วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘สงขลาโมเดล’ ยกระดับ ‘รายได้’ เกษตรกร  ประคับประคอง ‘เศรษฐกิจฐานราก’

บทความพิเศษ : ‘สงขลาโมเดล’ ยกระดับ ‘รายได้’ เกษตรกร ประคับประคอง ‘เศรษฐกิจฐานราก’

วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

19 กันยายน 2564 ผมในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม คนที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ได้เดินทางไปที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดตาม “โครงการสงขลาโมเดล” ที่ อ.หาดใหญ่ อ.รัตภูมิ และ อ.สิงหนคร ในการนำวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม มาสร้างการเกษตรมูลค่าสูงให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้เสริมสำหรับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 โดยในกลุ่มงานของโครงการสงขลาโมเดลนั้น สามารถแยกย่อยเป็น 7 แขนงในกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีความเคลื่อนไหว ดังนี้

1. การทำปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงดินใช้เอง สำหรับการทำสวนยางพารา ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการประชาสัมพันธ์ และนำไปทดลองให้เกษตรกรได้ประเมินคุณภาพของปุ๋ย และตัวเลขทางบัญชีด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบต่อแนวทางการบริหารจัดการปุ๋ยในสวนยางพาราแบบเดิม


2. การบริหารจัดการสวนปาล์มอย่างมืออาชีพ ซึ่งตอนนี้ได้สมาชิกที่ดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งเป็นแปลงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว และแปลงปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ ทางทีมของโครงการจะไปสร้างแปลงสาธิต จากแปลงของสมาชิกแต่ละท่าน ผ่านกระบวนการที่จะพากันทำอย่างใกล้ชิด

3. การเกษตรแบบผสมผสานปลูกไม้ผลร่วมกับยาง โดยที่หลังจากได้สมาชิกกลุ่มต่างๆ แล้ว ก็เริ่มจัดอบรมหาแนวทางการแปรรูปผลไม้ และฝึกฝนทักษะต่างๆ นอกจากนั้นทางคณะทรัพยากรธรรมชาติ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็เปิดช่องทางการตลาดออนไลน์ให้แก่สมาชิกเข้าร่วม รวมทั้งมีการพากันไปเก็บตัวอย่างดิน เพื่อวิเคราะห์ปุ๋ยสำหรับไม้ผล และการหารือเรื่องการเลี้ยงชันโรงในสวน รวมไปถึงการขยายพันธุ์จำปาดะพันธุ์มังกรทอง

4. การยกระดับคุณภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่ แนวทางก็จะเป็นการบริหารจัดการด้านอาหาร โรงเรือน และการสุขาภิบาลอย่างเต็มระบบ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการปรับปรุงโรงเรือนหลังการสำรวจ และศึกษาวัตถุดิบของอาหารเป็ดที่มีศักยภาพในพื้นที่

5. ต้นแบบการเพิ่มผลผลิตปลาดุก และการพัฒนาด้านการตลาด เบื้องต้นมีการวิเคราะห์ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกเรียบร้อยแล้ว และวางแนวทางแก้ไข อาทิ การทำอาหารต้นทุนต่ำเอง การตลาดออนไลน์ การแปรรูป การเพาะพันธุ์ปลาดุกลูกผสม ฯลฯ

6. การพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อสู่ระบบของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ ทั้งการปรับปรุงพันธุ์ การอบรมการผสมเทียม วางแผนการจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการแปรรูป และการนำวัตถุดิบจากพื้นที่ มาสร้างมูลค่า อาทิ การทำปุ๋ยจากมูลโค เป็นต้น

และ 7. ยกระดับการผลิตผักอินทรีย์ด้วยความแม่นยำ จากการนำมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ลงไปเติมให้กับเกษตรกร เพื่อลดต้นทุน และสร้างมูลค่า โดยเริ่มต้นแล้วจากการพาสมาชิกมาศึกษาแปลงผักต้นแบบที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเบื้องต้นสำหรับการทำงานในโครงการ “สงขลาโมเดล” ในช่วงระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งต้องถือว่า เดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว แม้จะอยู่ในสถานการณ์โรคระบาดก็ตาม กระนั้น ผมก็พยายามแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานต่อทีมงานอาจารย์อย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันหาทางหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงสนับสนุนการสร้างศักยภาพของการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันคำนึงถึงความอ่อนไหวในเรื่องของโควิด-19 ร่วมด้วย เพื่อตอบโจทย์ของสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงของโควิด-19และการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศอันเป็นเป้าหมายตั้งต้นของโครงการดังกล่าวนี้

สำหรับใครที่สนใจในรายละเอียดงานทั้ง 7 แขนงของ “สงขลาโมเดล” สามารถที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูล และแนวทางของทีมงานอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/SongkhlaModel ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์หลัก จากนั้นถ้าต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเสนอแนะข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไร พื้นที่ทางสังคมออนไลน์ของผมยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

กนก วงษ์ตระหง่าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

พลังบวกเชิงลบ!! 'ปกรณ์วุฒิ'ต้อนรับ'ภท.' บอกทำงานสบายๆ เพราะไม่ได้อยู่กันด้วยความสมัครใจ

แฟนคลับช็อก! 'อีซอยี'นักแสดงเกาหลีเสียชีวิตด้วยวัย 43 ปี

กัมพูชาทำสงครามไซเบอร์ ปักหมุด'ปราสาทตาเมือนธม'เข้าชายแดนตัวเอง

โซเชียลรุมถล่มยับ! รถเมล์เปิดเลนเองซิ่งย้อนศร ชนคนข้ามทางม้าลายจนร่างกระเด็น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved