วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : เปิดเมือง-อยู่กับโควิด(จบ)  ‘แรงงานข้ามชาติ’อยู่จุดไหน

สกู๊ปแนวหน้า : เปิดเมือง-อยู่กับโควิด(จบ) ‘แรงงานข้ามชาติ’อยู่จุดไหน

วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 07.35 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ในตอนที่แล้ว (เปิดเมือง-อยู่กับโควิด (1) ถอดบทเรียนดูแลคนฐานราก : สกู๊ปแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 16 ต.ค. 2564) เรื่องเล่าจากงานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “คนทุกข์ในเมือง : โรคระบาด ปากท้อง บ้าน และงาน” จัดโดย สมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ ได้กล่าวถึงแรงงานหรือคนระดับฐานรากที่มีความสำคัญในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ไปแล้ว ส่วนในฉบับนี้ จะเป็นเรื่องของ “แรงงานข้ามชาติ” ที่มีความสำคัญเช่นกัน แต่ปัญหานั้นซับซ้อนยิ่งกว่าคนไทย และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเปิดอีกครั้ง หลายอาชีพก็น่าจะมีความต้องการใช้แรงงานกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

สืบสกุล กิจนุกร หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บอกเล่าเรื่องราวการทำงานกับแรงงานข้ามชาติและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.เชียงราย อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ว่า ที่นี่มีการตั้ง“ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ” ขึ้นมาตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 ซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกแรก เป็นองค์กรอาสาสมัครที่ทีมงานเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานข้ามชาติ ทำงานในลักษณะร่วมกับชุมชนของแรงงานข้ามชาติ และทำงานแบบองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ได้รับทุนสนับสนุนซึ่งต้องมีแผนและเป้าหมายการดำเนินงาน


ศูนย์นี้มีการทำงานเป็น 3 ระยะตั้งแต่ระลอกแรก ได้แก่ 1.บรรเทาความเดือดร้อนและระวังตนเอง เช่น การแจกถุงยังชีพ 2.เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม เช่น สิทธิแรงงาน รวมถึงสร้างความร่วมมือทั้งกับภาครัฐและภาคชุมชนของไทย และ 3.รับมือกับการระบาดในเมือง ซึ่งเป็นภารกิจล่าสุด เริ่มตั้งแตเดือน ก.ย. 2564 เป็นต้นมา
ซึ่ง “สถานการณ์โควิด-19 นำมาซึ่งความเสี่ยง” 3 เรื่องคือ “ปากท้อง” จากการถูกเลิกจ้างหรือลดเวลาทำงานส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายประจำวัน “สุขภาพ” ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย และ “การข้ามแดน”เพราะพรมแดนถูกปิด

“แรงงานข้ามชาติอยู่ในทุกที่” ตั้งแต่แคมป์คนงานก่อสร้างย่านชานเมือง ไปจนถึงร้านค้าหรือหอพักในเมือง หรือแม้แต่ในบ้านของใครหลายคน “แรงงานข้ามชาติมักอาศัยอยู่เป็นชุมชนและครอบครัวใหญ่” แม้จะเป็นห้องเช่าเล็กๆ ก็จะอาศัยอยู่รวมกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำระบบกักตัวและรักษาโรคที่บ้าน (Home Isolation) “บริการที่ชุมชนช่วยเหลือกันเองเข้าถึงได้ง่ายกว่าภาครัฐ” เพราะอาสาสมัครรู้ว่าชุมชนไหนลำบากมาก-น้อยเพียงใด

“เมื่อเราสร้างตัวตนของเราขึ้นมา มันทำให้ผมคิดว่าตอนแรกหน่วยงานภาครัฐช็อก กอ.รมน. เรียกไปคุย ถามว่าอาจารย์ทำอะไรอยู่? คือเขาไม่รู้ว่ามีแรงงานข้ามชาติอยู่ในเมือง เขาไม่รู้ว่าแรงงานข้ามชาติอยู่ในหอพักเป็นจำนวนมากเราก็อธิบายไป แต่สุดท้ายด้านหนึ่งก็คือมันทำให้การควบคุมโรคมันเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ตรวจโควิดเชิงรุกรอบแรกยังใช้น้ำลายในการตรวจอยู่เลย โรงพยาบาลประจำจังหวัดก็ไม่รู้จะไปตรวจแรงงานข้ามชาติอยู่ไหนที่อยู่ในหอพัก เพราะเขาเข้าไม่ถึง เขารู้จักก็คือรู้จักศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติก็ใช้พวกเราเข้าไปช่วยทำงาน” สืบสกุล กล่าว

หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เล่าต่อไปว่า ในการทำงานด้านการเข้าถึงสิทธิ มีการให้ความรู้เรื่องประกันสังคม การขึ้นทะเบียนแรงงาน ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ทำงานร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดยเฉพาะการตั้งจุดรับขึ้นทะเบียนแรงงาน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานจากเดิมที่ต้องใช้บริการจากนายหน้า โดยมีอาสาสมัครที่เป็นแรงงานข้ามชาติซึ่งทำงานในไทยมานานมาช่วยด้านงานเอกสารที่ทั้งหมดเป็นภาษาไทย เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะใช้ภาษาไทยได้ค่อนข้างดี

ส่วนการแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนไทย มีการทำงานร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานข้ามชาติ (อสรช.) เพื่อทำงานร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โดยชวนผู้นำชุมชนแรงงานข้ามชาติ กับ อสม. ไทยในเขตเทศบาล มาอบรมร่วมกัน “เหตุที่ จ.เชียงราย ไม่ใช้คำว่าอาสาสมัครแรงงานต่างด้าว (อสต.) เนื่องจากเป็นคำที่ให้ความรู้สึกดูถูกและกีดกัน” แม้จะอบรมได้เพียงครั้งเดียวจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 3 ครั้ง เพราะเกิดโควิด-19 ระบาดใหญ่ในพื้นที่จึงต้องระงับไป แต่ก็ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน

“เมื่อเกิดการระบาดทำให้มีการส่งต่อข้อมูล เพราะว่าในเมืองมันยังมี อสม. ทำงานอยู่ ก็ส่งต่อข้อมูลมายังเราที่เป็นศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ เราก็มีคนลงไปดูได้ ก็ทำให้การควบคุมการระบาดทำได้ง่ายมากขึ้น ถามว่าเราทำงานกับระยะรับมือการระบาดในเมือง ตอนนี้ทำอะไร มันระบาดมาหลายระลอก แต่ระลอกนี้แรงสุดก็คือตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 เป็นต้นมา มันระบาดจากชานเมืองมาก่อน คือในแคมป์คนงานก่อสร้าง ผู้ติดเชื้อประมาณ 100 คน

แต่สิ่งที่เขาทำคือปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง แล้วบริษัทก็ดูแลอาหารการกิน ก็มี รพ.สต. ลงไป ทางทีมเราก็ลงไปช่วยอธิบายเรื่องสิทธิของคนงาน โดยเฉพาะเมื่อเขาถูกกักตัว 14 วัน เขามีสิทธิได้รับการชดเชยจากการว่างงานจากประกันสังคม เราเข้าไปอธิบายเรื่องนี้พร้อมกับเรื่องอาหารการกิน การรักษาโรค และการเซตระบบระหว่างแรงงานข้ามชาติกับ รพ.สต. เราออกแบบการสื่อสารที่เป็นภาษาเมียนมากับไทย ให้แรงงานกับ รพ.สต. ได้คุยกัน ทำให้ง่ายมากขึ้นในการสื่อสารและติดตามอาการของผู้ป่วย” สืบสกุล ระบุ

สืบสกุล สรุปบทเรียนการทำงานด้านแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า 1.ทุกคนรู้ว่าขาดแรงงานข้ามชาติไม่ได้..แต่ไม่มีใครอยากดูแล ทุกคนรู้ว่าแรงงานข้ามชาติมีความสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจของเมือง แต่ในภาพรวมไม่ค่อยมีใครอยากดูแลคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งสาเหตุมาจากคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส่วนนายจ้างนั้นมีทั้งที่ดูแลแรงงานดีและไม่ดี2.ข้อจำกัดจากระเบียบราชการ หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถซื้อสิ่งของจำเป็นไปช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยได้

3.ขาดการทำงานแบบบูรณาการ ในพื้นที่หนึ่งมีหลายหน่วยงานแต่มีลักษณะต่างคนต่างทำ ซึ่งการเกิดขึ้นของศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ เป็นเพราะต้องการ
อุดช่องว่างนี้ 4.ทุกคนรู้ว่ามีแรงงานข้ามชาติ..แต่ไม่มีใครอยากรู้จัก ประเด็นนี้ไม่ใช่เฉพาะภาครัฐแต่รวมถึงสังคมไทยด้วย เช่น เคยเจอเจ้าของหอพักรายหนึ่ง บอกว่าแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในหอพักใกล้ๆ กันไม่มีบัตร ซึ่งหมายถึงเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งที่จริงๆ แรงงานเหล่านั้นมีบัตรซึ่งหมายถึงเป็นแรงงานถูกกฎหมาย เมื่อถามกลับไปว่ารู้ได้อย่างไรว่าไม่มีบัตร เจ้าของหอพักก็ตอบสั้นๆ ว่าไม่รู้แต่เดาเอาเอง เป็นต้น

“ตอนนี้ทุกร้านทุกบ้านมีแรงงานข้ามชาติทำงานอยู่สถานการณ์โควิดบอกเราว่าเราใช้แรงงานเขา แต่เราไม่ได้ดูแลเขา” หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวในท้ายที่สุด


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เผชิญหน้าครั้งแรก! 'ฟิล์ม-ดีเจแมน'นัดไกล่เกลี่ยคดีหมิ่นประมาทฯ ปมเรียกเงิน 14 ล้าน

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568

'แอ๊ด คาราบาว'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน 'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา'สาปสูญแน่

ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved