วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘รักษ์โลก-ห่วงสุขภาพ’ ทิศทาง‘ท่องเที่ยว’หลังโควิด

สกู๊ปแนวหน้า : ‘รักษ์โลก-ห่วงสุขภาพ’ ทิศทาง‘ท่องเที่ยว’หลังโควิด

วันอาทิตย์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564, 07.30 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“พอดีได้มีโอกาสไปสอนนักศึกษาท่องเที่ยวที่ภูเก็ตผู้ประกอบการตั้งเป้าหมายไว้ที่แสนคน มาแค่ 1 หมื่นคน ประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์เอง แม้กระทั่งภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ที่เราตั้งเป้าหมายไว้ หรือสมุย มันก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะสถานการณ์โควิดที่มันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวเกิดการรู้สึกว่าอุ่นใจ เบาใจ อยากมาท่องเที่ยว รู้สึกปลอดภัย”

ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา คณบดีคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางอนาคตท่องเที่ยวไทย
หลังโควิด-19” ในงานสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 6 “การขับเคลื่อน BCG สู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยหลังภาวะหลังปกติใหม่(Next Normal)” จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย “การท่องเที่ยว” ภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ภายใต้ความท้าทายในยุคสมัยที่โลกเผชิญสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งแม้จะมีความพยายามฟื้นฟูแต่ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้


ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จำนวนมากจากการท่องเที่ยว อาทิ ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของโลกยุคเดิมก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทยถึง 40 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาทแต่ในเมื่อทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การปรับตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ต้องมีมาตรการด้านสุขอนามัย หรือก็คือการมุ่งสู่ “การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ” แทนการมุ่งเน้นเชิงปริมาณ

ศ.ดร.วิสาขา กล่าวถึง “จุดแข็ง” ของภาคการท่องเที่ยวของไทยไว้ 3 ประการ คือ 1.ทรัพยากรในประเทศอุดมสมบูรณ์ 2.มีขัดความสามารถด้านการบริการ (Service Mind) และ 3.ราคาไม่แพง แต่ก็มี “จุดอ่อน” 2 ประการ คือ1.สิ่งแวดล้อม กับ 2.ความปลอดภัย ส่วน “ประเภทการท่องเที่ยวมูลค่าสูงที่ควรส่งเสริม” เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวที่สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ชุมชน

“ตลาดเราเปลี่ยนไปแล้ว ตลาดเราจะเป็น Hi-End คือมีกำลังซื้อสูง สินค้าท่องเที่ยวเราก็จะต้องเป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ตอนนี้ถูกฟื้นฟูกลับมาดีมาก เพราะตอนนี้จากจำนวนคนที่ไปใช้มาก จากสถานการณ์โควิดมันเกิดการฟื้นฟู น้ำทะเลใสขึ้น มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น เราต้องขายตรงนี้แต่เราต้องขายในราคาที่สูง และขายในราคาที่กลุ่ม Hi-End นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไม่ได้มาทำลายสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการท่องเที่ยววิถีใหม่ต้องเปลี่ยนมุมมองแล้ว เป็นการท่องเที่ยวที่ต้อง Optimize (เพิ่มประสิทธิภาพ) Optimum Scale (ได้สัดส่วนที่เหมาะสม) ไม่เกิน Capacity (ความจุที่รองรับได้)” ศ.ดร.วิสาขา ระบุ

คณบดีคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม นิด้า กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ทั้งการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติเข้ามาประเทศไทย หรือชาวไทยไปต่างประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยเองจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป “การเดินทางแบบหมู่คณะจำนวนมากมีแนวโน้มลดลง” ขณะเดียวกัน “มาตรการสาธารณสุขจะมีบทบาทมากขึ้น” เช่น หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนครบถ้วน และมาตรการอื่นๆ ในการดูแลนักท่องเที่ยวให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่โลกหลังยุคโควิด นักท่องเที่ยวจะสนใจการท่องเที่ยเชิงวิถีชีวิตและประสบการณ์มากขึ้นใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าจะสร้างรายได้อย่างไรโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจระดับชุมชน รวมถึง“อาจต้องมีระบบบริหารจัดการที่คำนึงถึงสมดุลระหว่างความจุของสถานที่ท่องเที่ยวกับปริมาณนักท่องเที่ยว” เช่น นักท่องเที่ยวลงจากเครื่องบิน หากสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวยังมากอยู่ อาจสับเปลี่ยนไปสถานที่ท่องเที่ยวอื่นก่อนจะวนกลับมาก็ได้

สำหรับทิศทางการท่องเที่ยวยุคหลังจากนี้ 1.การท่องเที่ยวแบบกลุ่มเล็กๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเป็นการเดินทางของกลุ่มที่สมาชิกทั้งหมดรู้จักกัน เนื่องจากมีความไว้วางใจกัน ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการเริ่มคิดออกแบบการจัดการท่องเที่ยวกันแล้วภายใต้แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย 2.เทคโนโลยีดิจิทัลจะได้รับความนิยมมากขึ้นเช่น การชำระค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องใช้เงินสด (Cashless) หรือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการโปรแกรมการท่องเที่ยวอาทิ กำหนดการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อาจสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ และ 3.การดูแลสิ่งแวดล้อมจะถูกให้ความสำคัญมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ฟื้นตัวขึ้นมาจะทำอย่างไรไม่ให้กลับไปเสื่อมโทรมลงอีก

“ในเชิงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราจะกระทบเห็นๆ เลยในมุมนักท่องเที่ยวคือเชิงอากาศ ประเทศไทยร้อน ประเทศไทยมีมลพิษ PM2.5 ไปเที่ยวภาคเหนือเกิดการเผาโดยเฉพาะหน้าหนาวที่อากาศดี เราจะลดกันอย่างไรในด้านเผาไหม้ต่างๆ คุณภาพอากาศเป็นสิ่งที่สำคัญ คือมันจับต้องได้ในเชิงท่องเที่ยวอย่างเร็วอย่างขยะเราเห็นมันแค่อุจาดตาVisual Pollution (มลพิษทางสายตา) อาจจะมีกลิ่นบ้าง แต่เรื่องฝุ่นละอองคุณภาพอากาศมันถึงเราโดยตรง น้ำเสียเราอาจจะไม่กระทบโดยตรง

ควรจะต้องแก้ปัญหาในระยะแรกระยะสั้นเลย แต่เรื่องขยะควรจะต้องคำนึงถึงในระยะถัดไป โดยเฉพาะขยะพลาสติกต่างๆ กระบวนการก็จะกลับมา Upcycling (แปรรูปเพิ่มมูลค่า) เอาไปทำจีวรพระ ผลิตชุด PPE หมอ เราก็เห็นว่าเอากลับไป Upcycling มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวมันดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ศ.ดร.วิสาขา ยกตัวอย่าง

อีกเรื่องหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในการท่องเที่ยวยุคหลังโควิดคือ “นักท่องเที่ยวต้องการความไว้วางใจ” เช่น เวลาไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการร้านค้าต่างๆ เมื่อเห็นป้ายแสดงว่าพนักงานทุกคนฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว มาตรการด้านสุขอนามัยจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกแหล่งท่องเที่ยว เช่น สถานที่แออัดหรือไม่ หรือแม้กระทั่งการเดินทางก็มีแนวโน้มจะใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่าขนส่งสาธารณะ

ศ.ดร.วิสาขา กล่าวสรุปความสำคัญของเศรษฐกิจ BCG (Bio Economy-เศรษฐกิจชีวภาพ, Circular Economy-เศรษฐกิจหมุนเวียน, Green Economy = เศษฐกิจสีเขียว) ซึ่งมีอยู่ 4 สาขา คือ 1.การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2.เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ และพลังงาน โดยทั้ง 4 สาขาล้วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งสิ้นเช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น หรือการนำขยะไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'

คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้

ยกแก๊งมอบตัวแล้ว คนร้ายยิงถล่มใส่รถยนต์ที่ปราจีนบุรี

กลับถึงบ้าน! ร่ำไห้รับ“โชต้า”-ทำพิธีศพเสาร์นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved