายได้ในประเทศไทยก็จะถูกจับกุมดำเนินคดี

5.การดึงดูดแรงงานทักษะยังไม่มีนโยบายแบบเชิงรุก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มีการตั้งหน่วยงานขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อดึงดูดคนที่สิงคโปร์ต้องการเข้ามา มีการสร้างแรงจูงใจ อาทิ การให้สัญชาติหรือให้สถานะผู้พำนักถาวรขณะที่ จีน ให้ทุนวิจัย อุดหนุนค่าที่พักและทุนการศึกษาบุตร เพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติตลอดจนชาวจีนที่ไปอยู่ต่างแดนให้เข้าไปหรือกลับไปทำงานในประเทศจีนมากขึ้น

“แม้ว่าเราจะมี Smart VISA โดย BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ใช้เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกให้กับคนที่มีทักษะให้มาทำงานในพื้นที่ EEC (โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก) แต่ว่ายังมีปัญหาข้อจำกัดเยอะ Paperwork (ขั้นตอนงานเอกสาร) เยอะ มีอนุกรรมการหลายคณะเข้ามาพิจารณากลั่นกรองมากมาย มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นสูงเยอะมาก เงินเดือนหลายแสนถึงจะขอ Smart VISA ได้ ซึ่งคนหนุ่ม-สาวรุ่นใหม่ บางคนเขามีทักษะแต่เงินเดือนอาจจะไม่ถึง หรือบางคนอยู่เมืองไทยอยู่แล้วแต่ไม่ได้มีวีซ่าทำงาน เพราะฉะนั้นเราก็ควรจะครอบคลุมคนกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย ลดคุณสมบัติลงมาโดยเฉพาะเงินเดือนขั้นสูง” ผศ.ดร.สักกรินทร์ ระบุ

ผศ.ดร.สักกรินทร์ เสนอแนะว่า ควรทำแนวคิด “พลเมืองโลก (Global Citizenship)” มาปรับใช้เพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น อาทิ 1.มีนโยบายเชิงรุก เช่น ทำให้วีซ่ามีหลากหลายประเภทเพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม Freelance รวมถึงบูรณาการฐานข้อมูลวีซ่าและใบอนุญาตทำงานเพื่อความสะดวกของแรงงานในการยื่นขอ 2.ปรับปรุง Smart VISA ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และนำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาใช้ กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่ต้องการให้ชัดเจน อีกทั้งควรมีคะแนนสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยอยู่แล้วมาเป็นเวลานานด้วย เพราะคนเหล่านี้อยู่มาจนเข้าใจประเทศไทยเป็นอย่างดี

3.อนุญาตให้ชาวต่างชาติกลุ่มเกษียณอายุแล้วเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยทำงานได้ หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญและยังสามารถทำงานได้ การไม่อนุญาต
ให้ทำงานเท่ากับประเทศไทยเสียโอกาส 4.ขยายข้อตกลงร่วมรับมาตรฐานวิชาชีพกับต่างประเทศซึ่งปัจจุบันไทยก็มีอยู่แล้วกับกลุ่มประชาคมอาเซียนใน 8 อาชีพ แต่ยังมีข้อจำกัดซึ่งต้องแก้ไข รวมถึงขยายออกไปให้กว้างมากขึ้น

5.ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาของไทยร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น เช่น การก่อตั้งวิทยาเขตของสถาบันการศึกษาชั้นนำ เห็นได้จากเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ มีมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติหลายแห่งมาเปิดสาขาในประเทศดังกล่าว ทำงานทั้งด้านการสอนและการวิจัย อันดับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์และมาเลเซียจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยในอันดับโลก เพราะมีการเชื่อมโยงและถ่ายทอดความรู้ และ 6.จูงใจคนไทยในต่างแดน นอกจากผู้เชี่ยวชาญต่างชาติแล้ว ยังมีคนไทยอีกไม่น้อยเป็นแรงงานทักษะสูงทำงานอยู่ในต่างประเทศ เช่น แพทย์ สถาปนิก ซึ่งประเทศอย่างจีน สิงคโปร์ อิสราเอล มีนโยบายทั้งการให้ทุนวิจัย เชิญมาเป็นอาจารย์

ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในประเทศเกิดขึ้นได้รวดเร็ว!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved