วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า :  วิกฤตผู้อพยพทะลักยุโรป (จบ) สลายพรมแดนทำจริงไม่ง่าย

สกู๊ปแนวหน้า : วิกฤตผู้อพยพทะลักยุโรป (จบ) สลายพรมแดนทำจริงไม่ง่าย

วันอาทิตย์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 07.30 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงอยู่กับงานเสวนาเรื่อง “ถอดบทเรียนเบลารุสและซีเรีย : วิกฤตผู้อพยพกับการเมืองโลก” จัดโดย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตอนที่แล้ว (ฉบับวันที่ 18 ธ.ค. 2564) ได้กล่าวถึง เบลารุส ประเทศที่เป็นเส้นทางใหม่ในการอพยพจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าไปยังประเทศในกลุ่ม สหภาพยุโรป (EU-อียู) ซึ่งเส้นทางนี้ที่เกิดขึ้นได้ดูจะเป็นเกมการเมืองระหว่างเบลารุสกับ EU ส่วนในตอนนี้ จะเป็นประเด็นที่ EU ถูกตั้งคำถามว่ายังยึดมั่นค่านิยม “ประชาธิปไตย-เสรีนิยม-สิทธิมนุษยชน” อยู่หรือไม่? จากท่าทีที่มีต่อผู้อพยพ

รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าย้อนไปเมื่อปี 2558 ซึ่งขณะนั้น ออสเตรีย พบประชาชนรอต้อนรับผู้อพยพ แต่หลังจากนั้น ฮังการี ได้สร้างกำแพงกั้นจากเดิมที่เคยเปิดให้เป็นทางผ่าน ซึ่งขัดต่อหลักการของ EU ที่ต้องการให้การเดินทางในประเทศในกลุ่มนั้นเป็นไปอย่างเสรี อีกทั้งสมาชิก EU ทั้ง 27 ชาติ ต้องดำเนินการใดๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการรับผู้อพยพด้วย


“เราจะเห็นว่ามันมีประเทศสมาชิกบางประเทศในยุโรปที่ไม่อยากแชร์โควตาการรับผู้ลี้ภัย ก็คือ ฮังการี โปแลนด์ สโลวาเกีย สาธารณรัฐเช็ก ดังนั้นยุโรปก็พยายามปฏิรูปมาตลอดในด้านกฎเกณฑ์ ก็มีการออกกติกาใหม่มาอีกในปี 2020 (2563) ก็เพื่อมาจัดการกับเหตุการณ์ที่คั่งค้างมาตั้งแต่ปี 2015 (2558) แต่ในปี 2021 (2564) มีผู้ลี้ภัยเข้ามาแบบผิดปกติในพรมแดนโปแลนด์ ลัตเวียและลิทัวเนียก็คือบริเวณนี้” รศ.ดร.ณัฐนันท์ กล่าว

รศ.ดร.ณัฐนันท์ กล่าวต่อไปว่า คลื่นผู้อพยพระลอกล่าสุดแปลกไปจากเดิมเพราะที่ผ่านมาการอพยพจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าไปยังประเทศในกลุ่ม EU จะใช้วิธีนั่งเรือข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านประเทศหน้าด่าน เช่น โมร็อกโก ตุรกี แต่ครั้งล่าสุด ผู้อพยพนั่งเครื่องบินไปลงที่เบลารุสเพื่อข้ามจากเบลารุสเข้าไปในพื้นที่ของกลุ่ม EU

ซึ่งเชื่อกันว่า ประธานาธิบดีเบลารุสอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนกา (Alexander Lukashenko-อ่านแบบภาษาเบลารุส) ปล่อยให้มีการโฆษณาชวนเชื่อกับผู้อพยพเพื่อให้มาใช้เบลารุสประเทศเป็นทางผ่านไปยัง EU โดยเข้าทางชายแดนที่ติดกับโปแลนด์และลิทัวเนีย เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของ EU เนื่องจาก EU มองว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสเมื่อปี 2563 ลูกาเชนกา ได้รับชัยชนะท่ามกลางข้อสงสัยในความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการจัดการเลือกตั้ง และเมื่อประชาชนออกมาชุมนุมประท้วง ลูกาเชนกา ก็สั่งให้ปราบปรามอย่างรุนแรง

แต่เมื่อมาถึงเบลารุสแล้ว ผู้อพยพก็อยู่ในสถานการณ์ “กลับไม่ได้-ไปไม่ถึง” ด้านหนึ่งเบลารุสไม่มีนโยบายรับผู้อพยพ แต่อีกด้านหนึ่งโปแลนด์ก็ปิดพรมแดน อีกทั้งประเทศอื่นๆ ยังส่งทหารมาช่วยตรึงกำลังบริเวณชายแดนดังกล่าวอีก อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพต้องการเพียงใช้เส้นทางดังกล่าวผ่านเข้าไปยังประเทศกลุ่ม EU ชั้นใน เช่น เยอรมนี สวีเดน ไม่ได้ต้องการอยู่อาศัยในโปแลนด์หรือลิทัวเนียแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเกิดมุมมองว่า โปแลนด์กับลิทัวเนียกำลังทำเพื่อ EU หรือไม่ เพราะทั้ง 2 ประเทศจะปล่อยผู้อพยพผ่านไปก็ได้

“เราเห็นการจัดการที่บรัสเซลส์ (เมืองหลวงของเบลเยียม ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ EU) โดนยึดอำนาจจากรัฐอย่างโปแลนด์ และ Baltic State ในการล็อกผู้ลี้ภัยแทน ขอพูดสถิติแบบเร็วๆ ตอนนี้ผู้ลี้ภัยตั้งแต่ปี 2015 อยู่ในเยอรมนี 32.4% อันดับ 2 คือสวีเดน 13% ซึ่งเราจะเห็นว่าถึงแม้สวีเดนเป็นอันดับ 2 แต่ด้วยขนาดของประเทศ สวีเดนรับภาระค่อนข้างหนัก”รศ.ดร.ณัฐนันท์ ระบุ

ขณะที่ ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุผลของการอพยพนอกจากต้องการหลบหนีการประหัตประหารแล้ว ยังมีความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งยุโรปนั้นเป็นเป้าหมายของคนจากทั่วโลก เพราะในสายตาของคนนอกแล้ว คุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ในยุโรปนั้นดูจะดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ในความเป็นจริง ยุโรปเองก็มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ สถานะทางเศรษฐกิจของแต่ละชาติก็ไม่เท่ากัน เช่น ชาวโปแลนด์ต้องออกไปหางานทำในประเทศอื่นๆ ในยุโรป เป็นต้น

ส่วนประเด็นผู้อพยพถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรองระหว่างประเทศอื่นๆ กับ EU นั้นก็ไม่ได้เพิ่งเกิดกับเบลารุส ก่อนหน้านี้มีบางประเทศเคยทำมาแล้ว เช่น ตุรกี ซึ่งต้องการเข้าเป็นสมาชิกของ EU และเรียกร้องให้เจรจากันไม่เช่นนั้นจะปล่อยให้ประเทศตนเองเป็นทางผ่านของผู้อพยพเข้าไปใน EU หรือ โมร็อกโก ที่เคยตอบโต้ชาติสมาชิก EU อย่าง สเปน ที่ให้ผู้นำของ ซาฮาราตะวันตก เข้าไปรักษาตัว ด้วยการปล่อยให้ผู้อพยพข้ามทะเลจากโมร็อกโกเข้าไปยังสเปน ซาฮาราตะวันตกเเป็นดินแดนที่โมร็อกโกอ้างสิทธิ์ แต่ก็มีข้อพิพาทกับฝ่ายที่ต้องการตั้งเป็นประเทศใหม่

ภาณุภัทร กล่าวต่อไปว่า ทาง EU เองก็พยายามสร้าง “พื้นที่กลางทาง” หรือหาประเทศอื่นๆ ไว้รับผู้อพยพแทนที่จะให้เข้าไปใน EU อาทิ มีการให้งบประมาณสนับสนุนตุรกี และเจรจาว่าหากตุรกีรับผู้อพยพไว้ ในอนาคตอาจได้รับการยอมรับจาก EU มากขึ้น หรือแม้แต่ชาติตะวันออกกลางอย่าง จอร์แดน EU ก็เคยไปเจรจาเพื่อให้ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้ผู้อพยพเข้าไปทำงานได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงยุโรป โดย EU จะสนับสนุนทั้งงบประมาณและการให้ธุรกิจต่างๆ เข้าไปลงทุน

สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า “ผู้อพยพคือประเด็นเปราะบางของ EU” ถึงขนาดที่หลายชาตินำมาใช้เป็นเครื่องมือต่อรองผลประโยชน์กับ EU ได้ โดยการเมืองภายในของประเทศในกลุ่ม EU เอง ก็จะพบพรรคการเมืองหรือผู้นำที่มีแนวคิดแบบฝ่ายขวาเข้าสู่อำนาจหรือได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากขึ้น จากความรู้สึกในแง่ลบกับผู้อพยพของประชาชนในประเทศนั้นๆ กลายเป็นว่าในขณะที่ EU พยายามสลายพรมแดนภายในกลุ่มประชาคม แต่กลับกั้นพรมแดนระหว่าง EU กับภูมิภาคอื่นๆ

“วิกฤตครั้งนี้มันสอนให้เรารู้ว่า อย่างน้อย Migration (การอพยพ) จะกลายเป็น Political Tool (เครื่องมือทางการเมือง) ที่สำคัญอันหนึ่งแล้วจะอยู่กับเราไปตลอด แล้วมันจะยิ่งเข้มข้นขึ้นผ่านโควิด เพราะโควิดมันจะกลายเป็นอีก Criteria (เกณฑ์) คือการตรวจโรคจำเป็นอีก Criteria ที่ทำให้การย้ายถิ่นมันยากยิ่งขึ้น ต้องมีวัคซีนกี่เข็มไม่รู้ ไม่พอยังต้องมีวัคซีนพาสปอร์ตของประเทศนั้นๆ เสียด้วยซ้ำไปในการที่จะเดินทางเข้าไปได้

มันทำให้ความพยายามที่จะให้มีสิ่งที่เรียกว่า Common Value (คุณค่าหลัก) ที่ยุโรปพยายายามสร้างมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมามันกำลังสั่นคลอนหรือสูญสลายไปหรือเปล่า? เพราะเห็นการถดถอยของสิ่งนี้ผ่าน Brexit (อังกฤษถอนตัวออกจาก EU) ส่วนหนึ่งของ Brexit มาจาก Migration โดยเฉพาะจากโปแลนด์ ฉะนั้นสิ่งเกิดขึ้นคือพรมแดนในยุโรปที่ตอนนี้ไม่มี มันจะค่อยๆ กลับมาเกิดขึ้นมากขึ้นหรือเปล่า?” ดร.ภาณุภัทร ฝากประเด็นชวนคิด


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'

ประเดิม'สุริยะ'ทำหน้าที่นายกฯวันแรก ลงนามแต่งตั้ง'ภูมิธรรม'รักษาการนายกฯลำดับที่ 1

‘รวบโจรวิ่งราวทรัพย์’ก่อเหตุ2จังหวัด-รวมเกือบ10ครั้ง เผย!เลือกเหยื่อเป็นผู้สูงวัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved