วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ประชานิยม’อุ้มคนฐานราก ประโยชน์มีแต่ระวังผลข้างเคียง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ประชานิยม’อุ้มคนฐานราก ประโยชน์มีแต่ระวังผลข้างเคียง

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย หนึ่งในวิวาทะสำคัญคือ “ประชานิยม” ระหว่างฝ่ายที่มองว่าเป็นนโยบายที่มีประโยชน์กับคนระดับฐานราก กับฝ่ายที่มองว่าเป็นนโยบายที่ถูกใช้เพื่อปูทางไปสู่การแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ แผนงานคนไทย 4.0 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “อนาคตคนไทยกับนโยบายประชานิยม” ขึ้นโดยมี ผศ.ดร.ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวิทยากร

เมื่อพูดถึงประชานิยม หลายคนอาจนึกถึงนโยบายลดแลกแจกแถม เพื่อสร้างความนิยมต่อรัฐบาลหรือผู้นำในหมู่ประชาชน หรือมีข้อถกเถียงว่าประชานิยมถือเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม “นิยามของประชานิยม” นั้นหมายถึง “วิถีของประชาชนในการขับเคลื่อนการเมืองและประชาธิปไตย” เป็นการให้คุณค่าประชาธิปไตยที่สร้างขึ้นโดยประชาชนในฐานะการเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญในทางการเมือง


ดังนั้นแล้ว “ประชานิยมจึงเป็นพลังเชิงบวกในการขับเคลื่อนประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีความหมายของการต่อสู้ของประชาชนกับชนชั้นนำและโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่มีบรรทัดฐานของความยุติธรรมและเท่าเทียม” ถึงกระนั้น ก็มีนักวิชาการบางท่าน เช่น เคิร์ท เวย์แลนด์(Kurt Weyland) กล่าวไว้ในปี 2544 ว่า ประชานิยมคือ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองอย่างหนึ่งที่ผู้นำทางการเมืองพยายายามใช้อำนาจบนพื้นฐานการสนับสนุนโดยตรงอย่างไม่เป็นทางการจากประชาชนจำนวนมากที่นิยมชมชอบหรือติดตาม

“ในแง่มุมหนึ่ง ประชานิยมจึงสะท้อนในลักษณะของบุคคลเปี่ยมไปด้วย Charisma (เสน่ห์) หรือบารมี ที่รวมความนิยมชมชอบหรือศูนย์อำนาจไว้กับตัวเอง หรือเป็นผู้ที่มองว่าพูดแทนประชาชน นำเสนอสิ่งที่ประชาชนต้องการหรืออยากได้ยิน อันนี้ก็จะไปโยงกับลักษณะของผู้นำแบบประชานิยม ซึ่งอันนี้ก็อาจจะมองถึงในรูปแบบได้ทั้งไทยและในลาตินอเมริกา” ผศ.ดร.ธัญณ์ณภัทร์ กล่าว

นักวิชาการอีกท่านคือ อลัน แวร์ (Alan Ware) กล่าวถึงประชานิยมเมื่อปี 2545 ว่า ประชานิยมคือยุทธศาสตร์ทางการเมือง ผู้นำทางการเมืองจึงมักถูกมองว่าเป็นนักการเมืองผู้แสวงหาอำนาจ โดยการกระทำที่เป็นไปเพื่อการได้รับการสนับสนุนจากผู้คนจำนวนมาก หรือก็คือการใช้ความนิยมนั้นช่วงชิงความได้เปรียบในเกมการเมือง “ผู้นำแบบประชานิยมจึงต้องสร้างบารมี”เพื่อให้ได้รับการยอมรับให้อยู่ในอำนาจ

หนึ่งในพื้นที่ที่โดดเด่นด้านการก่อตัวของการเมืองแบบประชานิยมคือภูมิภาคลาตินอเมริกา (อเมริกากลางและใต้) มีนักการเมืองที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปากเป็นเสียงแทนคนยากจน นำเสนอนโยบายที่ให้ความสำคัญกับชนชั้นรากหญ้า ผู้ใช้แรงงาน หรือนโยบายแบบรัฐสวัสดิการ หรือนำแนวคิดแบบสังคมนิยมมาเป็นแนวทาง เมื่อมองในมุมนี้ ประชานิยมจึงมิใช่เพียงนโยบาย แต่เป็นการต่อสู้ของคนที่รู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีนักวิชาการที่มองประชานิยมว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เช่น แจน-เวอร์เนอร์มิลเลอร์ (Jan-Werner Miller) กล่าวในปี 2559 ระบุว่า“ประชานิยมเป็นปรปักษ์ต่อความเป็นพหุนิยมในระบอบประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองแบบประชานิยมมักคำนึงถึงการตอบสนองทางคุณค่าผ่านนโยบายสาธารณะต่อประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยปราศจากการเคารพความหลากหลายของคุณค่าในสังคม” อย่างไรก็ตาม แก่นของประชานิยมก็ยังนับว่ายังเป็นประชาธิปไตยอยู่

“ประชานิยมจะเป็นชุดความคิดของเจตจำนงของประชาชนทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็เป็นหลักการที่ปกป้องเสียงข้างมาก ซึ่งถ้ามันปกป้องเสียงข้างมากแบบสุดโต่ง แล้วก็สนับสนุนประชาธิปไตยเสียงข้างมากในแบบนี้ มันก็อาจจะนำไปสู่การปฏิเสธความเป็นพหุนิยมโดยพื้นฐาน จากการเอาเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก ก็จะไปกระทบกับเสียงส่วนน้อยหรือหลักของสถาบันอิสระที่มีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่เป็นเสียงส่วนน้อยในสังคม ในลักษณะนี้ถ้าสุดโต่ง ก็อาจเคลื่อนย้ายจากประชาธิปไตยไปเป็นอำนาจนิยมเต็มใบ ซึ่งเป็นการลบล้างประชาธิปไตย หรือล่มสลายของประชาธิปไตยในกรณีสุดโต่ง” ผศ.ดร.ธัญณ์ณภัทร์ อธิบาย

ในกรณีของประเทศไทย คำว่าประชานิยมถูกผูกโยงเข้ากับชื่อของ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วงปี 2544-2549 เนื่องจากพรรคการเมืองที่ทักษิณตั้งขึ้นคือ พรรคไทยรักไทย หาเสียงโดย “ชูนโยบายที่คำนึงถึงชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นกลางที่เพิ่งเกิดใหม่” ภายใต้บริบทสังคมที่ชนบทเองก็มีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากอิทธิพลของระบบทุนนิยมบวกกับนโยบายการพัฒนาที่สะสมต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดต่างๆ ก่อนหน้า ซึ่งชนชั้นกลางใหม่มีความต้องการที่แตกต่างไปจากชนชั้นกลางเดิมที่มีโอกาสเข้าถึงทุน ทรัพยากรและโอกาสต่างๆ มากกว่า

ผศ.ดร.ธัญณ์ณภัทร์ ยกตัวอย่าง “30 บาท รักษาทุกโรค-กองทุนหมู่บ้าน” อันเป็น 2 นโยบายที่เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลทักษิณและถูกพูดถึงทุกครั้งเมื่อกล่าวถึงอดีตนายกฯ ผู้นี้ว่าตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน หรืออีกนโยบายหนึ่งที่สำคัญคือการปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่ในช่วงปรับเปลี่ยนก็อาจทำให้ข้าราชการรู้สึกไม่พอใจเพราะต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ อนึ่ง นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณ ยังทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เพิ่มจากร้อยละ 4 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 6 ในปี 2547

แต่ในอีกมุมหนึ่ง “นโยบายประชานิยมในรัฐบาลทักษิณก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่าเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง” มีการใช้คำว่า “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” อีกทั้งยังถูกมองว่า “กระตุ้นความฟุ้งเฟ้อของคน” โดยมองจากชนชั้นรากหญ้งและชนชั้นกลางเกิดใหม่ มีกำลังซื้อและเริ่มซื้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากขึ้น ทำให้ “ชนชั้นนำและชนชั้นกลางเดิมมองว่าทักษิณทำลายวิถีชนบทที่สวยงาม” ทั้งที่ในความเป็นจริง ชนบทได้เปลี่ยนหน้าตาไปตั้งแต่ก่อนหน้ายุคสมัยของทักษิณแล้ว ตลอดจนเกิดคำถามว่า “สมควรหรือไม่ที่รัฐบาลนำเงินของชนชั้นกลางที่เสียภาษีมากกว่า ไปให้คนรากหญ้าเพื่อประโยชน์ทางการเมือง” จนนำมาสู่การจุดกระแสต่อต้าน

“สิ่งที่ชนชั้นกลางหรือคนที่ต่อต้านนโยบายประชานิยมกลัวว่าจะนำไปสู่ประชานิยมแบบอำนาจนิยม ซึ่งเราก็จะเห็นแล้วว่ามันมีข้อพึงระวังในเชิงแนวคิดเหมือนกัน ว่าถ้ามันเป็นประชานิยมแบบสุดโต่งเสียงข้างมาก แล้วมันไปก่อสร้างผู้นำแบบอำนาจนิยมขึ้นมาแทน หรือเผด็จการขึ้นมาแทน ซึ่งปลายทางมันอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น อันนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างสถาบันทางการเมือง
ที่รองรับการมีส่วนร่วม และโครงสร้างในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่มันจะป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำแบบอำนาจนิยมขึ้นมา จากการที่กลายเป็น Popular (ได้รับความนิยม) ของประชาชนไม่เช่นนั้นมันก็จะล่ม” ผศ.ดร.ธัญณ์ณภัทร์ กล่าวในช่วงท้ายของการเสวนา

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

ระวังจบไม่สวย! 'อดีตบิ๊กข่าวกรอง'ฉะยับ'พวกนักการเมือง'เฉยเมยปม'ดินแดน'

แนวหน้าวิเคราะห์ : หยุด‘คอกม้าจีนเทา’ แหล่งฟอกเงินแก๊งคอลฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved