วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : แก้กฎหมายประวัติอาชญากร  ความหวังผู้ผิดพลั้งได้กลับตัว

รายงานพิเศษ : แก้กฎหมายประวัติอาชญากร ความหวังผู้ผิดพลั้งได้กลับตัว

วันอาทิตย์ ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

“ประวัติอาชญากร” หนึ่งในเรื่องที่เป็นอุปสรรคของเป้าหมาย “คืนคนดีสู่สังคม” ของงานราชทัณฑ์ในประเทศไทย เพราะแม้รัฐจะมีส่งเสริมการเรียนหนังสือและฝึกอาชีพของผู้ต้องขัง แต่เมื่อพ้นโทษแล้วก็ยากจะกลับไปหางานสุจริตทำเพราะเป็นคนมีประวัติไปแล้วไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม ขณะเดียวกัน กระบวนการจัดทำประวัติอาชญากรยังส่งผลต่อผู้ถูกจับกุมตั้งแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคดี หรือแม้แต่คดีสิ้นสุดแล้วโดยศาลยกฟ้อง จากผู้ต้องหาคืนสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์ ประวัติก็ยังติดตัวและอาจถูกตีตราเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะการไปสมัครงาน

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พบปัญหาเกี่ยวกับระบบประวัติอาชญากรของไทย อาทิ นายจ้างนำประวัติของผู้ที่เคยถูกดำเนินคดีอาญาในขณะที่ยังเป็นเยาวชนและศาลมีคำพิพากษาโดยให้เปลี่ยนโทษเป็นการฝึกอบรมหรือผ่านเงื่อนไขการคุมประพฤติแล้วมาประกอบการพิจารณาและปฏิเสธการเข้าทำงาน หรือกรณีฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้บุคคลผู้ได้รับประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินแล้วยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัตินั้นเช่นเดิม


ในเบื้องต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แก้ไขระเบียบในส่วนของประวัติอาชญากรของผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชน ตามข้อเสนอแนะของ กสม. โดยคัดแยกประวัติการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรของคนทั่วไป แต่การปรับปรุงแนวทางการจัดทำและใช้ข้อมูลประวัติอาชญากร ยังมีความท้าทายเพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งตำรวจ อัยการและศาล

ข้อเสนอของ กสม. เมื่อเดือนก.ค.2564 เสนอให้ กระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื่อมระบบเพื่อส่งต่อข้อมูลผลคดีได้อย่างรวดเร็วและแก้ไขฐานข้อมูลประวัติอาชญากรให้เป็นปัจจุบัน ไม่ให้เป็นภาระของประชาชนในการยื่นคำร้องขอปรับปรุงข้อมูลด้วยตนเอง (อาทิ กรณีถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหา มีการทำประวัติไว้ ต่อมาเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้กระทำผิดระบบจะปรับปรุงข้อมูลให้ แทนที่ประชาชนจะต้องนำเอกสารจากศาลไปยื่นขอปรับปรุงประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร)

นอกจากนี้ สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังมีข้อเสนอให้เร่งปรับปรุงแก้ไขระเบียบว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ โดยแยกประเภทบัญชีประวัติผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งคดีอยู่ระหว่างพิจารณา และประเภทบัญชีบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of innocence) อีกทั้งควรบันทึกข้อมูลการล้างมลทินไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากรเป็นการเพิ่มเติมด้วย โดยปัจจุบันข้อเสนอเหล่านี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

อีกด้านหนึ่ง ยังมีร่างกฎหมาย “(ร่าง) พ.ร.บ.ประวัติอาชญากรรม พ.ศ. ….” ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการบริหารจัดการประวัติอาชญากร โดยมีกระทรวงยุติธรรมเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการข้อมูลประวัติอาชญากร และมีการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (Data Exchange Center : DXC) ให้กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการทบทวนปรับปรุงแก้ไขร่าง ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) พบว่า ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อเสนอแนะของ กสม. เช่น หลักการห้ามมิให้เปิดเผยประวัติในกรณีที่เจ้าของประวัติได้รับการล้างมลทินตามกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทิน รวมถึงกรณีที่พ้นจากระยะเวลา 5 ปี นับแต่มีคำพิพากษาแล้ว

หลักเกณฑ์การเปิดเผยประวัติในกรณีฐานความผิดร้ายแรงเพื่อเป็นการคุ้มครองสังคม และการกำหนดให้มีนายทะเบียนและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลประวัติ ทำหน้าที่พิจารณาคำร้องขอเปิดเผยหรือไม่ให้เปิดประวัติอาชญากรซึ่ง กสม. มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายกลางในการเยียวยาความเสียหายที่ครอบคลุมการเยียวยาผลกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ด้วยอีกทางหนึ่ง

ปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชี้แจงเพิ่มเติมในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของ กสม. เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 ว่า ในการกระทำผิด นอกจากผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ยังต้องมีการคุ้มครองสังคมด้วย เช่น มีกรณีผู้กระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเรา พ้นโทษมาแล้วก็ยังกลับไปก่อคดีแบบเดิมซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม การที่ผู้กระทำผิดรับโทษตามกฎหมายแล้ว เมื่อออกมาไม่สามารถกลับไปหางานสุจริตทำได้อีกเพราะมีประวัติอาชญากรติดตัวนั้นก็ผิดหลักการให้โอกาสคนได้กลับคืนสู่สังคม จึงต้องมีสมดุลระหว่างทั้ง 2 ด้าน

“ในต่างประเทศเขามีการศึกษา แล้วก็พบว่าคนที่ทำผิดในคดีที่เล็กน้อย โทษไม่สูง ถ้าพ้นโทษมาแล้วไม่กระทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี หรือเป็นโทษที่อุกฉกรรจ์ โทษสูง ไม่กระทำผิดภายใน 5 ปี อันนี้ก็ถือว่าสังคมจะปลอดภัยแล้ว ดังนั้นตัวเลข 2 ปี 5 ปี มันก็จะเป็นตัวเลขทำให้สังคมมีความเชื่อมั่นว่าคนเหล่านั้นจะไม่กลับมากระทำผิดอีก ทำร้ายสังคมขึ้นอีก อันนี้ก็จะเป็นข้อเสนอในร่าง พ.ร.บ. ที่ทางกระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม จะเป็นคนดำเนินการร่างกฎหมาย
ดังกล่าว” ปิติกาญจน์ ระบุ

ปิติกาญจน์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันที่ยังไม่มีกฎหมายข้างต้นบังคับใช้ ใครที่เคยทำผิดมีประวัติอาชญากรติดตัวประวัตินั้นก็จะอยู่ไปจนวันตาย ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีเด็กและเยาวชน เช่น มีเรื่องชกต่อยทะเลาะวิวาท ถูกจับกุมดำเนินคดี เด็กและเยาวชนนั้นก็มีประวัติติดตัว แม้ศาลจะไม่สั่งลงโทษให้อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก แต่ให้เข้ากระบวนการคุมประพฤติก็ตาม โดยปัญหาของประวัติอาชญากรถูกพูดถึงกันมานานแล้วนับตั้งแต่ตนเองยังอยู่ในกระทรวงยุติธรรม แต่ยังไปไม่ถึงการแก้ไข ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นใน1-3 ปีข้างหน้า

อีกด้านหนึ่ง ยังมีปัญหาผู้ที่มีประวัติอาชญากร ในส่วนของบุคคลที่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และการพิจารณาคดีอาจใช้เวลาหลายปี จากตำรวจถึงอัยการและศาล อีกทั้งบางครั้งก็สู้กันถึง 3 ศาล ตั้งแต่ศาลชั้นต้น อุทธรณ์และฎีกา คนเหล่านี้อาจเสียโอกาสในการหางานทำเพราะมีประวัติติดตัว ก็เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันคิดหาทางแก้ไข แต่เชื่อว่าเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้ ก็น่าจะลดปัญหาดังกล่าวลงได้บ้าง

“ต่อไปนี้การจะเข้าถึงฐานข้อมูลบุคคล อะไรต่างๆ หากเราไม่เกี่ยวข้องอาจจะเข้าถึงไม่ได้ แต่เดิมมาเอกชนเวลาทำงาน เราก็เข้าใจเขา เอกชนเขาก็ต้องการคนที่ไม่ด่างพร้อยมาทำงาน อันนี้ก็คิดว่า ตัวร่าง พ.ร.บ.ประวัติอาชญากร ที่กำลังจะร่าง ซึ่งเขาจะต้องรับฟังความคิดเห็น ก็มาช่วยกันให้ความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกฎหมายดังกล่าวด้วย” ปิติกาญจน์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’ รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’
  • รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’ รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  • รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  • รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved