วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ ปรับปรุงอย่างไรลดเหลื่อมล้ำ?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ ปรับปรุงอย่างไรลดเหลื่อมล้ำ?

วันอาทิตย์ ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 07.20 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า“บัตรคนจน” เป็นโครงการที่ริเริ่มในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการเปิดให้ผู้มีรายได้น้อยมาลงทะเบียนแล้วรัฐบาลจะอุดหนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเพื่อลดภาระค่าครองชีพในชีวิตประจำวัน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ จากพรรคพลังประชารัฐ

ช่วงค่ำวันที่ 21 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา (ออนไลน์) “สำรวจสภาพความเหลื่อมล้ำไทย EP1 : บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการลดความเหลื่อมล้ำ” โดยมี วีระวัฒน์ภัทรศักดิ์กำจร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บรรยาย ซึ่งที่มาที่ไปของการศึกษานโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีการคัดกรอง โดยมุ่งเจาะจงเป้าหมายไปที่ผู้มีรายได้น้อย


ทั้งนี้ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการค้นหาคนจน ก่อนหน้านี้รัฐไทยเคยพยายามทำมาแล้ว เช่น ในปี 2525 หรือปี 2547 แต่ข้อมูลที่จัดเก็บไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเริ่มต้นใช้งานจริงในเดือน ก.ย. 2560” ตั้งเป้าหมาย “ลดความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงโอกาส รายได้และพื้นที่” นำพาเศรษฐกิจและสังคมไทยก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง และนำไปสู่ความยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม “ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการประเมินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างเป็นรูปธรรมว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด” ทั้งที่ใช้งบประมาณมากพอสมควร เช่น ในปีงบประมาณ 2564 บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีงบประมาณ 49,500 ล้านบาท ซึ่งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เดือน เม.ย. 2560 กำหนดคุณสมบัติอายุ 18 ปีขึ้นไป มีรายได้และทรัพย์สินทางการเงิน (เช่น เงินฝาก) ในปี 2559 ไม่เกิน 1 แสนบาท อีกทั้งยังพิจารณาเรื่องทรัพย์สินที่ครอบครอง เช่น อสังหาริมทรัพย์ บ้านหรือที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนด

ในช่วงแรกนั้นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะให้วงเงิน 200 และ 300 บาทต่อเดือนตามฐานรายได้ (รายได้น้อยได้วงเงินมาก) แต่ต้องใช้ซื้อสินค้ากับร้านค้าที่มีเครื่องอ่านบัตร (EDC) เท่านั้น ไม่สามารถกดเงินสดออกมาใช้ได้,ค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน และค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. รถไฟ รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน โดยมีผู้ลงทะเบียน 14.5 ล้านคน ผ่านเกณฑ์ได้รับบัตร 11.4 ล้านคน

ปี 2561 มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจตามชุมชนต่างๆ ว่ามีผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่ (เช่น พิการหรือป่วยติดเตียง) หากพบก็จะดำเนินการให้ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน ยังมีโครงการให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฝึกอาชีพ แลกกับการเพิ่มวงเงินในบัตรให้อีก 100 และ 200 บาทต่อเดือนตามฐานรายได้ ปี 2562 เริ่มมีการโอนเงินสดเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งผู้ถือบัตรสามารถกดออกมาใช้ได้ เหตุผลคือรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ

จากนั้นในปี 2563 มีโครงการมากมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เนื่องจากรัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19กระทั่งในปี 2564 มีการสำรวจพบมีจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.5 ล้านคน ประกอบกับตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมีการให้ผู้ถือบัตรแจ้งรายได้ใหม่ว่ายังเป็นผู้มีรายได้น้อยอยู่หรือไม่ และไม่มีการลงทะเบียนรายใหม่ ทำให้ระยะหลังๆ เริ่มมีข่าวว่าจะมีการดำเนินการดังกล่าว โดยใช้รายได้ครัวเรือนเป็นเกณฑ์ อีกทั้งจะนำทรัพย์สินอื่นๆ เช่น รถยนต์ บัตรเครดิต มาเป็นปัจจัยพิจารณาด้วย

งานวิจัยใช้ฐานข้อมูล “การสำรวจภาวะสังคมและเศรษฐกิจครัวเรือน (SES)” โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 และ 2562 ซึ่งการสำรวจนี้ทำทุกๆ 2 ปีต่อครั้ง (ส่วนข้อมูลปี 2564 ยังไม่แล้วเสร็จ) และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นตัวเลือกในคำถามเรื่องการได้รับผลประโยชน์ (แบบไม่ต้องคืน) จากโครงการช่วยเหลือของรัฐหรือไม่ (ในช่วง5 ปีล่าสุด) ตั้งแต่ปี 2561

“ผลการศึกษา” (ใช้เฉพาะข้อมูลปี 2562 พบว่า “การกระจายผลประโยชน์” แบ่งเป็น 1.การกระจายผลประโยชน์ของประชากรรวม โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถพัฒนาได้มากกว่านี้ ในการลดจำนวนกลุ่มรั่วไหล (ไม่เข้าเกณฑ์แต่ได้บัตร) และกลุ่มตกหล่น (เข้าเกณฑ์แต่ไมได้บัตร) 2.การกระจายผลประโยชน์ของประชากรที่รายได้ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อปี พบว่า โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดูจะให้ประโยชน์กับกลุ่มที่พอมีรายได้ขึ้นมาในระดับหนึ่ง หรือไม่ใช่กลุ่มคนจนที่สุด และ 3.การกระจายรายได้ พบว่า แทบไม่ส่งผลต่อการกระจายรายได้

“ข้อเสนอแนะ” แบ่งเป็นด้านต่างๆ ประกอบด้วย 1.ชี้เป้า เนื่องจากที่ผ่านมามีทั้งกลุ่มตกหล่นและกลุ่มรั่วไหล ขณะเดียวกันรายได้ของประชากรแต่ละปีก็อาจไม่คงที่ ปีนี้มีรายได้ดี ปีต่อไปเศรษฐกิจไม่ดีรายได้ก็อาจลดลง จำนวนผู้มีรายได้น้อยในแต่ละปีย่อมไม่เท่ากัน “ควรให้รายงานรายได้ทุกปีคล้ายกับการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา” ซึ่งในบางประเทศมีการจูงใจให้รายงานรายได้ หากรายได้ถึงเกณฑ์ก็เสียภาษี แต่หากไม่ถึงเกณฑ์รัฐจะโอนเงินอุดหนุนให้ แม้ข้อมูลอาจตรงหรือไม่ตรงบ้าง แต่ก็ยังมีการปรับปรุงข้อมูล หากพบเหตุน่าสงสัยจึงไปตรวจสอบภายหลัง

2.จัดสูตร ที่ผ่านมาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบ่งวงเงินเพียง 200 กับ 300 บาท ซึ่งอาจจะเป็นเกณฑ์หยาบเกินไปเพราะไม่แตกต่างกันมาก ควรปรับแก้ให้ผู้มีรายได้น้อยพิเศษ หรือกลุ่มคนจนที่สุด ได้วงเงินมากขึ้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากโครงการ และ 3.บูรณาการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างเดียวไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำหรือทำให้เกิดการกระจายรายได้ จึงต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม ต่อยอดจากข้อมูลประชากรที่ได้จากโครงการนี้

“เราไม่ควรเข้าใจไปว่านโยบายสวัสดิการมันเป็นเครื่องมือเดียวในการลดความเหลื่อมล้ำ เราต้องไปดูส่วนอื่นอีก เราต้องไปดูอำนาจต่อรองหรือแรงงาน เราต้องไปดูว่าโครงสร้างภาษีที่เก็บมันมีความบิดเบือนมากน้อยแค่ไหน มันช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้มากน้อยขนาดไหน สวัสดิการมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ว่ามันมีส่วนอื่นๆ อีก ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ทุกส่วนมันมีความสำคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำทั้งหมด” วีระวัฒน์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved