วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต’  ไทยในกระแสเปลี่ยนแปลง

รายงานพิเศษ : ‘อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต’ ไทยในกระแสเปลี่ยนแปลง

วันพฤหัสบดี ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “ภูมิทัศน์การเมืองใหม่สู่รัฐธรรมนูญไทย” จัดโดยคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โดย ศ.ดร.บรรเจิดสิงคะเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 2 หน คือ “การเปิดเสรีครั้งที่ 1” เริ่มจาก “สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง” ซึ่งไทย (หรือสยาม) ทำกับอังกฤษในปี 2398 หลังจากนั้นได้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเลิกไพร่-ทาส การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทั้งสาธารณูปโภค การศึกษา กระบวนการยุติธรรม ฯลฯ จนท้ายที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475

กับ “การเปิดเสรีครั้งที่ 2” ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อันหมายถึง “การแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัล” ซึ่งส่งผลให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ๆ หรือวิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปเช่น การจัดเสวนาที่ทุกวันนี้สามารถรวมตัวกันผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องมารวมตัวกันในห้องอย่างในอดีตส่วนภาครัฐนั้นก็ถูกเรียกร้องให้นำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น อาทิ บูรณาการฐานข้อมูล ให้บริการแบบจำเพาะเป็นรายบุคคลจุดให้บริการแบบที่เดียวเบ็ดเสร็จ ฯลฯ


“สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันจะนำมาสู่ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานภาครัฐ ในการที่จะตอบสนองต่อประชาชน ประเด็นที่ผมตั้งฐานเหล่านี้มันจะนำไปสู่การเรียกร้องให้ปฏิรูประบบราชการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ในความหมายผมคือถ้าเราเทียบในอดีต เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงถามว่า เวียง-วัง-คลัง-นา มันตอบสนองของการบริหารราชการแผ่นดินพอไหม? ไม่พอ! ฉันใดก็ฉันนั้น วันนี้ระบบการบริหารภาครัฐที่มันองคาพยพใหญ่โตอุ้ยอ้ายอะไรต่างๆ มันไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ได้” ศ.ดร.บรรเจิด กล่าว

ศ.ดร.บรรเจิด กล่าวต่อไปว่า “วิกฤตทางการเมืองของไทยส่วนใหญ่เกิดจากรัฐธรรมนูญ” เช่น รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน ถูกมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญแบบรัฐราชการรวมศูนย์ ซึ่งตอบสนองได้ยากมากกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน การรวมศูนย์ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคม และสังคมที่เหลื่อมล้ำมากโอกาสสร้างสันติก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะความมั่งคั่งกระจุกอยู่กับคนเพียงร้อยละ 1-2 เท่านั้น ในขณะที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ประโยชน์อะไร อนึ่ง ในยุคนี้ยังมีอีกตัวแปรสำคัญคือ “พลังของคนรุ่นใหม่” ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเกิดพรรคการเมืองที่มีนโยบายไปในทางเดียวกับคนกลุ่มนี้

สำหรับการเปิดเสรีครั้งที่ 2 นั้นมีความท้าทายอยู่หลายประการ 1.ชนชั้นนำจะมองเห็นและปรับเปลี่ยนได้ทันหรือไม่ หากทำเพียงการประคับประคองไปวันๆ หนึ่งย่อมตอบโจทย์ของความเปลี่ยนแปลงได้ยาก 2.สังคมไทยจะนำพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงมาใช้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร เห็นได้จากทุกวันนี้สังคมไทยมีความขัดแย้งแตกแยกสูงมาก ราวกับไม่มีพื้นที่ให้พลังต่างๆ ได้เข้ามาอย่างน้อยที่สุดคือการร่วมสร้างกติกาการอยู่ร่วมกัน

“การสร้างกติกาการอยู่ร่วมกันไมได้เริ่มจากศูนย์ เริ่มจากอยู่ร่วมกันในแผ่นดินประเทศไทยคือจุดร่วมที่ 1 เรายังใช้พื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี่คือจุดร่วมที่ 2 จุดร่วมที่ 3 4 5 มีอะไร จุดต่างมีอะไร ผมคิดว่ากระบวนการเหล่านี้มันไม่ค่อยเกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วมันเกิดภาวะการใช้กำลัง ใช้อะไรต่างๆ ฉะนั้นโอกาสของการทำให้กระชับของการอยู่ร่วมกัน

ทำไมถึง 20 ฉบับ (รัฐธรรมนูญ) เพราะมันไม่เกิดกระบวนการเหล่านี้ อันนี้ก็เป็นความท้าทายว่าเราจะแตกแยกขัดแย้งกันอย่างนี้ไปอยู่ชั่วนิรันดร์ก็คงจะลำบากมาก เพราะว่าความขัดแย้งทางการเมืองมันจะนำมาสู่ต้นทุนทางการเมืองที่สูงมาก มันอาจจะสงครามกลางเมืองอะไรต่างๆ ต้นทุนมันสูงถ้าเรื่องการเมือง เพราะฉะนั้นเราพูดในแง่ความเสี่ยง เราควรจะลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ ผ่านกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะกติกาพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน” ศ.ดร.บรรเจิด ระบุ

ความท้าทายประการต่อไป 3.ประเทศไทยยังไม่สามารถจัดวางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองที่ลงตัว ซึ่งการวางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองที่ลงตัวจะนำไปสู่การมีมุมมองทางการเมือง (Political View) ในการทำเรื่องใหญ่ๆ เช่น การปฏิรูประบบราชการ เห็นได้จาก โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มีการยกเว้นการใช้กฎหมายหลายฉบับ คือภาพสะท้อนระบบราชการตามปกติไม่สามารถตอบสนอง แต่นั่นเป็นการทำในมิติทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่การปรับมุมมองทางการเมืองจะนำไปสู่การปฏิรูประบบราชการให้ตอบสนองประชาชน

ซึ่งโครงสร้างสถาบันทางการเมืองไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ สิ่งที่ต้องการคือ 1.รัฐบาลที่มีเสถียรภาพในการบริหารนโยบายสาธารณะ เพื่อความรวดเร็วฉับไวในการดำเนินการ ไม่ใช่รัฐบาลที่มีส่วนผสมนับสิบพรรคในการประคับประคองกฎหมายแต่ละฉบับ ซึ่งก็เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญ 2.รัฐสภาที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรถึง 300 กลุ่มชาติพันธุ์ จึงใช้ระบบสัดส่วนเพื่อรับประกันว่าทุกกลุ่มจะมีที่นั่งในสภา

คำถามคือประเทศไทยจะออกแบบให้กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ได้เข้าไปอยู่สภาได้อย่างไร เพราะพรรคการเมืองเองก็ถูกตั้งคำถามว่าเป็นตัวแทนของมวลชนจริงหรือไม่ 3.การปกครองแบบกระจายอำนาจ เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะใกล้ชิดประชาชน การจะรอแต่ส่วนกลางอย่างเดียวไม่สามารถตอบสนองความผาสุกของประชาชนได้ เช่น การเตรียมพร้อมรับภาวะสังคมสูงวัย (Aging Society) ซึ่งอาจมีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ในช่วงท้ายของการเสวนา ผู้ดำเนินรายการมีการอ่านคำถามจากผู้ชมทางบ้าน เช่น รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้ในปัจจุบันประเด็นที่ควรแก้อย่างเร่งด่วนที่สุดคือเรื่องใด, รูปแบบรัฐในปัจจุบันไทยควรมุ่งแก้ในส่วนใดมากที่สุด อาทิ การกระจายอำนาจจังหวัดจัดการพิเศษ, ทิศทางการออกแบบภารกิจของรัฐในรัฐธรรมนูญยุคที่ 2 ควรคำนึงถึงปัจจัยใด, สภาพสังคมวิทยาของไทยเหมาะสมกับระบบการเมืองการปกครองแบบใด

ศ.ดร.บรรเจิด ตอบคำถามทั้งหมดในเชิงสรุปว่า สังคมไทยมีลักษณะอุปถัมภ์ คำถามที่ต้องคิดต่อคือแล้วจะออกแบบการเมืองการปกครองอย่างไรภายใต้สภาพนี้ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ และการปฏิรูประบบราชการที่แม้จะไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นหากไม่มีการปรับมุมมองทางการเมือง ซึ่งเชื่อมโยงกับการจัดวางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองได้ลงตัว

นอกจากนั้นยังต้องอาศัย “วิสัยทัศน์ของผู้นำ”ที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลงและนำมาปรับปรุง!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'

'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย

'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved