วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : หา‘ความจริงร่วม’ลดขัดแย้ง  ‘พูดคุย-เข้าใจ-ไม่ด่วนตัดสิน’

สกู๊ปแนวหน้า : หา‘ความจริงร่วม’ลดขัดแย้ง ‘พูดคุย-เข้าใจ-ไม่ด่วนตัดสิน’

วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“Post-Truth” หรือแปลทับศัพท์แบบไทยๆ ว่า “ยุคหลังความจริง” เป็นคำที่ในปี 2559 พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด (Oxford Dictionary) ได้ยกให้เป็นคำแห่งปี โดยนิยามไว้ว่าหมายถึง “การที่ผู้คนตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง(relating to circumstances in which people respond more tofeelings and beliefs than to facts)”ซึ่งแม้ว่า Post-Truth จะเป็นคำที่มีมาตั้งแต่ปี 2535 แล้วก็ตาม แต่ก็เพิ่งมาถูกกล่าวถึงมากในช่วงไม่กี่ปีล่าสุด

Post-Truth ยังเชื่อมโยงกับอีกคำหนึ่งคือ “Echo Chamber” หรือ “ห้องเสียงสะท้อน” เป็นปรากฏการณ์ที่เมื่อคนเราส่งเสียงออกไปแล้วเสียงนั้นก็จะสะท้อนกลับมาในแบบเดียวกัน ซึ่งถูกนำมาเปรียบเทียบกับการสื่อสารผ่าน “Social Media” หรือ “สื่อสังคมออนไลน์” ที่สามารถเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลข่าวสารหรือรับใครเป็นเพื่อน แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่มักเลือกรับที่ตรงจริตของตนเอง เมื่อบวกกับระบบของสื่อออนไลน์เองที่จะคัดกรองข้อมูลเฉพาะที่แต่ละคนชอบมาให้ ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป แต่ละคนก็จะยึดติดกับข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งและยากที่จะเปิดรับข้อมูลที่แตกต่าง


เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมามีการจัดเวทีเสวนานักคิดดิจิทัลส่งท้ายปลายปี 2564 ครั้งที่ 19 “จากข้อมูลลวงสู่โลกเสมือน : แนวทางการหาความจริงร่วม” โดยความร่วมมือของหลายองค์กร อาทิ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Centre for Humanitarian Dialogue (“hd) สถาบันเชนท์ฟิวชั่น และ มูลนิธิฟรีดริชเนามัน ประเทศไทย

ในช่วงท้ายของงานมีการเสวนาหัวข้อ “จากข่าวลวงสู่ความฉลาดยุคดิจิทัล : มุมมองจากเยาวรุ่นถึงบูมเมอร์”ซึ่งในช่วงหนึ่ง ผู้ดำเนินรายการได้ชวนวิทยากรบนเวทีให้ความเห็นเกี่ยวกับยุคปัจจุบันที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายและทำให้ผู้คนในสังคมแตกแยกแบ่งฝ่ายกันมากขึ้น คำถามคือแล้วจะหา “ความจริงร่วม”หรือความจริงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน เพื่อสร้างสังคมร่วมกันได้อย่างไร

มุมมองจากคนรุ่นใหม่ สุธิดา บัวคอม ตัวแทนทีม “บอท” จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันระดมสมองเชิงลึก “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic หักล้างข้อมูลเท็จแสวงหาความจริงร่วม” กล่าวว่า แม้กระทั่งยุคนี้ที่ผู้คนนิยมเชื่อคนดังบนโลกออนไลน์ (Influencer) ก็ยังแยกได้อีกว่าจะเลือกเชื่อคนดังคนใด ซึ่งก็ต้องผ่านการพูดคุยกัน แต่ก่อนหน้านั้นต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Speech)เสียก่อน ต้องเปิดพื้นที่ให้คนที่มีสถานะแตกต่าง เช่น วัย อำนาจ ได้พูดคุยกันอย่างเต็มที่

“ก่อนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นนั้น ต้องเริ่มจากเด็กกับผู้ใหญ่ต้องสามารถคุยกันได้ก่อนโดยไม่มีอำนาจบางอย่างมากั้นตรงกลาง พื้นที่นี้พยายามมีแต่ว่ามันไม่ใช่เป็นพื้นที่จริงสักเท่าไร คือมันเป็นเวทีแบบนี้แต่ไม่ได้ถูกให้เด็กพูดทุกเรื่องจริงๆ มันมีกรอบกำหนดอยู่ที่เรารู้ว่าไม่สามารถข้ามไปสู่เรื่องนี้ได้”สุธิดา กล่าว

เช่นเดียวกับ ไอริณ ประสานแสง ตัวแทนทีม “New Gen Next FACTkathon” จากมหาวิทยาลัยพายัพ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขันระดมสมองเชิงลึก FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic หักล้างข้อมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วมกล่าวว่า อยากให้ยอมรับก่อนว่ามนุษย์นั้นมีอคติ (Bias) อยู่แล้วดังนั้นแม้ไม่เป็นกลางก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้เปิดใจรับฟังอีกมุมหนึ่งบ้างก็พอ

“ถ้าเกิดเราบอกว่าเราเป็นกลาง แต่ลึกๆ เรายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราเชื่อ เราศรัทธาอะไรอยู่ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่มีประโยชน์ ต่อให้มีความจริงมากขนาดไหนแต่คุณยังไม่รู้ตัวเองเลยว่าคุณคิดอะไร คุณยังไม่รู้ความเป็นมนุษย์ของตัวคุณเลย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้อยากให้ทุกคนยอมรับก่อน แล้วหลังจากนั้นเราค่อยมาถกกัน เพราะความจริงมันไม่เหมือนข้อเท็จจริง มันไม่ใช่ขาว-ดำ มันอยู่ตรงกลางเป็นสีเทา ฉะนั้นเรามาพูดกันได้”ไอริณ กล่าว

ความเห็นจากคนทำงานแวดวงสื่อมวลชน พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทยอสมท กล่าวถึงคำว่า “ความเข้าใจกัน” เช่น คนรุ่นใหม่กับผู้ใหญ่ ทั้ง 2 วัยมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกัน แต่อาจไม่ได้มองสัดส่วนตามข้อเท็จจริงทำให้การคุยกันทำได้ยากขึ้น อาทิ ผู้ใหญ่รู้ว่าเด็กคล่องแคล่วในทักษะด้านดิจิทัล แต่เห็นว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่จึงไม่จำเป็นต้องปรึกษาเด็ก

กระทั่งเมื่อผู้ใหญ่ถูกหลอกจากการซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ จึงค่อยมาปรึกษาเด็กว่าจะเอาเงินคืนได้อย่างไร เป็นต้นในทางกลับกัน เด็กควรเข้าใจว่าทั้งบ้านได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อให้เด็กมีทักษะด้านดิจิทัล หากเปรียบกับบริษัทแล้วหมายถึงตำแหน่ง Chief Technology Officer (CTO) หมายถึงเป็นฝ่ายดูแลด้านเทคโนโลยีประจำองค์กร ทั้งการทำให้องค์กรเจริญขึ้นด้วยเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยองค์กร

“จริงๆ คือทรัพยากร Assign (มอบหมาย) หน้าที่เข้าไปมันไม่ได้ Assign เฉพาะเอาความบันเทิงด้านดิจิทัลเข้าไป แต่ก็Assign หน้าที่บางอย่างเข้าไปในตัวของบุคคลนั้นด้วย ฝั่งผู้ใหญ่ควรจะรู้ว่าเด็กๆ มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ ก็ควรจะสอบถาม แล้วตัวเด็กๆ ควรจะรู้ว่าผู้ใหญ่จำนวนมากในบ้านผ่านจำนวนฝนมามากกว่า มีประสบการณ์หลายๆ อย่างมากกว่า แม้ความรู้จะน้อยกว่า แต่ผ่านประสบการณ์มากกว่า ดังนั้นเด็กๆ อาจจะดูว่าส่วนไหนควรจะต้องถามผู้ใหญ่ ในมุมเดียวกันเพียงแต่มันกลับข้างกัน” พีรพล กล่าว

ขณะที่อดีตสื่อมวลชนที่ผันตัวไปทำงานในองค์กรด้านเทคโนโลยี ธนภณ เรามานะชัย Trainer Google News Intiative (GNI) ให้ความเห็นว่า “การรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)” เป็นทักษะที่สำคัญกับทุกเพศทุกวัย เช่น รู้ว่าแพลตฟอร์มต่างๆ (เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ ฯลฯ)ถูกพัฒนาขึ้นด้วยวัตถุประสงค์อะไร เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ถอยหลังกลับมาเมื่อรู้สึกว่าตนเองถลำลึกเข้าไปมากเกินไป อีกทั้ง “คนเราไม่จำเป็นต้องอยู่กับหน้าจอบ่อยๆ ก็ได้” การได้มาพูดคุยกันจริงๆ บางครั้งอาจทำให้เข้าใจกันได้มากกว่า

พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการมูลนิธิฟรีดริชเนามัน(ประเทศไทย) กล่าวว่า การหาความจริงร่วมอย่างไรก็ต้องเริ่มจากพูดคุยกัน และเป็นการพูดคุยที่ไม่ได้จำกัดว่าเป็นรุ่นไหนแต่หมายถึงผู้คนโดยรวม เพื่อนำไปสู่การหาความจริงร่วมในสังคม ทั้งนี้ ความขัดแย้งและความเห็นต่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะสังคมไทย

ปิดท้ายด้วย ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ที่ปรึกษาโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องการในการหาความจริงร่วม คือการมีพื้นที่ให้ความจริงที่หลากหลายโดยไม่ต้องตัดสินถูก-ผิด แต่เป็นการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างไรก็ตามต้องแยกแยะให้ได้ด้วยระหว่างข้อมูล ความรู้และความคิดเห็น อีกทั้งต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้..และความเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือน่าอับอาย!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved