วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ชีวิต‘ไรเดอร์ส่งอาหาร’งานไม่มั่นคง-ไร้หลักประกัน พบ1ใน3เคยเกิดอุบัติเหตุ

ชีวิต‘ไรเดอร์ส่งอาหาร’งานไม่มั่นคง-ไร้หลักประกัน พบ1ใน3เคยเกิดอุบัติเหตุ

วันอังคาร ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 16.51 น.
Tag : งานไม่มั่นคง ไรเดอร์ส่งอาหาร
  •  

ผลวิจัยเผยชีวิต‘ไรเดอร์ส่งอาหาร’งานไม่มั่นคง-ไร้หลักประกัน พบ1ใน3เคยเกิดอุบัติเหตุ

31 ส.ค. 2564 นายอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิชาการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน ว่าด้วยสภาพการทำงาน และหลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19” เปิดเผยผลวิจัยคุณภาพชีวิตของแรงงานส่งอาหารที่รับงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือไรเดอร์ ว่า ในขณะที่ธุรกิจแพลตฟอร์มเติบโตอย่างรวดเร็วจากมาตรการควบคุมโรคระบาดของภาครัฐ โดยเฉพาะการห้ามรับประทานอาหารในร้าน แต่คุณภาพชีวิตของบรรดาไรเดอร์นั้นพบปัญหาสำคัญ ได้แก่ 


1.ค่าตอบแทนที่น้อยเมื่อเทียบกับชั่วโมงการทำงาน โดยรายได้จากการทำงานของไรเดอร์ พบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17,000 บาทต่อเดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถและค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับใช้สื่อสารรับ-ส่งงานออกไปแล้ว ก็จะเหลืออยู่ที่ประมาณ 14,000-15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ชั่วโมงการทำงานอยู่ที่เกือบ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ยังพบความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด หรือกรุงเทพฯ ชั้นในกับชั้นนอก แม้จะเป็นงานแบบเดียวกันก็ตาม 

2.ไมมีหลักประกันในการทำงาน ซึ่งไรเดอร์จำนวนมากมีภาวะเจ็บป่วย เช่น ปวดเมื่อยหรือเป็นไข้เพราะทำงานตรากตรำกลางแดด และ 1 ใน 3 ของไรเดอร์เคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน โดยผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุคือต้องหยุดทำงานเพื่อพักรักษาตัว ทำให้รายได้ลดลง แต่เมื่อดูสวัสดิการพบว่ามีเงื่อนไข เช่น ประกันอุบัติเหตุ ต้องเป็นพนักงานที่ทำผลงานดีเท่านั้นจึงจะได้รับ และเป็นการประเมินแบบเดือนต่อเดือน หากเดือนใดผลงานลดลงก็จะไม่ได้รับ ซึ่งเรื่องนี้มีข้อเรียกร้องจากแรงงานจำนวนมากให้แพลตฟอร์มมีประกันอุบัติเหตุแบบไม่มีเงื่อนไข

ส่วนการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยนั้นไม่มีสวัสดิการใดๆ นอกจากสวัสดิการของรัฐ เช่น ประกันสังคม มาตรา 33 กรณีมีอาชีพหลักในสถานประกอบการแล้วทำงานไรเดอร์เป็นอาชีพเสริม , มาตรา 39 กรณีลาออกจากงานในสถานประกอบการแล้วยังส่งเงินสมทบต่อเนื่อง , มาตรา 40 กรณีอาชีพอิสระ แต่มาตรา 40 นั้นมีคนสมัครน้อยเพราะสวัสดิการที่ได้ไม่จูงใจ นอกจากนี้ไรเดอร์ยังอาศัยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นหากเจ็บป่วยเล็กน้อยก็จะไม่นิยมไปพบแพทย์ แต่จะพักผ่อนและซื้อยารับประทานเอง 

“ไรเดอร์มองการทำงาน เงื่อนไขต่างๆ ที่เพลตฟอร์มให้ว่ามีเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของค่าตอบแทนที่ต่ำเกิน ในต่างจังหวัดให้ต่ำกว่าในกรุงเทพฯ บางพื้นที่เริ่มต้นที่ 20 บาท พอหักค่าคอมมิชชั่นแล้วเหลือแค่ 17 บาท แต่สภาพการทำงานโหดหินมาก แล้วเรื่องสวัสดิการที่ต้องการที่แพลตฟอร์มสามารถจัดให้ได้ ไรเดอร์ต้องการสิ่งใดเป็นอันดับหนึ่ง ก็คือเรื่องของประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ อยากจะให้มีแบบไม่มีเงื่อนไข” นายอรรคณัฐ ระบุ
นายอรรคณัฐ ยังกล่าวอีกว่า ในเรื่องความมั่นคงรายได้ ไรเดอร์อยากให้เพิ่มค่าตอบแทนให้มากขึ้น เพราะค่าตอบแทนที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และไม่มีทางเลือกอื่นในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ หากมีการประกันจำนวนงานขั้นต่ำอันหมายถึงรายได้ที่จะได้รับในแต่ละวันได้ก็จะเป็นเรื่องดี ซึ่งดีกว่าการรอคอยในแต่ละวันอย่างไร้จุดหมายเพราะไม่สามารถใช้เวลาไปหารายได้ทางอื่นได้ 

สำหรับงานเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน ว่าด้วยสภาพการทำงาน และหลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19” นั้นจัดโดยกระทรวงแรงงาน ร่วมกับหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงาน และสถาบันเอเชียศึกษา และหน่วยงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์

ขณะที่งานวิจัยชื่อเดียวกันกับงานเสวนา ใช้วิธีการแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานส่งอาหารและผู้ประกอบการ ทั้งหมด 435 คน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 320 คน กับต่างจังหวัดอีกรวม 115 คน ประกอบด้วย ขอนแก่น ปัตตานีและอ่างทอง และเชิงคุณภาพ คือการสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานหรือครอบครัวของแรงงานที่เคยประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน จำนวน 50 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- แพทย์ห่วงอาชีพ'ม้าเร็วสองล้อ'เสี่ยงเจ็บ-ตายบนท้องถนน จี้หาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved