วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : วช.ถอดรหัสการจัดสรรงบวิจัยเร่งด่วน  กับเบื้องหลังทัพหน้า‘วิจัยคุมโควิด’

สกู๊ปพิเศษ : วช.ถอดรหัสการจัดสรรงบวิจัยเร่งด่วน กับเบื้องหลังทัพหน้า‘วิจัยคุมโควิด’

วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) ที่ห้องเวิลด์บอลรูมชั้น 23โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

งานในภาคเช้าได้มีการจัดเวทีเสวนา เรื่องการถอดรหัสการจัดสรรงบวิจัยเร่งด่วนกับเบื้องหลังทัพหน้า “วิจัยคุมโควิด”ฉายภาพรวมการแก้ไขปัญหาของประเทศในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเวลากว่า 2 ปี ประเทศไทยสามารถรับมือทั้งที่สำเร็จและที่ยากลำบาก ซึ่งผ่านมาได้อย่างดีสิ่งที่อยู่เบื้องหลังนี้คือ การวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม


ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิดทำให้เห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องจัดรูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยใหม่ โดยใช้สถานการณ์ที่มีอยู่และโจทย์จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีเป้าหมายเดียวกันร่วมมือกันและส่งต่อผู้ใช้งานจริง พร้อมรับฟังโจทย์ของผู้ใช้เพื่อให้การแก้ปัญหาของประเทศได้จริง นอกจากนี้ไทยถือว่า ก้าวมาถูกทางแล้วที่รวบรวมงบประมาณวิจัยมาอยู่ในกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาประเทศ ทำให้สามารถตัดสินใจจัดสรรงบประมาณวิจัยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้

ทั้งนี้ โควิด-19 เป็นโรคใหม่ จึงต้องเรียนรู้จากโรค และต้องรวบรวมสรรพกำลังเพื่อต่อสู้กับโรค โดยในการวิจัยจะต้องมี 1.ต้องมีเป้าหมายที่ตรงกัน หน่วยงานวิจัยต่างๆ ของประเทศที่มีอยู่ ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการระบาดของไข้หวัดนกในอดีต มีการจัดลำดับเป็นระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในการพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องเวชภัณฑ์ต่างๆ

2.มีผู้คุมนโยบาย ได้แก่ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สอวช.) ที่ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน แบ่งงาน กระจายงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ เกิดการร่วมมือกัน

3.การจัดสรรงบประมาณ เป็นหน้าที่ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นงบวิจัยเร่งด่วนที่สามารถทำได้ง่ายขึ้น ผลดีจากการปฏิรูปงบประมาณวิจัยเมื่อ 2 ปี ที่มีวช.ดูแลงบวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ

“กระทรวงฯต้องมีการพัฒนาผลผลิตแบบใหม่ ที่เกิดจากผลงานวิจัยเพื่อรับใช้สังคมและปัญหาของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำ รวมทั้งต้องมีการเขียนเป็นหลักวิชาการด้วย ผมเห็นและเสียดายว่าในช่วง 2 ปี มีการวิจัยในเรื่องโควิดจำนวนมากและมีการตีพิมพ์ เราต้องถือโอกาสตรงนี้ และถ้าใครที่รับทุนวิจัยแล้วส่งแต่ละงานวิจัยอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีการรายงานผลต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลา 5 ปี ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง” ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร กล่าว

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช.เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในชุดบริหารจัดการช่วยคลี่คลายสถานการณ์โควิด ในช่วงปี 2563 ศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการ วช. ในขณะนั้น ได้ปรับแผนงบประมาณเพื่อรองรับการบริหารจัดการเรื่องโควิด-19 ที่ใช้วิจัยและนวัตกรรมมาทำงานร่วมกับด่านหน้า ต่อมาช่วงปลายปี 2563 สถานการณ์คลี่คลายระยะหนึ่ง ได้มีความพยายามที่จะช่วยคลี่คลายทางด้านเศรษฐกิจสังคม และเริ่มมีเวชภัณฑ์อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการพัฒนาออกมาและ วช.ได้รับโอกาสมีส่วนร่วมทำงานกับทาง ศบค. ปี 2564 เห็นภาพการระบาดเป็นภาพใหญ่ วช.ได้ส่งมอบผลงานอุปกรณ์การแพทย์แก่ทางด่านหน้า มีผลงานจากการวิจัยเกิดขึ้น และมีการกำหนดแผนสนับสนุนการวิจัยเรื่องโควิดเป็นระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว มองภาพการต่อยอดขยายผลในมิติสาธารณสุข

โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญมีเรื่องการกลายพันธุ์ไวรัส การสนับสนุนเรื่องวัคซีน ก่อนขยายประเด็นมากขึ้นเป็นการรับมืออย่างเป็นระบบ โดยใช้งานวิจัยสนับสนุนรวมถึงประเด็นด้านสังคมและเศรษฐกิจมุ่งตอบสนองต่อการใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ในระยะยาวมีเรื่องของการพัฒนายา วัคซีนชนิดอื่นๆ

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการวิจัยปี 2563 มีการใช้ไปมากกว่า 800 ล้านบาท วช.มีสัดส่วนอยู่ 20% ส่วนในปี 2564 ใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท เป็นส่วนของ วช.ประมาณ 24% มีการวิจัย 2 ปี รวม 402 โครงการ โดยในปี 2564 มีการวิจัยเกิดขึ้นเพิ่มมาประมาณ 300 โครงการ วช.ได้รับมอบหมายงานในระดับแผนของประเทศมาสู่หน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม

จากที่ได้ร่วมเสวนากัน สิ่งที่เห็นและเป็นสิ่งสำคัญคือ เดิมอาจมีความคุ้นเคยการทำงานที่เป็นช่วงเวลา ในการขอรับการสนับสนุนในเชิงทุน แต่ในบางกลไกมีการขยับขึ้นไปให้สูงขึ้นมีการตั้งโจทย์Demand Side สนับสนุนแผนงานรวดเร็วขึ้นและไม่ให้ติดขัดในแผนงานเวลาอีกต่อไป หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค หรือ ศิริราช ซึ่งหลายโครงการไม่ได้มีการพูดถึงในเชิงแผนงานแต่จะพูดถึงการบริหารประเด็นเชิงเร่งด่วนวช.พยายามตอบรับในการทำงานให้เกิดขึ้นรวดเร็ว

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรคกล่าวว่า เรื่องโควิด-19 เป็นการเรียนรู้จากการทำงานที่เราได้ใช้เรียนรู้ร่วมกันมาในเรื่องการวิจัยมาสู่การปฏิบัติ คงอยู่ที่รหัสที่สำคัญ คือ “การมีเป้าหมายร่วม” ถ้าทุกคนมีเป้าหมายร่วมไปสู่ที่เดียวกันและนำมาด้วยการปรับแนวคิดที่เราทำงานในยุคใหม่ ไม่มีตัวตน หรือ นิวแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ ไม่ได้อยู่ในกระดาษอย่างเดียว ถ้าเราร่วมทำงานแบบนี้ประสบการณ์ โควิด จะทำให้เราได้ก้าวไปสู่ สมาร์ทลีฟวิ่ง หรือการร่วมกันแบบอัจฉริยะแบบโลกยุคใหม่ ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์แบบไหน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ๆ หรือ ยาใหม่ๆเราทำงานด้วยเป้าหมายร่วมและมีความสุขร่วมกัน

ข้อจำกัดคนที่นำผลงานวิจัยไปแชร์เพื่อทำงานในส่วนปฏิบัติการ เราทำข้อเสนอไปสู่นโยบายมักจะเขียนผลงานวิจัยน้อยกว่า 20 เรื่อง ถ้าเป็นภาพในหน่วยงานเอง แต่ถ้าทำร่วมกับหน่วยงานอื่นก็มี ซึ่งการใช้งานอาจจะยังไม่ไปสู่สาธารณะเท่าไหร่ แต่มันจะเป็นเรื่องของการเสนอเชิงนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ ในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงมากโดยเฉพาะในเรื่องการนำเสนอเชิงนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ รวดเร็ว

นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า งานวิจัยมันอยู่กับเราตลอด ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนที่ช่วยให้เราตัดสินใจไปทางที่ถูกและอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งที่มีการระบาดทำให้เห็นถึงความร่วมมือ และเห็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ถ้าระบบสนับสนุนงานวิจัยดี นักวิจัยอยากทำ และมีการตอบสนอง ผลงานวิจัยมันจะไปเร็ว ในอดีตการทำวิจัยเราต้องของบประมาณล่วงหน้าถึง 2 ปี ซึ่งล่าช้าและทำให้นักวิจัยไม่อยากทำ พอตอนนี้มีปัญหาที่ใหญ่ และนักวิจัยอยากทำ มีการตอบสนองเรื่องงบประมาณ การเก็บข้อมูลต่างๆ ทุกอย่างมันจะเร็วหมด ส่วนที่มีการพูดถึงเรื่องข้อมูลวิชาการที่จะเผยแพร่สู่ประชาชน อยากให้ช่วยมีการปรับภาษาจากวิชาการเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เรารับหมดทุกโครงการที่เป็นงานวิชาการเกี่ยวข้อง อีกทั้งกรมการแพทย์ยังมีข้อมูลวิจัยที่จะกลั่นกรองสกัดออกมาให้อยู่ในพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งต้องดูเรื่องการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มาดีมากน้อยแค่ไหน

ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เราทำวิจัยในประเทศไทย ควรทำอะไร การแก้ปัญหาโควิด ในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นปัญหาของโลก เราจะไปทำแข่งขันการแก้ปัญหาของโลกมันไม่ทัน ไม่มีศักยภาพ และก็ไม่ควร แต่ควรมองเรื่องที่เราต้องทำโลคอล คอนเทนต์ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องทำ มีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.ตรงไปตรงมา และเรื่องระบาดวิทยาต้องเป็นของใครของมัน บ้านใครบ้านมัน ใครระบาดอย่างไร เชื้อเป็นอย่างไร 2.ข้อจำกัดของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรว่าเรามียา มีวัคซีนแค่ไหน

“เรื่องการนำผลวิจัยไปใช้งาน ก็มีบางเรื่องที่เราทำกันแล้วยังไม่มีข้อมูลเป็นผลสรุป ถ้ามีการตีพิมพ์แล้วนำไปใช้ก็ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น แต่มีหลายเรื่องที่ยังคาใจ ที่บอกว่าอัตราการตายต่ำ หมอหลายคนบอกว่าเป็นเพราะเราใช้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หรือวัคซีน ยังไม่มีข้อสรุปออกมาชัดเจนหรือเป็นระบบทำให้เกิดความสับสนและงงๆ แต่ถ้ามีการมานั่งคุยกันจากหลายฝ่ายถ้ามีการสร้างแพลตฟอร์มรองรับ ถ้าทุกคนช่วยกันดูและแชร์ความคิดร่วมกันจะเป็นผลที่ดีมาก ยังมีหลายคำตอบที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าการลงตามวิจัยที่มีการตีพิมพ์แล้วมันชัดเจนจริงหรือไม่ ซึ่งโจทย์ของเราต้องพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับนานาชาติต่อไป” นพ.ประเสริฐ กล่าว

ในวงเสวนาครั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการวิจัยด้านนี้เข้าฟังจำนวนมาก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ วช.ได้กล่าวบนเวทีเสวนาว่า เราโชคดีที่มีทัพหน้าและทัพหลังในการที่จะหลุดพ้นแต่ก็ยังมีบทเรียนและการเรียนรู้ต่างๆ ที่ไม่ทราบว่าจะสามารถการันตีได้หรือไม่ และดีใจว่าเรื่องข้อมูลวิจัยนั้นมีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจระบบสังคมของประเทศ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  •  

Breaking News

'อุ๊งอิ๊งค์'วางฤกษ์ 9 โมง เข้ากระทรวงวัฒนธรรมวันพรุ่งนี้

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved