วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ ‘หนองคายโมเดล’ กับ ‘ความตั้งใจ’ ระยะยาวของผม

บทความพิเศษ : ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ ‘หนองคายโมเดล’ กับ ‘ความตั้งใจ’ ระยะยาวของผม

วันอังคาร ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา (29 ก.ย. 2564) ผมมีเวลาช่วงสั้นๆ ในการเดินทางไปที่จังหวัดหนองคาย เพื่อรับฟังความเคลื่อนไหวของงานในโครงการ “หนองคายโมเดล” เพราะหลังจากนั้น ผมต้องเดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมตัวนำรายละเอียดของความสำเร็จในโครงการต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ 9 จังหวัด ซึ่งครอบคุลมทุกภาคของประเทศไทย ไปนำเสนอต่อ “สภาพัฒน์” หรือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการขยายความครอบคลุมของกระบวนการนำมาตรฐานความแม่นยำ และนวัตกรรมทันสมัย ไปยกระดับการประกอบอาชีพของชาวบ้านในกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากทั่วประเทศ

สำหรับงานของพวกเราที่จังหวัดหนองคายยังคงเป็นรูปแบบของการออกแบบกระบวนการในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่ อ.เมือง อ.ท่าบ่อ อ.สระใคร และ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย แต่ที่ท้าทายก็คือ ทีมงานของหนองคายโมเดลพยายามที่จะบริหารจัดการเส้นทางของสายงานย่อยต่างๆ ให้มีความร้อยเรียงกัน เพื่อเอื้ออำนวยต่อกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิก ในการไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้คือ การเพิ่มรายได้ 1 หมื่นบาท ต่อครัวเรือน ต่อเดือน ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้


ในส่วนของต้นน้ำ จะเป็นขั้นตอนของการเลือกผลผลิตที่มีความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ โดยอิงจากปัจจัยของราคาขาย และต้นทุน รวมไปถึงการเก็บรักษา ความสุ่มเสี่ยงในการผลิต และความเชื่อมโยงต่อกระบวนของกลางน้ำ และปลายน้ำที่เตรียมไว้รองรับ สำหรับทางหนองคายโมเดล ได้แบ่งส่วนของการยกระดับผลผลิตเป็น 2 ทางคือ หนึ่ง พืชไร่ และแมลงเศรษฐกิจ อาทิ ข้าว ดาวเรือง สับปะรด จิ้งหรีด และสอง สัตว์น้ำที่มีอยู่ในพื้นที่ อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน กบนา ปูนา กุ้งก้ามกราม ทั้ง 2 ระบบของการสร้างคุณภาพให้กับผลผลิตเหล่านี้ จะเน้นไปที่กระบวนการในการลดต้นทุนของการปลูก และเพาะเลี้ยง รวมไปถึงมาตรฐานของการปลูกและเพาะเลี้ยงที่มีคุณภาพ แม่นยำในการได้ผลผลิตที่ดี ตามความต้องการของตลาด และกระบวนการในขั้นตอนอื่นๆ ที่ตามมารับรอง

สำหรับกลางน้ำ ทีมงานให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต การเก็บรักษา และตอบโจทย์ทางการตลาดของกลุ่มเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ แน่นอนว่า การแปรรูปจะกลายเป็นระบบหลักของขั้นตอนนี้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นในด้านของการได้มาซึ่งอาหารตามมาตรฐานที่หน่วยงานอันรับผิดชอบกำหนด (สำนักงานอาหารและยา) และการมุ่งสู่“การสกัดสาร” จากพืชผักเศรษฐกิจ ทั้งสับปะรด และดาวเรือง รวมไปถึงจิ้งหรีด ที่สำคัญ เศษเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และการปลูกพืชในโครงการ จะได้รับการนำมาสกัดสารเพื่อนำไปสร้างรายได้ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)ซึ่งทำให้เกิดความคุ้มค่าในทุกทรัพยากรที่นำมาใช้

และปิดท้ายที่ปลายน้ำ ก็แน่นอนว่าเป็นการบริหารจัดการทางการตลาดให้กับสมาชิกของโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อการนำเสนอสินค้า และรูปแบบช่องทางการจำหน่ายในทุกๆ รูปแบบ โดยเฉพาะทางออนไลน์ ที่มีการวางเป้าหมายในการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ภายหลังรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อจากประเทศลาวผ่านมาทางประเทศไทยเสร็จสมบูรณ์ รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าท้องถิ่น และต่างประเทศ (ส่งออก) อีกทั้งยังเปิดพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์กระบวนการของโครงการหนองคายโมเดล สำหรับเกษตรกร หรือชาวบ้านที่สนใจ แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตได้ด้วยตัวเอง ภายใต้การให้คำปรึกษาของทีมงาน

สำหรับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตลอด 4 เดือนที่ผ่านมานั้น โดยสรุปมีเกษตรกรเข้ามาเป็นสมาชิกทั้งหมด 426 ครัวเรือน ในส่วนของต้นน้ำหรือขั้นของการผลิต มีการทำแปลงและโรงเรือนสาธิต เพื่อให้สมาชิกเข้ามาศึกษา และนำไปปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อย โดยเน้นไปที่สมุนไพร และพืชที่ตลาดมีความต้องการก่อน ส่วนจิ้งหรีด และสัตว์น้ำ ได้แจกจ่ายพันธุ์ให้แก่สมาชิก รวมไปถึงเครื่องมือในการดูแล และให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามมาตรฐานควาแม่นยำ ในส่วนของกลางน้ำ และปลายน้ำนั้น ทีมงานเริ่มต้นด้วยการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก ทั้งการแปรรูป สกัดสาร และการตลาด จากนั้นก็เริ่มที่จะ “พาทำ” ให้เกษตรกรได้ทดลองในขั้นตอนของการปฏิบัติ และออกแบบแนวทางแปรรูป บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าเอง ส่วนการสร้างช่องทางการตลาดนั้น ก็มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์จากโครงการเกิดขึ้น พร้อมการเปิดแพลตฟอร์มต่างๆ ทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อทำการประชาสัมพันธ์โครงการ

นี่เป็นรายละเอียดเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ผมได้รับทราบจากการเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานของหนองคายโมเดล ส่วนรายละเอียดที่มากขึ้นนั้น ผมแนะนำให้เข้าไปรับชมได้ที่ https://www.facebook.com/NongKhaiModel ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ประโยชน์จากข้อมูลของโครงการดังกล่าวนี้นะครับ

ปิดท้ายก็ต้องขออนุญาตแจ้งให้ทราบนะครับว่า การนำเสนอต่อสภาพัฒน์ที่ได้กล่าวถึงไปในช่วงต้น ตอนนี้สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว ทุกอย่างมีความราบรื่น และมีความเป็นไปได้ที่กระบวนการอันดำเนินไปใน 9 จังหวัดตามที่ผมพยายามสื่อสารมาตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา มีโอกาสได้รับการเพิ่มโครงการให้มีความครอบคลุมใน 20 จังหวัดในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีต่อพี่น้องเกษตรกรในกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากทุกท่านจริงๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพ  ยกระดับ‘ท้องถิ่น’ดูแลประชาชน บทความพิเศษ : หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับ‘ท้องถิ่น’ดูแลประชาชน
  • บทความพิเศษ : ที่มา ของผู้ใช้อำนาจบริหาร  แทนปวงชนชาวไทย (2) บทความพิเศษ : ที่มา ของผู้ใช้อำนาจบริหาร แทนปวงชนชาวไทย (2)
  • บทความพิเศษ : ‘ท้องถิ่น’บทบาทสำคัญ  ดูแล‘เด็ก-เยาวชนด้อยโอกาส’ บทความพิเศษ : ‘ท้องถิ่น’บทบาทสำคัญ ดูแล‘เด็ก-เยาวชนด้อยโอกาส’
  • บทความพิเศษ : คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ บทความพิเศษ : คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
  • บทความพิเศษ : เมื่อวันหนึ่งครม.อาจไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีน? บทความพิเศษ : เมื่อวันหนึ่งครม.อาจไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีน?
  • บทความพิเศษ  : ยก ‘BDMS-บางจาก’ กรณีศึกษา...ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด บทความพิเศษ : ยก ‘BDMS-บางจาก’ กรณีศึกษา...ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด
  •  

Breaking News

สัปดาห์ที่ 2 เดือนสิงหาคม’65 อุบัติเหตุเซ่นถนนเมืองไทย 230 ศพ-รอบนี้เด็กดับ 15 ราย

‘วิษณุ’แนะส่งกมลูกฉบับ‘ครม.’ให้‘กกต.’เปิดกรอบเวลารัฐบาลรักษาการ

'ผู้ช่วย'ผบ.ตร. เปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน

'ชาวนากลาง' สุดทนถนนพังเป็นหลุมเป็นบ่อเอาต้นกล้วยมาปลูกลงไปอาบน้ำประชด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved