วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ถอดบทเรียนเรือล่มอยุธยา  3ปัจจัยเสี่ยง-6ข้อควรแก้ไข

บทความพิเศษ : ถอดบทเรียนเรือล่มอยุธยา 3ปัจจัยเสี่ยง-6ข้อควรแก้ไข

วันพฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเรือยนต์ที่กำลังลากจูงเรือบรรทุกสินค้า ล่มลงใต้น้ำกลางสามแยกแม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำป่าสัก บริเวณท่าน้ำวัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ส่งผลให้คนขับเรือและภรรยาจมน้ำสูญหายไปพร้อมเรือจากนั้น ถัดมาอีก 2 วัน ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่มอีกครั้งที่หน้าวัดบางกระจะ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจุดเกิดเหตุทั้ง 2 แห่ง อยู่ไม่ห่างกันมากนัก

รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เนื่องจากการขนส่งทางแม่น้ำมีความสำคัญที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งสร้างรายได้แก่ประเทศ อีกทั้งมีวิถีชีวิตไทยที่สัมพันธ์กับการคมนาคมทางน้ำมายาวนาน


โดยแม่น้ำไหลผ่าน 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย รวมความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร เป็นที่นิยมในการล่องเรือเที่ยว
ชมสถานทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งสถิติในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสักใช้เรือขนส่งสินค้าทั้งสิ้น 62,236 เที่ยวลำ มีสินค้าทั้งหมด 18 ประเภท ปริมาณสินค้ารวมประมาณ 56 ล้านตัน

“ภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยลงพื้นที่ทำการสำรวจวิจัยลักษณะสามแยกแม่น้ำ หน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร ที่ทำให้เรือมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุล่ม ซึ่งบริเวณนี้มีแม่น้ำป่าสักมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วยสามฝั่ง คือ 1.ฝั่งวัดพนัญเชิงวรวิหาร 2.ฝั่งวัดบางกระจะ แหลมบางกระจะเคยเป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำในยุคอยุธยา 3.ฝั่งป้อมเพชร เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยกระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก

หากย้อนประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง ตลอดบริเวณเหล่านี้เป็นย่านท่าเรือและการค้านานาชาติที่มีความสำคัญของโลกในยุคก่อน มีเรือนแพ
และร้านค้ามากมาย เรือสินค้าจากหัวเมืองชายทะเล และเรือสินค้าชาวต่างชาติจะเข้ามาจอดขายเต็มไปหมด ส่วนบริเวณหลังป้อมเพชรเป็นย่านพักอาศัยของขุนนางชั้นสูง ตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางทิศใต้ มีชุมชนต่างชาติอาศัยอยู่ เช่น บ้านฮอลันดา, บ้านญี่ปุ่น เป็นต้น ในบริเวณนี้ยังพบว่ามี ชื่อท้องถิ่นที่น่าสนใจ คือ บ้านวังน้ำวน ตำบลสำเภาล่ม บ่งบอกถึงภูมิศาสตร์ที่มีมาแต่อดีต” รศ.ดร.ธนภัทร์ กล่าว

ส่วนเหตุสลดที่เกิดขึ้น รศ.ดร.ธนภัทร์ อธิบายว่า สาเหตุของเรือล่มในแม่น้ำป่าสัก หน้าวัดพนัญเชิงฯ มี 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากบริเวณจุดเกิดเหตุเป็นสามแยกกลางแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำ 2 สาย ไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำจากสองแม่น้ำไหลมาต่างทิศทางมาปะทะกัน และยังเป็นโค้งน้ำอีกด้วย ยิ่งทำให้เกิดกระแสน้ำวน ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่กระแสน้ำไหลเชี่ยว จึงยากต่อการควบคุมเรือและเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ

2.โครงสร้างเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนสินค้าโดยใช้เรือยนต์ลากจูง 5 ลำ ชักนำเรือใหญ่ที่ขนสินค้า จะเห็นว่ายังขาดการพัฒนาการนำเทคโนโลยีที่จะช่วยการควบคุมเรือให้ปลอดภัย โดยปกติหากเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่กรณีที่เกิดเหตุนี้จะต้องเลี้ยวโค้งในพื้นที่ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกันแรง กระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก ทำให้มีคลื่นใต้น้ำมหาศาล ซึ่งเป็นอันตรายทำให้เรือพลิกคว่ำและจมลง

และ 3.ความเชี่ยวชาญของคนขับเรือ หากไม่มีประสบการณ์เพียงพอ หรือขาดเครื่องมือด้านความปลอดภัยที่จะช่วยให้สามารถจัดการแก้ไขสถานการณ์ยามฉุกเฉิน จึงมีความเสี่ยงสูงต่ออุบัติเหตุ ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สรุปข้อเสนอแนะแก่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินเรือและประชาชน ประกอบด้วย

1.กำหนดค่าระวางเรือขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องกำหนดว่าหากเรือขนส่ง หรือ เรือนำเที่ยวจะผ่านเส้นทางนี้ ต้องมีค่าระวางเรือขั้นต่ำเท่าไหร่ เนื่องจากกระแสน้ำมาหลายทิศทาง มีความเร็วและแรงกระทำกับตัวเรือสูง จึงควรที่จะปรับค่าระวางเรือตามลักษณะน้ำที่กระทบและมีขนาดระวางเรือที่เพียงพอต่อการชดเชยแรงที่กระทำกับตัวเรือ

2.ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในเรือขนส่งสินค้าและเรือท่องเที่ยวเช่น ระบบควบคุมการโคลงของเรือโดยใช้แรงเฉื่อย (Gyro Stabilizer) หรือระบบควบคุมการเดินเรือ เรืออัจฉริยะ ที่สามารถชดเชยแรงกระทำที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดจากกระแสน้ำหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ ที่ลอยอยู่ในน้ำได้ 3.ติดตั้งป้ายสัญญาณเตือน เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ

4.ผู้ประกอบการเรือขนส่งสินค้า และธุรกิจทางน้ำ ควรยกระดับและพัฒนานำระบบควบคุมเรืออัจฉริยะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ก้าวหน้าทันสมัยมาใช้ควบคุม และเพิ่มระวางหรือแรงขับเรือลากจูง บำรุงรักษาเรือให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยเสมอ 5.ควรจัดอบรมพัฒนาบุคลากรในการเดินเรือ เช่น คนขับเรือ เพื่อให้ความรู้ ฝึกฝนการขับเรืออย่างปลอดภัยและวิธีการเตรียมตัวและแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและ 6.ประชาชนผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวควรระมัดระวัง เลือกใช้บริการเรือที่มีระบบความปลอดภัย ทั้งระบบควบคุมเรือ ความเชี่ยวชาญที่ไว้วางใจได้

และมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้โดยสารที่ครบครัน!!!

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก  ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย
  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved