วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ถึงเวลามี‘บำนาญแห่งชาติ’  ฝ่าวิกฤต‘สูงวัยไทยยากจน’

รายงานพิเศษ : ถึงเวลามี‘บำนาญแห่งชาติ’ ฝ่าวิกฤต‘สูงวัยไทยยากจน’

วันอาทิตย์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 07.02 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานเสวนา “การขับเคลื่อนในการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ และพัฒนาการบริหารจัดการทางการคลังของระบบบำนาญแห่งชาติให้มีความเพียงพอและยั่งยืน” เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเป็นการจัดงานแบบผสมผสาน ระหว่างเวทีหลักที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ พร้อมกับถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ “มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ-มสช.” และเพจ “สูงวัย”

ในงานดังกล่าว นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยอ้างอิงข้อมูลการคาดประมาณประชากร สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ระบุว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ภายในปี 2565 คือ ประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากร อีกภายใน 20 ปี ซึ่งผู้สูงอายุมีอัตราความยากจนสูงกว่ากลุ่มประชากรอื่น ปัจจุบันผู้สูงอายุมีเบี้ยยังชีพ เป็นฐานของการคุ้มครองทางสังคม


นอกจากนี้ ผลการศึกษาจาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจผลกระทบจากการใช้มาตรการปิดเมืองต่อสภาพความเป็นอยู่และการเข้าถึงบริการ เฉพาะของผู้สูงอายุ ที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในพื้นที่กรุงเทพฯ เขตเมืองของจังหวัดอื่น และเขตชนบท จำนวนทั้งสิ้น 808 ราย ระหว่างเดือนต.ค.-พ.ย. 2563 พบว่า ร้อยละ 99.3 ของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ได้รับและพึ่งพารายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และร้อยละ 65.2 ของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยไม่มีการออม โดยที่เบี้ยยังชีพอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีผลอย่างมากต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ ทั้งผลกระทบต่อรายได้ของผู้สูงอายุและลูกหลาน เมื่อพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเปราะบางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบบบำนาญจึงถือเป็นระบบความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุในการช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนลงได้” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยต้องเผชิญความเสี่ยงวิกฤตความยากจนในผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม การออกแบบ “ระบบบำนาญแห่งชาติ” เป็นความคุ้มครองทางสังคมประเภทหนึ่ง โดยการพิจารณาเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาเชิงโครงสร้างด้าน “ความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งประเทศไทยมีปัญหาอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก

“หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ งบประมาณรายจ่ายด้านบำนาญผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในสองทศวรรษข้างหน้า โดยงบประมาณส่วนมากเป็นบำนาญข้าราชการดังนั้น ระบบบำนาญแห่งชาติ ควรจะกำหนดเป้าหมายทำให้ผู้สูงอายุทุกคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุยากจนและผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งไร้ที่พึง ควรมีรายได้ยามชราภาพเพียงพอต่อการยังชีพ ช่วยป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำในช่วงวัยเรียนและวัยทำงานส่งผลให้กลายเป็นความยากจนเมื่อวัยชรา โดยเป็นระบบที่มีความยั่งยืนทางการคลัง และต้องคำนึงถึงมูลค่าของเงินที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป” นพ.ภูษิต ระบุ

ภายในงานยังมีการนำเสนองานวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” ผลงานของ 2 อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย และ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล โดยพบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ซึ่งเป็น “ประชากรรุ่นเกิดล้าน”หรือกลุ่มสึนามิประชากร มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง

เนื่องจากส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ แม้จะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน ก็ยังคิดเป็นงบประมาณที่น้อยกว่าระบบบำนาญของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระยะยาว

“การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นไปได้ถึงระดับกึ่งกลางหรือมัธยฐานของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาทต่อเดือน หรือ 200 บาทต่อวัน” โดยให้ผู้ทำงานอยู่นอกระบบสามารถทำการออม และให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐอย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สินและการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich) ซึ่งจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมลงได้” ทีปกร กล่าว

จากผลการศึกษาข้างต้น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้ 1.ควรกำหนดให้ระบบบำนาญแห่งชาติ เป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน 2.แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัด เพื่อให้มีการกำหนดสวัสดิการถ้วนหน้าด้านบำนาญ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนมีสิทธิได้รับ และสามารถคุ้มครองความยากจน จากเส้นความยากจนในแต่ละปี เช่น แก้ไข พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็น “พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2546” พร้อมทั้งแก้ไขให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และสามารถมีแหล่งรายได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับกองทุนผู้สูงอายุ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2564) เป็นต้น

3.สร้างระบบฐานข้อมูล โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการเบี้ยผู้สูงอายุส่วนเพิ่มเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในวัยทำงาน 4.ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทำงานนานขึ้น ขอรับบำนาญช้าลง และส่งเสริมการออม และ 5.เสนอให้มีการทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ” จากการทำงาน (ทั้งภาครัฐและเอกชน) โดยอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายบางฉบับ

ทั้งนี้ จะต้องสร้างการขับเคลื่อนในลักษณะของยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือ ภาควิชาการ ภาคประชาชน และ ภาคนโยบาย ร่วมมือร่วมใจกันอย่างเข้มแข็ง เหมือนที่ประเทศไทยเคยใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจนสามารถสร้างระบบ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ได้สำเร็จ!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : เปิด ‘Acceleration Program’ 5 กลุ่ม ปั้น ‘สตาร์ตอัปฯ’ เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก รายงานพิเศษ : เปิด ‘Acceleration Program’ 5 กลุ่ม ปั้น ‘สตาร์ตอัปฯ’ เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก
  • รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’ รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’
  • รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’ รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  • รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  •  

Breaking News

‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved